ประเทศเกาหลีเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Hangul, Hanja.png บทความนี้อักษรเกาหลีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถามหรือสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลอักษรฮันกึลและอักษรฮันจาได้อย่างถูกต้อง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
조선민주주의인민공화국 (เกาหลี)
ธงชาติ
คำขวัญ강성대국
ชาติอันเกรียงไกรและรุ่งเรือง
เพลงชาติเอกุกกา
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เปียงยาง
39°2′N 125°45′E / 39.033°N 125.75°E / 39.033; 125.75
ภาษาทางการ ภาษาเกาหลี
การปกครอง คอมมิวนิสต์แบบพึ่งตนเอง
(สมบูรณาญาสิทธิราชโดยพฤตินัย)
 -  ประธานาธิบดีตลอดกาล[1] คิม อิลซอง
 -  ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ คิม จองอึน
 -  ประธานสภาสมัชชาประชาชนสูงสุด คิม ยองนัม
 -  นายกรัฐมนตรี ชเว ยองริม
การสถาปนาชาติ
 -  ปลดปล่อย 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 
 -  แถลงอย่างเป็นทางการ 9 กันยายน พ.ศ. 2491 
พื้นที่
 -  รวม 120,540 ตร.กม. (98)
46,528 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 4.87%
ประชากร
 -  2552 (ประเมิน) 24,051,218[2] (51)
 -  2551 (สำมะโน) 24,052,231[3] 
 -  ความหนาแน่น 198.3 คน/ตร.กม. (55)
513.8 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2007 (ประมาณ)
 -  รวม 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (89)
 -  ต่อหัว 1,900 (ประเมิน พ.ศ. 2552)[5] (154)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2009[5] (ประมาณ)
 -  รวม 28,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (88)
 -  ต่อหัว 1,244 ดอลล่าร์สหรัฐ[6] (139)
ดพม.  ไม่มีข้อมูล 
สกุลเงิน วอน (₩) (KPW)
เขตเวลา (UTC+9)
โดเมนบนสุด .kp
รหัสโทรศัพท์ 850
แผนที่ประเทศเกาหลีเหนือ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (อังกฤษ: Democratic People's Republic of Korea: DPRK; ฮันกึล: 조선민주주의인민공화국; ฮันจา: 朝鮮民主主義人民共和國) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (อังกฤษ: North Korea; ฮันกึล: 북한; ฮันจา: 北韓) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ แม่น้ำอัมนอคหรือยาลู และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างเกาหลีเหนือกับจีน แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับรัสเซีย

คาบสมุทรเกาหลีถูกปกครองโดยจักรวรรดิเกาหลีเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น พ.ศ. 2448 และถูกแบ่งเป็นเขตยึดครองโซเวียตและอเมริกาใน พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ เกาหลีเหนือปฏิเสธจะเข้าร่วมการเลือกตั้งที่สหประชาชาติอำนวยการ ซึ่งจัดในทางใต้ใน พ.ศ. 2491 และนำไปสู่การสถาปนารัฐบาลเกาหลีแยกในเขตยึดครองทั้งสอง ทั้งเกาหลีเหนือและใต้ต่างอ้างอธิปไตยเหนือคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และนำไปสู่สงครามเกาหลีใน พ.ศ. 2493 ความตกลงสงบศึกชั่วคราว พ.ศ. 2496 ยุติการสู้รบ อย่างไรก็ดี ทั้งสองยังถือว่าอยู่ในภาวะสงครามต่อกันอย่างเป็นทางการ เพราะยังไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ[7] ทั้งสองรัฐได้รับการยอมรับเข้าสู่สหประชาชาติใน พ.ศ. 2534[8]

เกาหลีเหนือเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวภายใต้สหแนวร่วมนำโดยพรรคกรรมกรเกาหลี[9][10][11][12] รัฐบาลของประเทศเจริญตามอุดมการณ์จูเช่ (Juche) ว่าด้วยการพึ่งพาตนเอง พัฒนาโดยประธานาธิบดีของประเทศ คิม อิลซอง หลังเขาถึงแก่อสัญกรรม คิม อิลซองถูกประกาศให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของประเทศ จูเชกลายมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการ เมื่อประเทศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน พ.ศ. 2515[13] แม้คิม อิลซองจะใช้ร่างเป็นนโยบายอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2498[14] หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง ได้เกิดทุพภิกขภัยขึ้น เป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตถึงระหว่าง 9 แสนถึง 2 ล้านคน[15] โดยเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้ ผู้นำ คิม จองอิลประกาศใช้นโยบายซอนกุน (Songon) หรือ "ทหารมาก่อน" เพื่อเสริมสร้างประเทศและรัฐบาล[16]

องค์การต่างชาติหลายแห่งอธิบายเกาหลีเหนือว่าเป็นเผด็จการลัทธิสตาลินเบ็ดเสร็จ[10][11][17][18][19] โดยมีลัทธิบูชาบุคคลประณีตรอบครอบครัวคิมและเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบันทึกสิทธิมนุษยชนต่ำที่สุดในโลก[20] รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธความเชื่อมโยงนี้[21] เกาหลีเหนือเป็นชาติติดอาวุธมากที่สุดของโลก[22][23] โดยมีกำลังพลประจำการ สำรองและกึ่งทหารรวม 9,495,000 นาย ทั้งเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีโครงการอวกาศที่ยังดำเนินอยู่[24]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์


PaektuDPRK.jpg
An3 man.jpg
ภาพรวม
ภาพรวม

[แก้] ยุคประวัติศาสตร์

ในประวัติศาสตร์เกาหลี แบ่งเป็นราชอาณาจักรทั้งสาม คือราชอาณาจักรโคคูรยอ ราชอาณาจักรแพกเจ และราชอาณาจักรซิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลีและบางส่วนของแมนจูเรีย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศแมนจูเรียอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร

[แก้] หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นในคาบสมุทรเกาหลี แต่ทั้งสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาไม่สามารถตกลงเรื่องการรวมเกาหลีกันได้ แต่ละฝ่ายจึงประกาศสนับสนุนดินแดนในส่วนยึดครองของตน โดยเกาหลีใต้เรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ส่วนเกาหลีเหนือเรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต

[แก้] ยุคเอกราช

หลังจากเกาหลีเหนือได้แยกออกมาเป็นเอกราชแล้ว นาย คิม อิลซอง ก็ได้มีบทบาทสำคัญของการบริหารประเทศตลอดมา ในระหว่าง พ.ศ. 2491-2515 เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และต่อจากนั้นก็ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2537 แล้วบุตรชาย คิม จอง อิล ได้ดำรงตำแหน่งสืบมา

[แก้] การเมือง

เกาหลีเหนือเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ

เกาหลีเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของอดีตสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองของเกาหลีเหนือตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิจูเช่ (Juche) ซึ่งอดีตประธานาธิบดี คิม อิลซอง ได้บัญญัติขึ้นเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ประกอบด้วยหลักการสำคัญ คือเอกราชทางการเมืองอย่างแท้จริง การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศด้วยตนเอง

เกาหลีเหนือมีการปกครองระบบพรรคเดียวมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการก่อตั้งประเทศเมื่อ 9 กันยายน พ.ศ. 2491 โดยมีพรรคคนงานเกาหลี (Workers Party of Korea) เป็นองค์กรที่มีบทบาทและอิทธิพล สูงสุดในทางการเมืองที่คอยควบคุมหน่วยงานของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญปกครองประเทศของเกาหลีเหนือบัญญัติไว้ว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของสมัชชาประชาชนสูงสุด ซึ่งมีสมาชิก 687 คน มาจากการเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีเหนือได้เข้าสู่ความไม่แน่นอน ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคิม อิลซอง ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งทำให้ประชาคมระหว่างประเทศกังวลว่าเกาหลีเหนือจะประสบปัญหาวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของนายคิม จอง อิล ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 แสดงให้เห็นว่านายคิม จอง อิล สามารถกุมอำนาจการปกครองประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยนายคิม จอง อิล ก็ได้มีท่าทีที่ต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโลกเสรีมากขึ้น คาดว่าเพราะต้องการได้รับเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ

เมื่อ 5 กันยายน 2541 การประชุมสภาประชาชนสูงสุดครั้งที่ 10 มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า

อนึ่ง สภาบประชาชนสูงสุดมีมติแต่งตั้งนายคิม ยอง-นัม ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ รับผิดชอบงานด้านการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ ได้แก่ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพิธีการทูต การให้และยกเลิกสัตยาบัน การแต่งตั้งและเรียกกลับผู้แทนทางการทูตในต่างประเทศ การรับสาส์นตราตั้งทูตต่างประเทศ การเป็นผู้แทนประเทศพบบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่ไปเยือนเกาหลีเหนือ รวมทั้งเป็นผู้แทนประเทศเดินทางไปเยือนประเทศอื่นๆ

เมื่อ 3 กันยายน 2546 ได้มีการประชุมสภาประชาชนสูงสุดของเกาหลีเหนือ โดยที่ประชุมฯ มีมติดังนี้

  1. นาย คิม จองอิล ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลาโหม (Chairman of the National Defense Commission)
  2. นาย คิม ยองนัม ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุด (President of the Presidium of the DPRK Supreme People's Assembly)
  3. นาย ปาร์ก ปงจู รมว.อุตสาหกรรมเคมี ดำรงตำแหน่ง นรม. สืบแทนนาย Hong Song Nam
  4. นาย เพ็ก นัมซุน ดำรงตำแหน่ง รมว.กต.ต่อไปทั้งนี้ นรม.คนใหม่มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศให้มากยิ่งขึ้น สนับสนุนด้านการทหารอย่างเต็มที่ และส่งเสริมการรวมประเทศเกาหลีทั้งสอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2554 นายคิม จองอิล ได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะอยู่บนขบวนรถไฟเตรียมเดินทางไปตรวจพื้นที่ภาคสนาม จากอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย และหัวใจวายในที่สุด ทำให้นาย คิม จอง อึน บุตรชายคนที่ 3 จะขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือในฐานะทายาททางการเมืองต่อไป

[แก้] การปกครอง

เกาหลีเหนือปกครองโดยพรรคแรงงานเกาหลีเหนือ โดยมี นายคิม จองอึน เป็นผู้นำประเทศ

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศเกาหลีเหนือแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provinces) 3 เขตพิเศษ (special regions) และ 2 เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง (directly-governed cities) ได้แก่

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศเกาหลีเหนือและที่ตั้งของเมืองเปียงยาง

[แก้] จังหวัด

[แก้] เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง

[แก้] เมืองใหญ่สุด 10 อันดับแรก


[แก้] ภูมิศาสตร์

แผนที่เกาหลีเหนือ

คาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว 1,020 กิโลเมตร และกว้าง 175 กิโลเมตร ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทรเกาหลี พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแผ่นดินที่เป็นหินแกรนิตและหินปูน ทำให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงามอย่างมหัศจรรย์ ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เทือกเขาตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกสูงชันและทอดตัวลงสู่ทะเลตะวันออก ในขณะที่ชายฝั่งทางด้านใต้และตะวันตก เทือกเขาค่อย ๆ ลาดลงต่ำสู่ที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลี โดยเฉพาะในด้านการผลิตข้าว

คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ณ เส้นขนานที่ 38 เหนือ คือ สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางใต้ และเกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร

[แก้] เศรษฐกิจ

ศูนย์กลางเศรษฐกิจเกาหลีเนือ
โรงงานในเกาหลีเหนือ
เกษตรกรรมเกาหลีเหนือ
ภาพดาวเทียมแสดงความแตกต่างของการผลิตไฟฟ้าของเกาหลีทั้งสองประเทศ

เกาหลีเหนือมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง โดยเกาหลีเหนือได้ยึดถืออุดมการณ์ตามลัทธิจูเช่ (Juche) ของพรรคแรงงานเกาหลีมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การพึ่งพาตนเอง เกียรติภูมิของชาติ และการสร้างความเจริญให้กับประเทศ พร้อมกับประกาศ "ขบวนการม้าบิน" (Chollima Movement) ในปี พ.ศ. 2501 ที่กระตุ้นให้ประชาชนขยันขันแข็งในการทำงาน เร่งเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร

เกาหลีเหนือมีระบบการค้าผูกขาดโดยภาครัฐ ทั้งการค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ควบคุมการค้าภายในประเทศ และกระทรวงการค้าต่างประเทศควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยได้จัดตั้งบริษัทการค้าของรัฐหรือสหกรณ์การค้าของรัฐ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการค้า รัฐบาลเกาหลีเหนือพยายามขยายการค้ากับต่างประเทศให้มากขึ้น โดยได้เน้นการผลิตสินค้าที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น พยายามปรับปรุงความน่าเชื่อถือของเกาหลีเหนือ ส่งเสริมสินค้าออกทั้งแบบ merchant trade และ barter trade ส่งเสริมการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ นอกจากนี้ เกาหลีเหนือได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Commission for the Promotion of Foreign Trade) เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ

ในปี 2538 และ 2539 ได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ต่อมาในปี 2540 เกาหลีเหนือประสบกับภาวะภัยแล้งและพายุในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ประชาชนเจ็บป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงได้เริ่มขอรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกมาตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้ ก่อนการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในปี 2532-2533 ประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีเหนือคือ สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มูลค่าการค้ากับประเทศรัสเซียได้ลดน้อยลงอย่างมาก และประเทศยุโรปตะวันออกก็ไม่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของเกาหลีเหนือ ก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่น ๆ ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาได้ รวมทั้ง เกาหลีเหนือยังประสบปัญหาการขาดเแคลนเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอีกด้วย

รัฐบาลเกาหลีเหนือได้พยายามหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนี้

  • ในปี 2534 ได้พยายามทดลองเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเดียวกับจีน บริเวณใกล้พรมแดนจีนและรัสเซีย เรียกว่า Rajin-Sonbong Free Trade Zone (FTZ) เพื่อเป็นเขตผ่อนผันให้กับนักลงทุนต่างชาติผ่านเข้าออกได้ โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา มีการลดภาษีศุลกากร และมีสิ่งจูงใจอื่น ๆ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเขตดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวได้รับความสนใจน้อยมาก เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูง การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินงาน นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ค่อยแน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองภายในเกาหลีเหนือ ตลอดจนปัญหาเรื่องนโยบายคุ้มครองการลงทุน รวมทั้งความไม่พร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ สนามบิน ท่าเรือ และการขาดพื้นฐานทางอุตสาหกรรม
  • ในปี 2541 ได้เปิดให้บริษัทฮุนไดของเกาหลีใต้เข้าไปลงทุนโดยการนำนักท่องเที่ยวเข้าชมบริเวณเทือกเขา Kumgang โดยบริษัทฮุนไดต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลเกาหลีเหนือ เดือนละ 12 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา แต่ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้น้อยเกินคาด คือน้อยกว่า 4,000 คนต่อเดือนทำให้บริษัทฮุนไดขาดทุนอย่างนัก จนเมื่อเดือน มกราคม 2545 รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมนโยบายปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
  • เมื่อเดือนกันยายน 2545 เกาหลีเหนือได้ประกาศให้เมืองชินอึยจู ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ติดชายแดนจีนตรงข้ามเมืองตานตงของมณฑลเหลียวหนิงมีแม่น้ำยาลูเป็นเส้นกั้นพรมแดนให้เป็นเขตบริหารพิเศษขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางโดยสามารถบัญญัติกฎหมายมีอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ
  • นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ระหว่างนายคิม จอง-อิล ผู้นำเกาหลีเหนือกับนายคิม แด-จุง อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในปี 2543 เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้มีความพยายามร่วมกันในการส่งเสริมโครงการนิคมอุตสาหกรรมแกซอง (Gaeseong Industrial Complex- GIC)

อย่างไรก็ตาม การทดลองขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนและการค้าต่างประเทศชะงักงัน โดยเฉพาะผลกระทบจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1718 (2006) หากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้รับการแก้ไข รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางการเงินให้เป็นสากลมากขึ้น ก็อาจทำให้การลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

เมื่อ 2 สิงหาคม 2545 เกาหลีเหนือได้เริ่มทดลองมาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยลดการปันส่วนอาหาร และให้ประชาชนซื้ออาหารจากตลาดมากขึ้นแทน และเพิ่มค่าแรงเพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้ออาหารจากตลาดเอง รัฐบาลเกาหลีเหนือจะใช้ family production system ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งคล้ายกับระบบที่จีนใช้เมื่อเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดการซื้อธัญญพืชสำหรับการปันส่วนของรัฐ และจะปล่อยให้เกษตรกรสามารถขายพืชผลได้เองมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดค่าเงินของเกาหลีเหนือจาก 2.2 วอนต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เป็น 200 วอนต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ระบบตลาดต่อไปในอนาคต

การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือมีความคืบหน้าที่ดีขึ้น ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเกาหลีเหนือสามารถรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปได้ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงการจัดสรรอุปทานพลังงานเพื่อรองรับความต้องการได้ดีขึ้น มีความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้นทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2546 ภาคเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4.156 ล้านตันจากความต้องการบริโภค 5.1 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,390 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 11 ปี

ปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ให้อิสระมากขึ้นแก่ประชาชน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทต่างๆ ในการเลือกประกอบอาชีพ การบริหารจัดการ การจัดทำข้อตกลงการค้าได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเพิ่มอีกกว่า 300 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบเศรษฐกิจการตลาด ในขณะที่สตรีเกาหลีเหนือก็เข้าไปมีบทบาทในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย

ล่าสุด จากการประชุมสภาประชาชนสูงสุด เมื่อ 11 เมษายน 2549 นโยบายทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี อันเป็นยุทธศาสตร์ของเกาหลีเหนือในการเพิ่มความสามารถในการผลิตและเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้ตามหลักจูเช่ และเชื่อว่าเกาหลีเหนือจะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา เกาหลีเหนือประกาศว่าการสร้าง ”ประเทศที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง” (Kangsong Taeguk-) จะต้องตั้งอยู่บนเสาหลักสำคัญ 3 ประการคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุดมการณ์ และการทหาร

[แก้] การเกษตร

เกาหลีเหนือจัดพื้นที่การเกษตรเป็นคอมมูนเช่นเดียวกับจีน และมอบพื้นที่ขนาดเล็กใกล้คอมมูนให้เป็นแปลงเกษตรส่วนตัว ผลผลิตทางการเกษตรของเกาหลีเหนือ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี โค และสัตว์ปีก แต่เกือบทุกชนิดไม่พอเลี้ยงประชากรในประเทศ ส่วนใหญ่จึงต้องสั่งเข้าจากอดีตสหภาพโซเวียต

[แก้] การทำเหมืองแร่

เกาหลีเหนืออุดมสมบูรณ์ไปด้วยถ่านหิน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ส่งเป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้ประเทศอันดับหนึ่งนอกจากนี้ยังมี ตะกั่ว สังกะสี และเหล็ก

[แก้] อุตสาหกรรม

เกาหลีเหนือมีอุตสาหกรรมหนักอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องจักรกล เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ และปุ๋ย

เกาหลีเหนือสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 20 ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศเท่านั้น ภาวะการขาดแคลนพลังงานของเกาหลีเหนือ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตได้เพียงร้อยละ 20 ของความสามารถในการผลิต ทั้งนี้ มีรายงานว่าระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งของเกาหลีเหนืออยู่ในสภาพย่ำแย่ ซึ่งหากสภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไป อาจส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเกาหลีเหนือล่มสลายได้ และนำไปสู่การอพยพของชาวเกาหลีเหนือไปสู่จีนและเกาหลีใต้

[แก้] ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับเกาหลีเหนือ

[แก้] ภูมิหลังการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต

การทูตระหว่างไทยและเกาหลีเหนือเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2515 จากการแลกเปลี่ยนการติดต่อในด้านการค้าและกีฬาอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ทางเกาหลีเหนือได้แสดงความสนใจที่จะขอเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ประเทศไทยและเกาหลีเหนือได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน และมีการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกันในเวลาต่อมา โดยเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำสหภาพพม่าในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงเปียงยาง

ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 เกาหลีเหนือได้ยกระดับสำนักงานผู้แทนการค้าของเกาหลีเหนือในกรุงเทพมหานคร (ที่ตั้งขึ้นเมื่อ 25 ธ.ค. 2522) เป็นสถานเอกอัครทูต แต่ทางการไทยยังไม่ได้เปิดสถานทูต ณ กรุงเปียงยาง โดยขณะนี้สถานเอกอัครทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง เป็นผู้ดูแล

[แก้] การแลกเปลี่ยนการเยือน

นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันแล้ว ทั้ง 2 ประเทศได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือน ระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้

การเยือนที่สำคัญจากฝ่ายเกาหลีเหนือมาประเทศไทย ได้แก่

  • กุมภาพันธ์ 2525 นายลี จอง อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • ตุลาคม 2531 นายคิม ยง นาม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • 13 - 17 ธันวาคม 2537 นายคิม ยง นาม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • ปลาย มกราคม 2534 นาย ยน ฮยุง มุก นรม. เกาหลีเหนือ
  • ต้น พฤศจิกายน 2536 นาย ชัน ชอล รองนรม.และรมว.ศึกษา ศิลปและวัฒนธรรม ระหว่าง 5 - 9 ก.พ. 2538 นาย ลี ซง แด ประธานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจระหว่างประเทศมาเยือนประเทศไทย
  • 24 ก.ค. 2538 นาย ชเว ยู จิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเยือนประเทศไทย เมื่อปลาย ส.ค. 2541 นาย ปาร์ค ซง ชอล รองประธานาธิบดีมาแวะผ่านประเทศประเทศไทย ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี และรองประธานสภา ระหว่าง 25 - 29 ก.ค. 2543 นาย แพก นัม ซอน รมว.กต.ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ และเข้าร่วมการประชุม ARF ครั้งที่ 7
  • 29 ต.ค. – 2 พ.ย. 2543 นาย โช แท บก ประธานสมัชชาประชาชนสูงสุด

เกาหลีเหนือ (ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าประธานสภาผู้แทนราษฎร) ได้เดินทางเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐสภา

  • 28 เม.ย. - 2 พ.ค.2544 นาย ลี รยอง นัม รมช.การค้า มาเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • 4 - 8 ธ.ค. 2544 นาย ลี กวัง กัน รัฐมนตรีว่าการการค้าต่างประเทศเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และได้ลงนามข้อตกลงซื้อข้า[ประเทศไทย 300,000 ตันด้วยเงินเชื่อ 2 ปี เรื่อง Account Trade และการขยายความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน (เมื่อ 29 ม.ค. 2545 ครม. มีมติเห็นชอบการขายข้าวดังกล่าว)
  • 28 ก.พ. – 3 มี.ค. 2545 นายคิม ยอง นาม นำคณะเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล โดยมี พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีให้การต้อนรับที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ และในวันที่ 1 มีนาคม 2545 มีการหารือสองฝ่ายเต็มคณะ และพิธีลงนามความตกลง 3 ฉบับ คือ ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ความตกลงทางวัฒนธรรม และความตกลงแลกเปลี่ยนข่าวสารและความร่วมมือระหว่างสำนักข่าวประเทศไทย และสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ
  • 22 - 29 มิ.ย. 2545 นาย ลี กวัง กัน รัฐมนตรีว่าการการค้าต่างประเทศเยือนประเทศไทย เพื่อขอเจรจาการแสดงความจริงใจในการค้าข้าวระหว่างประเทศไทยกับเกาหลีเหนือ
  • 28 - 31 ม.ค. 2546 นาย ลี กอม บอม รัฐมนตรีว่าการไปรษณีย์และโทรคมนาคม เยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • 16 - 19 ก.ย. 2546 นาย ลี จู กวัน อธิบดีกรมสารนิเทศ กต.เกาหลีเหนือ เยือนประเทศไทยตามโครงการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่กรมสารนิเทศ กต.ของสองประเทศ
  • 26 มิ.ย. - 1 ก.ค. 2547 นาย ลิม คยง มัน รัฐมนตรีว่าการการค้าต่างประเทศเกาหลีเหนือเดินทางเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงพาณิชย์
  • 3 - 5 ส.ค. 2547 นายคิม ยง อิล Vice Minister กต. เกาหลีเหนือ เยือนประเทศไทยในฐานะแขก กต.
  • 24 - 28 ก.ค. 2548 นาย แพก นัม ซอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

การเยือนที่สำคัญจากฝ่ายประเทศไทย ได้แก่

[แก้] ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน

- กลไกความสัมพันธ์ทวิภาคีได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (Joint Trade Commission:JTC) รมว.พณ.ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน

- การลงทุนประเทศไทยในเกาหลีเหนือ บริษัท ล็อกซเลย์ จำกัด มหาชน (Loxley Public Co.,Ltd) ลงทุนด้านกิจการโทรคมนาคม

- การค้าประเทศไทยกับเกาหลีเหนือ ประเทศไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ ในปี 2548 มีมูลค่า 13,695.9 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการนำเข้า 5,357.2 ล้านบาท มูลค่าการส่งออก 8,338.7 ล้านบาท

- สินค้านำเข้าจากประเทศไทยได้แก่ หลอดไฟฟ้า ยางพารา แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง ฯลฯ

- สินค้าส่งออกมาประเทศไทย ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ฯลฯ

[แก้] ความตกลงการบิน

เมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 ประเทศไทยและเกาหลีเหนือได้ทำความตกลงการบินระหว่างกัน โดยสายการบิน Air Koryo ของเกาหลีเหนือ ได้เริ่มทำการบินจากกรุงเปียงยางมาประเทศไทยแล้วระยะหนึ่ง (เที่ยวบินปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2536) และได้ระงับเที่ยวบินไว้ระยะหนึ่ง เพราะมีผู้โดยสารน้อย โดยเกาหลีเหนืออ้างว่าสาเหตุที่ไม่มีผู้โดยสารเพราะปัญหาความไม่สะดวกเกี่ยวกับการขอรับการตรวจลงตราให้แก่ชาวเกาหลีเหนือที่เดินทางมาประเทศไทย ซึ่งไม่สามารถรับการตรวจลงตราที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ ได้ แต่ยังต้องไปขอรับการตรวจลงตราที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ที่ผ่านมา เกาหลีเหนือได้เปิดเส้นทางบินไปกลับ เปียงยาง - มาเก๊า - กรุงเทพฯ โดยบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยว เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 ได้ขยายเป็นสัปดาห์ละ 2 เที่ยว แต่ต่อมาได้ลดลงเป็นสัปดาห์ละ 1 เที่ยวเหมือนเดิม เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารมีไม่มากพอ ปัจจุบันเนื่องจากมีผู้โดยสารน้อยมาก สายการบิน Air Koryo จึงทำการบินเส้นทางเปียงยาง - กรุงเทพฯ - เปียงยาง เพียงเดือนละ 1 เที่ยวเท่านั้น

[แก้] ความร่วมมือทางทหาร

ประเทศไทยและเกาหลีเหนือยังไม่มีความร่วมมือทางทหารที่เป็นทางการระหว่างกันแต่อย่างใด แต่ทั้งสองฝ่ายก็มีการติดต่อระหว่างกัน โดยนาย Oh Jin-U รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีเหนือมาเยือนประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 และเมื่อระหว่างวันที่ 18 - 21 สิงหาคม 2536 พล.อ. วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศไทยก็ได้ไปเยือนเกาหลีเหนือ

ฝ่ายเกาหลีเหนือได้เคยทาบทามขอแต่งตั้งผู้ช่วยทูตทหารเกาหลีเหนือประจำประเทศประเทศไทย และเสนอให้ทางไทยพิจารณาแต่งตั้งให้ผู้ช่วยทูตทหารประจำกรุงปักกิ่ง มีเขตอาณาปกคลุมถึงเกาหลีเหนือด้วย ซึ่งกระทรวงกลาโหมกำลังพิจารณาข้อเสนอของเกาหลีเหนือ

[แก้] ด้านวัฒนธรรม

ประเทศไทย และเกาหลีเหนือมีการแลกเปลี่ยนการติดต่อและการดำเนินกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน โครงการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชน กีฬา นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกระทรวงการต่างประเทศประเทศไทย - เกาหลีเหนือ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้น

อนึ่ง เกาหลีเหนือได้เคยทาบทามขอทำความตกลงด้านวัฒนธรรมกับประเทศไทยในปี 2532 และปี 2534 แต่ประเทศไทยไม่ได้ตอบสนอง ล่าสุด เมื่อนายคิม ยอง นาม ประธานสภาบริหารสูงสุดกำหนดเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีระหว่าง 28 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2545 ฝ่ายเกาหลีเหนือได้เสนอร่างความตกลงฯ อีกครั้ง และประเทศไทยตอบรับ และมีการลงนามความตกลงใน 1 มีนาคม 2545

ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2548 ประเทศไทยและเกาหลีเหนือได้เห็นชอบให้มีการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางวัฒนธรรม โดยเกาหลีเหนือเสนอจะให้มีการแลกเปลี่ยนการแสดงของคณะนาฏศิลป์

[แก้] ความร่วมมือทางวิชาการ

ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่เกาหลีเหนือภายใต้การดำเนินงานของกรมวิเทศสหการ โดยเมื่อปี 2539 เกาหลีเหนือได้จัดส่งคณะผู้แทนเข้าหารือกับผู้แทนกรมวิเทศสหการเพื่อแสดงความประสงค์ในการที่จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในโครงการหลักสูตรฝึกอบรมประจำปี ซึ่งรัฐบาลไทยได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการค้าระหว่างประเทศ การคลัง การลงทุน และการขนส่ง โดยการเข้าร่วมการฝึกอบรมดังกล่าวของเกาหลีเหนืออยู่ในรูปแบบของความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation among Developing Countries- TCDC) ซึ่งรัฐบาลของประเทศผู้ขอรับการฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างประเทศ และรัฐบาลของประเทศผู้จัดการฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศทั้งหมด พร้อมกันนี้ เกาหลีเหนือยังได้เสนอที่จะให้ประเทศไทยจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมที่เกาหลีเหนือจัด ซึ่งเกาหลีเหนือมีศักยภาพ เช่น สาขาเหมืองแร่ และนิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งในปี 2541 คณะผู้แทนกรมวิเทศสหการได้เดินทางไปหารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับเกาหลีเหนือที่กรุงเปียงยาง ตามคำเชิญของรัฐบาลเกาหลีเหนือ โดยฝ่ายประเทศไทยได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือทางวิชาการ ดังนี้ ทุนฝึกอบรม/ดูงานระยะสั้นทางด้านวิทยาศาสตร์และการเกษตรฯ การเชิญเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือเยือนประเทศไทย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น นอกจากนี้ กรมวิเทศสหการยังได้จัดสรรการให้ความร่วมมือในกรอบการฝึกอบรมประเทศที่สาม (Third Country Training Program) โดยร่วมมือกับ WHO ในการจัดการฝึกอบรม/ดูงานด้านสาธารณสุขให้แก่เกาหลีเหนือปีละประมาณ 15-18 หลักสูตรด้วย

[แก้] ประชากร

[แก้] เชื้อชาติ

ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลี แต่ก็มีชาวชาวจีน 162,000 คน ชาวมองโกล 6,900 คน ชาวอังกฤษ 5,500 คน ชาวฝรั่งเศส 5,000 คน ชาวรัสเซีย 4,600 คนและชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่

[แก้] ศาสนา

พระพุทธรูปแกะสลักบนภูเขาคุมกัง

ในอดีตดินแดนเกาหลีเหนืออบอวลไปด้วยวัฒนธรรมของศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื๊อ แม้ภายหลังจะมีการเข้ามาของศาสนาอื่นอย่างศาสนาคริสต์ และลัทธิชอนโดเกียว แต่ทุกศาสนาจะต้องได้รับการอนุญาตก่อน[25] ส่วนใหญ่ประชากรของเกาหลีเหนือจะยินดีที่จะไม่นับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่ศาสนาจะถูกให้นิยามอยู่เสมอว่าเป็นอคติต่อสังคม[26] และวัฒนธรรมทางศาสนาดั้งเดิมอย่างศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื๊อจึงได้รับผลกระทบจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของชาวเกาหลีเหนือ[27][28][29]

แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ที่นับถือศาสนาพุทธในเกาหลีเหนือได้รับการจัดการที่ดีกว่ากลุ่มที่นับถือศาสนาอื่นในประเทศ โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ที่มักจะถูกรังแกโดยทางการ ในขณะที่ศาสนาพุทธได้รับทุนจากรัฐบาลไปส่งเสริมศาสนา เนื่องจากศาสนาพุทธมีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมของเกาหลีเป็นอย่างมาก[30]

จากการเฝ้าดูขององค์กรสิทธิมนุษยชน พบว่าเกาหลีเหนือได้ให้อิสระต่อกิจกรรมทางศาสนา ขณะที่รัฐบาลจะอุปถัมภ์กลุ่มศาสนาเท่านั้น สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอิสระการนับถือศาสนาของเกาหลีเหนือ[31]มีการประมาณการกลุ่มผู้นับถือศาสนาต่างๆจากหน่วยข่าวกรองตามสภาพของเกาหลีเหนือในปัจจุบันดังนี้[32]

ในกรุงเปียงยาง ถือเป็นศูนย์กลางกิจกรรมทางศาสนาคริสต์ของเกาหลีเหนือก่อนสงครามเกาหลี ปัจจุบันมีโบสถ์เพียงสี่โบสถ์ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดทำศาสนกิจได้ เพื่อเป็นจุดเด่นแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นเท่านั้น[33][34] ตัวเลขอย่างเป็นทางการของชาวคริสต์ในเกาหลีเหนือ ได้แก่ นิกายโปรเตสแตนต์มีจำนวนมากที่สุด 10,000 รองลงมาคือนิกายโรมันคาทอลิก 4,000 คน[35]

ตามที่องค์กร Open Door ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวคริสต์ ได้ให้ข้อมูลว่าทางการเกาหลีเหนือได้ทำการกลั่นแกล้งชาวคริสต์มากจนน่าแปลก[36] องค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เช่น องค์กรนิรโทษกรรมสากล ได้พุ่งความสนใจเกี่ยวกับการก่อกวนทางศาสนาในเกาหลีเหนือ[37]

[แก้] วัฒนธรรม

เดิมเกาหลีเหนือสมัยอาณาจักรนั้นได้ติดต่อกับจีน และญี่ปุ่น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองชีวิตความเป็นอยู่ของผู้หญิงคือ จะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ช่วยเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว ทั้งนี้เพราะมาจากอิทธิพลจากส่วนอื่นโลก

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ เกาหลีเหนือได้ยกเลิกระบบประธานาธิบดี และตั้งให้คิม อิลซอง (เสียชีวิต พ.ศ. 2537) เป็นประธานาธิบดีตลอดกาลใน พ.ศ. 2541 ตำแหน่งสูงสุดของเกาหลีเหนือในปัจจุบันคือ ตำแหน่งประธานกรรมาธิการป้องกันประเทศ
  2. ^ (เกาหลี) UNFPA (2009-10-01). 한반도 인구 7천400만명 시대 임박. United Nations. http://news.joins.com/article/686/4109686.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-04-14. [ลิงก์เสีย]
  3. ^ "DPR Korea 2008 Population Census National Report". Pyongyang: DPRK Central Bureau of Statistics. 2009. http://unstats.un.org/unsd/demographic/sources/census/2010_PHC/North_Korea/Final%20national%20census%20report.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ 2011-02-19. 
  4. ^ "Country Profile: North Korea". Foreign and Commonwealth Office, UK. 2009-06-25. http://www.fco.gov.uk/en/travel-and-living-abroad/travel-advice-by-country/country-profile/asia-oceania/north-korea?profile=economy. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-02-10. 
  5. ^ 5.0 5.1 "Korea, North". The World Factbook. 2009. https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/kn.html#Econ. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-05-17. 
  6. ^ GDP (official exchange rate), The World Factbook, Central Intelligence Agency, last updated on April 26, 2010; accessed on May 17, 2010. Population data obtained from Total Midyear Population, U.S. Census Bureau, International Data Base, accessed on May 17, 2010. Note: Per capita values were obtained by dividing the GDP (official exchange rate) data by the Population data.
  7. ^ "U.S.: N. Korea Boosting Guerrilla War Capabilities", FOX News Network, LLC, 2009-06-23. สืบค้นวันที่ 2009-07-04
  8. ^ Sanger, David E.. "North Korea Reluctantly Seeks U.N. Seat", The New York Times Company, 1991-05-29. สืบค้นวันที่ 2009-07-04
  9. ^ Spencer, Richard. "North Korea power struggle looms", The Telegraph (online version of UK national newspaper), 2007-08-28. สืบค้นวันที่ 2007-10-31
    Parry, Richard Lloyd. "North Korea's nuclear 'deal' leaves Japan feeling nervous", The Times (online version of UK's national newspaper of record), 2007-09-05. สืบค้นวันที่ 2007-10-31
    Walsh, Lynn (2003-02-08). "The Korean crisis". CWI online: Socialism Today, February 2003 edition, journal of the Socialist Party, CWI England and Wales. socialistworld.net, website of the committee for a worker’s international. http://socialistworld.net/eng/2003/02/08korea.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-10-31. "Kim Jong-il's regime needs economic concessions to avoid collapse, and just as crucially needs an end to the strategic siege imposed by the US since the end of the Korean war (1950–53). Pyongyang's nuclear brinkmanship, though potentially dangerous, is driven by fear rather than by militaristic ambition. The rotten Stalinist dictatorship faces the prospect of an implosion. Since the collapse of the Soviet Union, which deprived North Korea of vital economic support, the regime has consistently attempted to secure from the US a non-aggression pact, recognition of its sovereignty, and economic assistance. The US's equally consistent refusal to enter into direct negotiations with North Korea, effectively ruling out a peace treaty to formally close the 1950–53 Korean war, has encouraged the regime to resort to nuclear blackmail." 
    Oakley, Corey (October 2006). "US is threat to peace not North Korea". Edition 109 - October–November 2006. Socialist Alternative website in Australia. http://www.sa.org.au/index.php?option=com_content&task=view&id=333&Itemid=106. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-10-31. "In this context, the constant attempts by the Western press to paint Kim Jong-il as simply a raving lunatic look, well, mad. There is no denying that the regime he presides over is a nasty Stalinist dictatorship that brutally oppresses its own population. But in the face of constant threats from the US, Pyongyang's actions have a definite rationality from the regime's point of view." [ลิงก์เสีย]
  10. ^ 10.0 10.1 Brooke, James. "North Korea Says It Is Using Plutonium to Make A-Bombs", The New York Times, 2003-10-02. สืบค้นวันที่ 2007-10-31
  11. ^ 11.0 11.1 Buruma, Ian. "Leader Article: Let The Music Play On", The Times of India. สืบค้นวันที่ 2008-03-27
  12. ^ Finn, Peter. "U.S. to Weigh Returning North Korea to Terror List", Washington Post, 2009-06-08. สืบค้นวันที่ 2009-06-19
  13. ^ "Constitution of North Korea (1972)". 1972. http://en.wikisource.org/wiki/Constitution_of_North_Korea_(1972). เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-05-07. 
  14. ^ Martin, Bradley K. (2004). Under the Loving Care of the Fatherly Leader: North Korea and the Kim Dynasty. New York, NY: Thomas Dunne Books. p. 111. ISBN 0-312-32322-0. "Although it was in that 1955 speech that Kim gave full voice to his arguments for juche, he had been talking along similar lines as early as 1948." 
  15. ^ Lee, May. "Famine may have killed 2 million in North Korea", CNN, 1998-08-19. สืบค้นวันที่ 2007-08-01
  16. ^ "North Korea’s Military Strategy"[ลิงก์เสีย], Parameters, US Army War College Quarterly, 2003.
  17. ^ "Freedom in the World, 2006". Freedom House. http://freedomhouse.org/template.cfm?page=22&year=2006&country=6993. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-02-13. "Citizens of North Korea cannot change their government democratically. North Korea is a totalitarian dictatorship and one of the most restrictive countries in the world." 
  18. ^ "Economist Intelligence Unit democracy index 2006" (PDF), Economist Intelligence Unit. สืบค้นวันที่ 2007-10-09 North Korea ranked in last place (167)
  19. ^ "A portrait of North Korea's new rich", The Economist, 2008-05-29. สืบค้นวันที่ 2009-06-18
  20. ^ "Human Rights in North Korea". hrw.org. Human Rights Watch. 2009-02-17. http://www.hrw.org/en/news/2009/02/17/human-rights-north-korea. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-12-13. 
  21. ^ "DPRK FAQ", Korean Friendship Association, 2011-11-22. สืบค้นวันที่ 2011-11-24
  22. ^ "Armed forces: Armied to the hilt", The Economist, 2011-07-19. สืบค้นวันที่ 2011-07-28
  23. ^ Anthony H. Cordesman (2011-07-21). The Korean Military Balance. Center for Strategic & International Studies. ISBN 978-0-89206-632-2. http://csis.org/files/publication/110712_Cordesman_KoreaMilBalance_WEB.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ 2011-07-28. "The DPRK is one of the most militarized countries in the world. It has extraordinarily large anti-aircraft holdings, nearly twice the artillery strength of the ROK, as well as a major advantage in self-propelled artillery and a massive lead in multiple rocket launchers." 
  24. ^ International Space Dominance: 7 Nations Launching the Next Space Race, Popular Mechanics, October 1, 2009
  25. ^ "DPRK's Socialist Constitution (Full Text)". The People's Korea. 1998. http://www1.korea-np.co.jp/pk/061st_issue/98091708.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-07-04. ; see Chapter 5, Article 68
  26. ^ Nash, Amy (2008). "Korean Americans - Overview, Early history, Modern era, The first koreans in america, Significant immigration waves". Multicultural America. Advameg Inc.. http://www.everyculture.com/multi/Ha-La/Korean-Americans.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-07-04. 
  27. ^ "Culture of North Korea - Alternative name, History and ethnic relations". Countries and Their Cultures. Advameg Inc.. http://www.everyculture.com/Ja-Ma/North-Korea.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-07-04. 
  28. ^ CIA The World Factbook -- North Korea
  29. ^ "Background Note: North Korea". U.S. State Department. 2009-2. http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/2792.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-07-04. 
  30. ^ "Buddhist Temple Being Restored in N. Korea", Los Angeles Times, October 2, 2005
  31. ^ "Human Rights in North Korea". Human Rights Watch. July 2004. http://hrw.org/english/docs/2004/07/08/nkorea9040.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-08-02. 
  32. ^ "Religious Intelligence UK report". Religious Intelligence. Religious Intelligence. http://www.religiousintelligence.co.uk/country/?CountryID=37. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-07-04. 
  33. ^ United States Commission on International Religious Freedom (2004-09-21). "Annual Report of the United States Commission on International Religious Freedom". Nautilus Institute. http://www.nautilus.org/fora/security/0434A_ReligionI.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-08-02. 
  34. ^ "N Korea stages Mass for Pope". BBC News. 2005-04-10. http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/4431321.stm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-08-02. 
  35. ^ "North Korean Religion". Windows on Asia. http://www.asia.msu.edu/eastasia/NorthKorea/religion.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-08-02. 
  36. ^ "Open Doors International : WWL: Focus on the Top Ten". Open Doors International. Open Doors (International). http://sb.od.org/index.php?supp_page=wwl_top_ten&supp_lang=en. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-07-04. 
  37. ^ "Korea Report 2002". Amnesty International. 2001. http://web.amnesty.org/web/ar2002.nsf/asa/democratic+people's+republic+of+korea. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-08-02. 

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

คุณสามารถหาข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ ประเทศเกาหลีเหนือ ได้โดยค้นหาจากโครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย:
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-en.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น