พจน์ สารสิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พจน์ สารสิน
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 9
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&0102.&&&&&0102 วัน)
สมัยก่อนหน้า จอมพล ป. พิบูลสงคราม
สมัยถัดไป จอมพล ถนอม กิตติขจร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 25 มีนาคม พ.ศ. 2448
บ้านพักถนนสุรศักดิ์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
เสียชีวิต 28 กันยายน พ.ศ. 2543 (95 ปี)
คู่สมรส ท่านผู้หญิงศิริ สารสิน

นายพจน์ สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2448 ที่บ้านพักถนนสุรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้) กับคุณหญิงสุ่น สมรสกับคุณหญิงศิริ สารสิน ศึกษาที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อกลับสู่ประเทศไทยเข้าเรียนวิชากฎหมาย จนสอบได้เนติบัณฑิตไทยเมื่อปี พ.ศ. 2472 และศึกษาวิชากฎหมายในประเทศอังกฤษ

เนื้อหา

[แก้] ชีวิตการเมือง

นายพจน์ สารสิน เริ่มบทบาททางการเมืองด้วยการสนับสนุนของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2490 และเข้าร่วมรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2491 และต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่ภายหลังได้ลาออกเนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลเบาได๋ แห่งเวียดนามใต้

[แก้] งานระหว่างประเทศ

ระหว่างปี พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและทำหน้าที่ผู้แทนของประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.)

[แก้] การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นายพจน์ สารสิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500[1] หลังจากการทำรัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภารกิจสำคัญของรัฐบาลคือจะต้องเร่งจัดการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้บริสุทธิ์และยุติธรรมอันเป็นสิ่งที่ประชาชนเรียกร้อง และเป็นเหตุผลที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้เป็นข้ออ้างในการ ยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดเก่า หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว นายพจน์ สารสิน ก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ส.ป.อ. ตามเดิม หลังชีวิตราชการท่านพำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิง จนถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2543 รวมอายุได้ 95 ปีเศษ

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (นายพจน์ สารสิน)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอนพิเศษที่ 79ก วันที่ 21 กันยายน 2500

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สมัยก่อนหน้า พจน์ สารสิน สมัยถัดไป
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) 2leftarrow.png นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(21 กันยายน พ.ศ. 25001 มกราคม พ.ศ. 2501)
2rightarrow.png จอมพลถนอม กิตติขจร


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น