ประเทศเนปาล
สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल (เนปาล)
|
||||||
---|---|---|---|---|---|---|
|
||||||
คำขวัญ: สันสกฤต: जननी जन्मभूमिष्च स्वर्गादपि गरीयसी ชนนิ ชนฺมภูมิสฺจา สวรคทพิ คริโยศิ ("แผ่นดินแม่มีค่ายิ่งกว่าสวรรค์") |
||||||
เพลงชาติ: सयौं थुँगा फूलका हामी สเยาง์ ถุงฺคา ผูลกา หามี ("เราคือบุปผานับร้อย") |
||||||
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) |
กาฐมาณฑุ 27°42′N 85°19′E / 27.7°N 85.317°E |
|||||
ภาษาทางการ | ภาษาเนปาล | |||||
การปกครอง | สาธารณรัฐประชาธิปไตย | |||||
- | ประธานาธิบดี | ราม บารัน ยาดัฟ | ||||
- | นายกรัฐมนตรี | บาบูรัม ภัตตาไร | ||||
การรวมชาติ | ||||||
- | ก่อตั้งราชอาณาจักร | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2311 | ||||
- | ก่อตั้งรัฐชั่วคราว | 15 มกราคม พ.ศ. 2550 | ||||
- | ก่อตั้งสาธารณรัฐ | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | ||||
พื้นที่ | ||||||
- | รวม | 147,181 ตร.กม. (94) 56,827 ตร.ไมล์ |
||||
- | แหล่งน้ำ (%) | 2.8 | ||||
ประชากร | ||||||
- | ก.ค. 2548 (ประเมิน) | 27,133,000 (42) | ||||
- | 2548 (สำมะโน) | 23,151,423 | ||||
- | ความหนาแน่น | 196 คน/ตร.กม. (56) 508 คน/ตร.ไมล์ |
||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2548 (ประมาณ) | |||||
- | รวม | 42.17 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (81) | ||||
- | ต่อหัว | 1,675 ดอลลาร์สหรัฐ (152) | ||||
ดพม. (2546) | 0.526 (กลาง) (136) | |||||
สกุลเงิน | รูปี (NPR ) |
|||||
เขตเวลา | NPT (UTC+5:45) | |||||
ระบบจราจร | ซ้ายมือ | |||||
โดเมนบนสุด | .np | |||||
รหัสโทรศัพท์ | 977 |
ประเทศเนปาล (เนปาล: नेपाल) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (อังกฤษ: Federal Democratic Republic of Nepal; เนปาล: सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ บริเวณเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนติดกับทิเบตของจีน และประเทศอินเดีย เนปาลเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยมาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2550 โดยก่อนปีพ.ศ. 2549 เนปาลเคยเป็นรัฐเดียวในโลกที่มีศาสนาฮินดูเป็นศาสนาประจำชาติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเนปาลระบุให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐโลกวิสัย นอกจากศาสนาฮินดูที่คนเนปาลส่วนใหญ่นับถือแล้ว เนปาลยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานสำคัญของพุทธศาสนา คือลุมพินีวัน ที่ประสูติของพระโคตมพุทธเจ้า
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติศาสตร์
ก่อนปีพ.ศ. 2311 หุบเขากาฐมาณฑุแบ่งออกเป็นสามอาณาจักร จนกระทั่งผู้นำเผ่ากุรข่า ปฤฐวี นารายัณ ศาห์ สามารถรวบรวมอาณาจักรในหุบเขาเข้าด้วยกัน และหลังจากนั้นได้ทำสงครามขยายอาณาเขตออกไป จนในปีพ.ศ. 2357-พ.ศ. 2359 เกิดสงครามอังกฤษ-เนปาล กองทัพกุรข่าพ่ายแพ้ ต้องทำสนธิสัญญาและจำกัดอาณาเขตเนปาลเหลือเท่าปัจจุบัน[1]
ในปีพ.ศ. 2491 ชัง พหาทุระ รานา ซึ่งเป็นขุนนางในประเทศ ยึดอำนาจจากราชวงศ์ศาห์ โดยยังคงราชวงศ์ศาห์ไว้เป็นประมุขแต่ในนาม ตระกูลรานาได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร เนปาลได้ส่งกองทัพเข้าร่วมกับกองทัพบริเตนในหลายสงคราม ทำให้สหราชอาณาจักรทำสนธิสัญญามิตรภาพกับเนปาลในปีพ.ศ. 2466 ซึ่งในสนธิสัญญานี้ สหราชอาณาจักรได้ยอมรับเอกราชของเนปาลอย่างชัดเจน[2]
ในปีพ.ศ. 2494 เกิดการต่อต้านการปกครองของตระกูลรานา นำโดยพรรคเนปาลีคองเกรสและกษัตริย์ตริภุวัน ทำให้โมหัน สัมเสระ ชัง พหาทุระ รานา ผู้นำคนสุดท้ายของตระกูลรานาคืนอำนาจให้แก่กษัตริย์ศาห์ และจัดการเลือกตั้ง
หลังจากเนปาลได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในช่วงสั้นๆ โดยจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในปีพ.ศ. 2502 แต่กษัตริย์มเหนทระได้ยุบสภา ยึดอ'ำนาจในปีพ.ศ. 2503 และใช้ระบอบปัญจายัตแทน จนมาถึงการปฏิรูปการปกครองในปีพ.ศ. 2533 ทำให้เปลี่ยนจากระบอบปัญจายัต ที่ห้ามมีพรรคการเมือง มาเป็นระบอบรัฐสภาแบบพหุพรรค[3]
ในปีพ.ศ. 2539 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ได้เปิดฉากสงครามประชาชน มีเป้าหมายที่จะสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมขึ้นแทนระบอบราชาธิปไตย นำมาซึ่งสงครามกลางเมืองซึ่งกินเวลายาวนานถึงสิบปี ในปีพ.ศ. 2544 เกิดเหตุสังหารหมู่ในพระราชวัง โดยเจ้าชายทิเปนทระ มกุฎราชกุมารในสมัยนั้น และกษัตริย์ชญาเนนทระได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน ในปีพ.ศ. 2548 กษัตริย์ชญาเนนทระได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล นำมาซึ่งการประท้วงจากประชาชนและพรรคการเมืองในเวลาต่อมา จนต้องคืนอำนาจให้กับรัฐสภา รัฐสภาเนปาลได้จำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์ และให้เนปาลเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state)
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐสภาเนปาลได้ผ่านกฎหมายที่จะเปลี่ยนเนปาลเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย โดยมีผลหลังการเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2551[4]
ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 รัฐบาลเนปาลประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ สถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยขึ้น โดยกำหนดให้ชญาเนนทระและพระบรมวงศานุวงศ์ต้องเสด็จออกจากพระราชวังภายใน 15 วัน และกำหนดให้วันที่ 28 - 30 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการ[5]
[แก้] การเมือง
ในปัจจุบัน เนปาลเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีนายราม บารัน ยาดัฟ เป็นประธานาธิบดีคนแรก จากการลงคะแนนเสียงของสภาร่างรัฐธรรมนูญ 308 เสียง และนายคีรีชา ปราสาท โกอีราละ อดีตรักษาการณ์ประมุขแห่งรัฐทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อไป จนมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อันนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมา หรืออดีตกลุ่มกบฏลัทธิเหมา ซึ่งมีนายประจันดา เป็นนายกรัฐมนตรี [6] แต่หลังจากที่นายประจันดา ต้องการให้อดีตกลุ่มกบฎของเขาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ จึงมีกระแสกดดันมาจากผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเนปาล และรวมทั้งประธานาธิบดียาดัฟ นายประจันดาจึงประกาศลาออก และสภาได้เลือกนายมาดัฟ คูมาร์ เนปาล อดีตเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิมาร์ก-เลนิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ก่อนครบรอบ 1 ปีของการสถาปนาระบอบสาธารณรัฐในเนปาล
ปัจจุบัน นายบาบูรัม ภัตตาไร ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของเนปาล เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
เนปาลแบ่งเป็น 14 เขต (อันจัล) ดังนี้
[แก้] รายพระนามและรายนามประมุขแห่งรัฐ
[แก้] สมัยราชอาณาจักรเนปาล
[แก้] สมัยสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
[แก้] เศรษฐกิจ
พื้นที่เกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 17 พืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวเจ้า พื้นที่ 2 ใน 3 ปกคลุมด้วยป่าไม้ มีการตัดไม้เพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมไม้อัด โรงงานอุตสากรรมขนาดเล็กที่แปรสภาพผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศได้มาจากการค้าแรงงานของชาวเนปาลีที่อยู่ต่างประเทศ และส่งเงินกลับมาให้กับครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเนปาล ธุรกิจการท่องเที่ยวมีจุดสนใจอยู่ที่การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยและวัฒนธรรม เช่นการเดินเขา ปีนเขา และล่องแก่ง ตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเนปาลก็มีอาทิเช่น ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ,วัดปศุปฏินาถ ,วัดสวยมภูวนาถ ,พระราชวังกาฐมัณฑุ ,เมืองโพคารา และ ลุมพินีวัน เป็นต้น
[แก้] ประชากร
[แก้] เชื้อชาติ
- กลุ่มเนปาลีชาวเนปาลดั้งเดิมเป็นชนชาติมองโกลอยด์ ผสมกับพวกอินโด-อารยันจากอินเดีย เป็น
- อินโด-เนปาลี 52%
- ไมกิลิ 11%
- โภชปุริ 8%
- ถารู 3.6%
- กลุ่มทิเบต-พม่า เช่น
- ตามัง 3.5%
- เนวารี 3%
- มอการ์ 1.4
- กุรุง 1.2%
- ลิมูบู 0.2%
[แก้] ศาสนา
- ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 81%
- ศาสนาพุทธนิกายมหายาน 11%
- ศาสนาอิสลาม 4.2%
- ศาสนาคริสต์ 1.4%
[แก้] อ้างอิง
- ^ Andrea Matles Savada, ed. Nepal: A Country Study - The Enclosing of Nepal. Washington: GPO for the Library of Congress, 1991.
- ^ Andrea Matles Savada, ed. Nepal: A Country Study - The Ranas. Washington: GPO for the Library of Congress, 1991.
- ^ Country Profile: Nepal. 2005. Federal Research Division, Library of Congress.
- ^ Vote to abolish Nepal's monarchy. BBC News. 2007-12-28.
- ^ Republic Day celebrated in DC. Nepali Post. 2008-05-28
- ^ Nepal declared secular, federal democratic republic. Sify. 2008-05-28. Retrieved 2008-05-28.
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ประเทศเนปาล จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศไทย
- ประวัติประเทศเนปาล จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศไทย
- ภาษาอังกฤษ
- รัฐบาลเนปาล
- ข้อมูลเนปาลจากห้องสมุดคองเกรส
- United States ข้อมูลเนปาลจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ
- ข้อมูลเนปาลจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุก ซีไอเอ
- ข้อมูลประเทศเนปาลจากแนชันแนลจีโอกราฟิก
|