เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 15
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
สมัยก่อนหน้า ธานินทร์ กรัยวิเชียร
สมัยถัดไป พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2520 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
สมัยก่อนหน้า พลเอก เล็ก แนวมาลี
สมัยถัดไป พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521
นายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
สมัยก่อนหน้า สมัคร สุนทรเวช
สมัยถัดไป พลเอก เล็ก แนวมาลี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460
เสียชีวิต 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (86 ปี)
พรรคการเมือง พรรคชาติประชาธิปไตย
คู่สมรส คุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์
ลายมือชื่อ

พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546) อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

พลเอกเกรียงศักดิ์เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 เป็นบุตรของนายแจ่ม กันนางเจือ ชมะนันทน์ สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์

[แก้] การศึกษา

พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย โรงเรียนปทุมคงคา จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนสำเร็จการศึกษาในปี 2483 ในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบก และ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5

[แก้] ราชการทหาร

ในช่วงที่รับราชการทหาร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เคยร่วมรบในสมรภูมิเกาหลีรุ่นแรก ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 สร้างเกียรติภูมิอย่างมาก จนหน่วยใต้บังคับบัญชาได้ฉายาว่า "กองพันพยัคฆ์น้อย" (ปัจจุบันแปรสภาพเป็นกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์) ภายหลังกลับจากสงครามก็เข้าประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด เติบโตในสายเสนาธิการมาเป็นลำดับจนเป็นพลเอก และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดจนเกษียณอายุราชการ

[แก้] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้ การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ผลงานสำคัญในช่วงที่พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งคือการปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า รวมทั้งพลเอก เกรียงศักดิ์ ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหภาพโซเวียต เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้ากับทั้งสองประเทศแน่นแฟ้นขึ้น

นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายหน่วยงาน เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น

ระหว่างเล่นการเมืองอยู่นั้น พลเอก เกรียงศักดิ์ได้รับฉายาว่า "อินทรีแห่งทุ่งบางเขน"

พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยแถลงกลางสภา ฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการที่รัฐบาลตัดสินใจเพิ่มราคาค่าน้ำมันตามราคาตลาดโลก ซึ่งทำให้หลายฝ่ายได้รับความเดือดร้อนและโจมตี หลังจากนั้นได้ยุติบทบาททางการเมือง โดยไม่ข้องเกี่ยวกับวงการเมืองอีก แต่อย่างไรก็ตามในเหตุการณ์กบฏวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พลเอกเกรียงศักดิ์ถูกต้องสงสัยว่าอาจมีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุนการกบฏดังกล่าว

พลเอกเกรียงศักดิ์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 รวมอายุได้ 86 ปี โดยในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น ภาพที่ติดตาของพลเอกเกรียงศักดิ์ คือ การทำพะแนงเนื้อใส่บรั่นดีระหว่างออกเยี่ยมประชาชนตามที่ต่าง ๆ อันเป็นสูตรของพลเอกเกรียงศักดิ์เอง

นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้แก่นักศึกษาที่ถูกจำคุกเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุม 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย ซึ่งรัฐสภาก็ได้ผ่านร่างดังกล่าวในปี พ.ศ. 2521 โดยมีเหตุผลสำคัญคือเพื่อความปรองดองของประเทศ ซึ่งทำให้นักศึกษาที่ถูกจับทั้งหมดได้รับการปล่อยตัว

[แก้] โรคร้อยเอ็ด

หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 มีการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดร้อยเอ็ด เขตหนึ่ง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ครั้งนี้มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ฝ่ายพลเอกเกรียงศักดิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติประชาธิปไตย จึงต้องใช้การซื้อเสียงเชิงรุก เพื่อให้ได้ ส.ส. จึงใช้การแจกจ่ายเงินสดแทนข้าวของ ทำกันอย่างเอิกกะเริกแต่ก็ไม่มีการลงโทษตามกฎหมาย จึงเป็นต้นกำเนิดของการซื้อเสียงอย่างแพร่หลายในภาคอีสานในเวลาต่อมา[1][2]

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] อ้างอิง

  • กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
สมัยก่อนหน้า เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ สมัยถัดไป
ธานินทร์ กรัยวิเชียร 2leftarrow.png นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(11 พฤศจิกายน พ.ศ. 25203 มีนาคม พ.ศ. 2523)
2rightarrow.png พลเอก เปรม ติณสูลานนท์


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น