ประเทศปากีสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
Islamic Republic of Pakistan (อังกฤษ)
اسلامی جمہوریہ پاکستان (อูรดู)
ธงชาติ
คำขวัญIman, Ittehad, Nazm
("ศรัทธา, เอกภาพ, วินัย")
เพลงชาติQaumi Tarana
(เพลงชาติ) [1][2]
เมืองหลวง อิสลามาบัด
33°40′N 73°10′E / 33.667°N 73.167°E / 33.667; 73.167
เมืองใหญ่สุด การาจี
ภาษาทางการ ภาษาอูรดูและภาษาอังกฤษ
การปกครอง สาธารณรัฐอิสลาม
 -  ประธานาธิบดี อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี
 -  นายกรัฐมนตรี ยูซัฟ ราซา กีลานี
เอกราช จาก สหราชอาณาจักร 
 -  ประกาศ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2490 
 -  สาธารณรัฐ 23 มีนาคม พ.ศ. 2499 
พื้นที่
 -  รวม 803,940 ตร.กม. (34)
339,868 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 3.1
ประชากร
 -  2549 (ประเมิน) 163,985,373[3] (6)
 -  ความหนาแน่น 211 คน/ตร.กม. (53)
529 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 404.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (26)
 -  ต่อหัว 2,628 ดอลลาร์สหรัฐ (128)
ดพม. (2546) 0.527 (กลาง) (135)
สกุลเงิน รูปี (Rs.) (PKR)
เขตเวลา PST (UTC+5:00)
 -  (DST) not observed (UTC+6:00)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .pk
รหัสโทรศัพท์ 92

ปากีสถาน (อังกฤษ: Pakistan; อูรดู: پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (อังกฤษ: Islamic Republic of Pakistan; อูรดู: اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง

คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ตักสิลา ในสมัยพุทธกาลเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนต่างๆ

[แก้] การเมือง

ปากีสถานปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม มีประธานาธิบดีเป็นประมุข นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แสดงที่ตั้งแคว้นและดินแดนของประเทศปากีสถาน

เขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศปากีสถาน ได้แก่

รัฐ (Province) :

ดินแดน (Territorry) :

ส่วนของเขตแคชเมียร์ที่ปากีสถานบริหาร (Pakistani-administered portion of Kashmir region) :

[แก้] ภูมิศาสตร์

เคทู เป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก สูง 8,611 เมตร จากระดับน้ำทะเล

สภาพภูมิอากาศของประเทศปากีสถานแตกต่างกันออกไปตามสภาพที่ตั้ง มีตั้งแต่อากาศร้อนจัดจนถึงอากาศหนาวจัดในตอนเหนือของประเทศ ในตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและเย็นลงในฤดูหนาวส่วนทางตอนเหนือจะมีอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในฤดูหนาว จึงมีหึมะปลกคลุมอยู่ทั่วไปปริมาณน้ำฝนที่ตกไม่มากนักยกเว้นทางตอนใต้ของประเทศติดกับ ทะเลอาหรับจะมีฝนตกหนักเนื่องจากได้รับอิทธิพลลมมรสุมตกชุกในปลายฤดูร้อน

[แก้] เศรษฐกิจ

ใจกลางกรุงอิสลามาบัด
การคมนาคมแสนวุ่นวายที่จัตุรัสอัล ฟาลาห์

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปากีสถานมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายเปิดประเทศ พร้อมกับรับความช่วยเหลือจากประเทศตะวันตก เนื่องจากให้ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย และเป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นโดยเฉพาะการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค โทรคมนาคม และการก่อสร้างโครงการใหญ่ๆ ภาคบริการและภาคการเกษตร อย่างไรก็ดี อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของปากีสถานในช่วงปี 2550-2551 อยู่ที่ร้อยละ 6 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7.2 และน้อยกว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้านั้น (ร้อยละ 6.8) การที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของปากีสถานมีตัวเลขลดลง มีเหตุผลหลายประการ อาทิ

  1. ผลผลิตทางการเกษตรของปากีสถานลดลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะฝ้ายซึ่งเป็นสินค้าเกษตรสำคัญและเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอของปากีสถาน
  2. ผลผลิตและกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมหลักของปากีสถานลดลง เนื่องจากปัญหาการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอกับ

ความต้องการภายในประเทศ

  1. การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ขาดประสิทธิภาพและความต่อเนื่อง รวมทั้งความสนใจของรัฐบาลในการแก้ไขสภาพเศรษฐกิจที่ไม่จริงจัง เนื่องจากสถานการณ์การเมืองภายในและสถานการณ์ความมั่นคงของประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพ
  2. ตัวเลขการส่งออกของปากีสถานที่มีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากผลผลิตทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่ลดลง
  3. ตัวเลขการลงทุนจากต่างชาติที่มีจำนวนลดลงอย่างมหาศาล โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นซึ่งลดลงจาก 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เหลือเพียง 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2551

ขณะที่ปัญหาการเมืองภายใน ปัญหาการก่อการร้ายโดยกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มหัวรุนแรงที่รุมเร้ารัฐบาลปากีสถาน โดยเฉพาะภายหลังเกิดเหตุระเบิดพลีชีพ ที่โรงแรมแมริออต ใจกลางกรุงอิสลามาบัด เมื่อเดือนกันยายน 2551 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์และการลงทุนจากต่างประเทศในปากีสถาน แม้ว่าตลอดมา รัฐบาลปากีสถานจะพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในประเทศโดยเฉพาะ การแก้ไขปัญหาสภาวการณ์ขาดดุลทางการคลัง การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาพืชผลสินค้าเกษตรตกต่ำ ค่าเงินสกุลรูปีปากีสถานตกต่ำลง เมื่อเปรียบเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศของปากีสถานยังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงราวเดือนละ 811-911 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ปากีสถานเคยมีเงินตราสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับต่ำโดยเหลือเพียง 8.832 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ เดือนกันยายน 2551 ดังนั้น ปากีสถานจึงตัดสินใจพึ่งพาความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund – IMF) ทั้งนี้ จากการเจรจาระหว่าง IMF กับรัฐบาลปากีสถาน IMF จะให้เงินกู้แก่ปากีสถาน จำนวนทั้งสิ้น 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในกำหนดระยะเวลา 2 ปี โดยส่งมอบเงินงวดแรกให้ในเดือนพฤศจิกายน 2551 จำนวน 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และงวดต่อไป จำนวน 3.5 - 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2552 สำหรับเงินกู้งวดแรก IMF กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.51 และเพิ่มเป็นร้อยละ 4.5 สำหรับเงินจำนวนที่เหลือ โดยมีกำหนดเริ่มชำระเงิน ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2554 – 2555 จนถึงปี 2558 – 2559 โดยปากีสถานมีพันธกรณีกับ IMF ที่จะต้องดำเนินการ อาทิ ลดการขาดดุลการคลัง (fiscal deficit) ให้เหลือเพียงร้อยละ 4.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยขยายอัตราการเก็บภาษี ต่อ GDP ให้เพิ่มจากร้อยละ 9.6 ในปัจจุบัน ขึ้นเป็นร้อยละ 15 ในอีก 5-7 ปีข้างหน้า ยกเลิกการอุดหนุนด้านพลังงาน และลดการกู้ยืมจากธนาคารกลางและเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ เป็นต้น นอกจากนี้ ในเวทีการประชุม Pakistan Donors Conference and the Friends of Democratic Pakistan Ministerial Meeting ครั้งที่ 2 ที่กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 ปากีสถานได้รับแจ้งจากประเทศพันธมิตรที่จะให้ความช่วยเหลือ ขณะที่ในเวทีการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป-ปากีสถาน (The EU-Pakistan Summit) ครั้งที่ 1 ที่ กรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2552 ที่ประชุมมีมติสนับสนุนปากีสถานทางด้านการเงินเป็นจำนวนรวม 1.8 พันล้านยูโร สำหรับการค้าระหว่างประเทศ ปากีสถานประสบกับปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องเนื่องจากในช่วงปี 2550 - 2551 มีปัจจัยด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของปากีสถาน อาทิ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์การเมืองและความมั่นคงภายในประเทศที่ขาดเสถียรภาพ ผลผลิตในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ลดลงจึงทำให้ปัญหาการขาดดุลการค้าของปากีสถานมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2551 มูลค่าการส่งออกสินค้าของปากีสถานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรที่ลดลง (เป็นผลจากการขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่สูงขึ้น) ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าของปากีสถานสูงขึ้น เนื่องจากต้องนำเข้าน้ำมันและข้าวสาลีจำนวนมากในช่วงที่ภาวะราคาสินค้าทั้งสองในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ ปากีสถานยังต้องนำเข้าสินค้าประเภทน้ำมันเพื่อการบริโภค และเครื่องจักรเพิ่มขึ้นอีกด้วย ด้วยเหตุข้างต้น จึงส่งผลให้ปากีสถานขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น อาทิ ในปี 2549 - 2550 ปากีสถานส่งสินค้าออก 17,278.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 26,989.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลการค้า 9,711.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ในปี 2550-2551 ปากีสถานส่งสินค้าออก21,122.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 35,417.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลการค้า 15,294.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันปากีสถานได้เริ่มดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการกระตุ้นความสนใจต่อแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีทางพุทธศาสนาในปากีสถาน โดยเฉพาะที่เมืองตักศิลา ทั้งนี้ ปากีสถานหวังว่า การท่องเที่ยวจะเป็นแหล่งรายได้สำคัญอีกสาขาหนึ่งของประเทศ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งยังต้องพัฒนาความพร้อมอีกมากในหลายด้าน

[แก้] ประชากร

เขตความหนาแน่นแบ่งตามสีในปากีสถาน

มีการประมาณประชากรของปากีสถานในปี พ.ศ. 2552 ประมาณ 180,800,000 คน[4] [5] โดยชาวปัญจาบเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ มีจำนวนกว่าร้อยละ 60-70 รองลงมาเป็นพวกซินด์ และปาทาน นอกจากนี้ยังมีประชากรกลุ่มอื่น อย่างชาวอัฟกันอพยพ, บัลติ, เปอร์เซีย, กัศมีร์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาทีหลังอย่าง ชาวปากีสถานเชื้อสายจีน และชาวปากีสถานเชื้อสายไทย

ประชากรกว่าร้อยละ 97 นับถือศาสนาอิสลาม โดยส่วนใหญ่เป็นซุนนีย์ ส่วนร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นชีอะห์ มีผู้นับถือศาสนาอื่นอยู่บ้าง แต่มีอยู่ประปราย และส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตชนบท และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการประมง

[แก้] ศาสนา

ประเทศปากีสถาน จัดว่าเป็นประเทศสังคมมุสลิม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์มากเป็นอันดับที่สองของโลก โดยมีผู้นับถือนิกายซุนนีย์ร้อยละ 75 และนิกายชีอะห์ร้อยละ 20 โดยสามารถจำแนกจำนวนศาสนิกของศาสนาต่างๆ ได้ดังนี้

นอกจากนี้ยังมีศาสนิกชนในศาสนาอื่น ที่ไม่ได้รวมในที่นี้ได้แก่ ผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ (ชาวปาร์ซี),ลัทธิอาหมัด, ศาสนาพุทธ[6], ศาสนายูดาย, ศาสนาบาไฮ และนับถือผี (มีมากในกาลาชา ในเขตชิลทรัล) [7]

[แก้] วัฒนธรรม

อาหารปากีสถาน มีความหลากหมายมาก

วัฒนธรรมของชาวปากีสถานแสดงให้เห็นถึงอย่างแท้จริง ผู้ที่มาเยือนจะพบหลักฐานถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวปากีสถาน ศิลปกรรมของชาวปากีสถานมีรูปแบบทั้งที่เป็นศิลปกรรมทางศาสนา เช่น พรมขนสัตว์ เครื่องทองเหลือง และรูปแกะสลัก เป็นต้นทางด้านดนตรีและการฟ้อนรำมีประวัติอันยาวนาน การฟ้อนรำเป็นการฟ้อนของชาวปากีสถานโดยเฉพาะ สถานที่สำคัญในประเทศปากีสถานมีอยู่มากมาย เช่น เมืองโมเฮนโจดาโร เป็นสถานที่ทางโบราณคดีที่สำคัญ ส่วนโบราณสถานของศาสนามีปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น ที่เมืองลาฮอร์ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่ง เช่น ค่ายทหารเมืองลาฮอร์ และมัสยิดบาสชาฮิซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิออรังเซ็บ มัสยิดบาสชาฮินี้กว้างเป็นอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้ปากีสถานยังมีสถานที่อื่นที่นาสนใจอีกมาก ควรจะไปเที่ยวดินแดนทางภาคเหนือซึ่งเป็นขุนเขา มีหิมะปกคลุมตลอดฤดูหนาว

ลักษณะทางสังคมส่วนใหญ่ยังเป็นแบบดั้งเดิม ยังยึดจารีตและวัฒนธรรมมุสลิมอย่างเคร่งครัดในการดำรงชีพ แต่ภายหลังเมื่อได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จึงมีการเปลี่ยนไปตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกบ้าง เช่น ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมทางการเมือง งานสวัสดิการสังคม และมีการเรียกร้องสิทธิสตรีให้ทัดเทียมกับบุรุษ โดยจะต้องอยู่ในกรอบวัฒนธรรมอิสลาม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Official website, American Institute of Pakistan Studies. ""National Anthem of Pakistan"". http://www.pakistanstudies-aips.org/en/nap.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-04-18. 
  2. ^ Embassy of Pakistan, Washington D. C.. ""Pakistani Flag"". http://www.embassyofpakistan.org/nationalanthem.php. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-04-18. 
  3. ^ World Gazetteer population estimate for 2006
  4. ^ Department of Economic and Social Affairs Population Division (2009). "World Population Prospects, Table A.1" (.PDF). 2008 revision. United Nations. เข้าถึงเมื่อ 2009-03-12.
  5. ^ 2009 World Population Data Sheet - Population Reference Bureau
  6. ^ ผู้นำชาวพุทธในปากีสถานขอให้ช่วยพัฒนาพุทธสถาน
  7. ^ "International Religious Freedom Report 2007". State Department, US. 2007. http://www.state.gov/g/drl/rls/irf/2007/90233.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-03-21. 

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
ประเทศปากีสถาน


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น