|
923.7 Geography & History ชีวประวัติบุคคลในสาขาการศึกษา
ปรีดี พนมยงค์
ประวัติ
เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443
ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เป็นบุตรของนายเสียง กับ นางลูกจันทร์ พนมยงค์
สมรสกับท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์
ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ที่บ้านพักชานกรุงปารีส
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 รวมอายุได้ 83 ปี
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย
(ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม นอกจากนี้เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการ
แทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8[9] และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส"
ปรีดีต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490
เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30 ปี และไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
ระหว่างที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ ปรีดีได้ดำเนินการฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี และยังได้รับความรับรองจากทางราชการตลอดจนเงินบำนาญ
และหนังสือเดินทางของไทย
ในปี พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้ ปรีดี พนมยงค์ เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" และได้ร่วมเฉลิมฉลองใน
วาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของเขา ระหว่าง พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544 นอกจากนี้นิตยสารเอเชียวีคยังได้เสนอชื่อของเขาเข้าชิงตำแหน่ง "Asian Of The Century" อีกด้วย
การศึกษา
พ.ศ. 2463 ศึกษาวิชากฏหมายที่ประเทศฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยกอง (Lycee Caen)
ได้รับปริญญาทางกฏหมายและได้ "ลิซองซิเอ ทางกฏหมาย"
ได้ดุษฎีบัณฑิตทางกฏหมาย (Docteur en Droit) ฝ่ายเนติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปารีส
ในระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้รับเลือกเป็น สภานายกแห่งสมาคมนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศส
ระยะเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่่ 15 : 24 มีนาคม 2489 - 8 มิถุนายน 2489
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ี่ 16 : 11 มิถุนายน 2489 - 21 สิงหาคม 2489
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2469 เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม
เลขานุการกรมร่างกฏหมาย
อาจารย์สอนกฏหมายปกครองในโรงเรียนกฏหมาย
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์อำมาตย์ตรีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
พ.ศ. 2472 เป็นบุคคลสำคัญในการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. 2475 ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว
ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองและดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นคนแรก
บทบาททางการเมือง
พ.ศ. 2476 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
พ.ศ. 2484 ในขณะที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์
พ.ศ. 2489 เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 7
วันที่ 21 สิงหาคม 2489 ลาออกจากตำแหน่ง
ผลงานที่สำคัญ
- ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในประเทศ ติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ ติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยภายนอกประเทศ ภายใต้การนำของหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐบุรุษอาวุโส และร่วมกับรัฐบาลหม่อม ราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช
- ดำเนินการประกาศว่า การที่รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับอเมริกาและอังกฤษเป็นโมฆะ
- ได้หาทางผ่อนคลายสัญญาสมบูรณ์แบบที่ผูกมัดไทย เนื่องจากผลของการแพ้สงคราม
ที่มา
นายกรัฐมนตรีของไทย. (2555). ปรีดี พนมยงค์. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 17, 2555, จาก
http://www.kanzuksa.com/primeMinisterDetail.asp?prime=7
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2555). ปรีดี พนมยงค์. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 17, 2555, จาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%
E0%B8%94%E0%B8%B5_%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%
B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C
|
|