ประเทศอิรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอิรัก
جمهورية العراق (อาหรับ)
كؤماری عێراق (เคิร์ด)
ธงชาติ
คำขวัญอาหรับ: الله أكبر
(อัลเลาะห์ อัคบาร์)
("พระผู้เป็นเจ้าคือผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด")
เพลงชาติMawtini (ใหม่) ;
Ardh Alforatain (เก่า)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
แบกแดด
33°20′N 44°26′E / 33.333°N 44.433°E / 33.333; 44.433
ภาษาทางการ ภาษาอาหรับและภาษาเคิร์ด
การปกครอง สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี ญะลาล ฏอละบานี
 -  นายกรัฐมนตรี นูรี อัลมาลิกี
ได้รับเอกราช
 -  จากจักรวรรดิออตโตมาน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2462 
 -  จากสหราชอาณาจักร 3 ตุลาคม พ.ศ. 2475 
พื้นที่
 -  รวม 437,072 ตร.กม. (58)
168,754 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 1.1%
ประชากร
 -  2548 (ประเมิน) 26,074,906 (45)
 -  ความหนาแน่น 59 คน/ตร.กม. (112)
153 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 89.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (58)
 -  ต่อหัว 3,500 ดอลลาร์สหรัฐ (122)
สกุลเงิน ดีนาร์อิรัก (IQD)
เขตเวลา (UTC+3)
 -  (DST)  (UTC+4)
โดเมนบนสุด .iq
รหัสโทรศัพท์ 964

อิรัก (อาหรับ: العراق‎; เคิร์ด: عێراق) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (อาหรับ: جمهورية العراق‎; เคิร์ด: كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใหญ่ของเมโสโปเตเมีย จุดสิ้นสุดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาแซกรอส และทิศตะวันออกของทะเลทรายซีเรีย

อิรักมีพรมแดนร่วมกับซาอุดีอาระเบียและคูเวตทางทิศใต้ ติดต่อกับตุรกีทางทิศเหนือ ติดต่อกับซีเรียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับจอร์แดนทางทิศตะวันตก และติดต่อกับอิหร่านทางทิศตะวันออก

อิรักได้จัดตั้งคณะผู้นำปัจจุบันเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547 หลังจากการบุกเข้าอิรักเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 นำโดยกองทัพสหรัฐฯ และอังกฤษเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนลงจากอำนาจ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

  • พ.ศ. 2281 - ตกอยู่ใต้อาณาจักรออตโตมัน
  • พ.ศ. 2465 - ตกอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ
  • พ.ศ. 2475 - สิ้นสุดการเป็นรัฐในอาณัติของอังกฤษ เข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติ
  • พ.ศ. 2501 - เปลี่ยนระบบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นสาธารณรัฐ
  • พ.ศ. 2511 - เริ่มต้นการปกครองโดยพรรคบาธ โดยมีประธานาธิบดี Ahmad Masan Al Bakr และรองประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein)
  • พ.ศ. 2522 - ซัดดัม ฮุสเซน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
  • พ.ศ. 2523-2531 -สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน (สงครามอ่าวครั้งที่ 1)
  • พ.ศ. 2533 - เข้ายึดครองคูเวต(สงครามอ่าวครั้งที่ 2)
  • พ.ศ. 2533 - ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยสหประชาชาติ

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศอิรักแบ่งออกเป็น 18 จังหวัด (governorates/provinces, อาหรับ: muhafazat, เคิร์ด: Pârizgah)

  1. แบกแดด
  2. ซอลาฮัดดีน
  3. ดิยาลา
  4. วาซิต
  5. ไมซาน
  6. อัลบัสเราะห์
  7. ซีกอร์
  8. อัลมุซันนา
  9. อัลกอดิซียะห์
  1. บาบิล
  2. การ์บะลา
  3. อันนะจัฟ
  4. อัลอันบาร์
  5. นีนะวา
  6. ดะฮูก
  7. อาร์บีล
  8. อัตตามีม (กีร์กูก)
  9. อัสซุไลมานียะห์
แผนที่แสดงจังหวัดของประเทศอิรัก

เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Autonomous Region) ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ มีพื้นที่รวมบางส่วนของจังหวัดทางเหนือ และปกครองตนเองในเรื่องราชการภายในส่วนใหญ่

[แก้] ภูมิศาสตร์

แผนที่ประเทศอิรัก

อิรักมีพื้นที่ทั้งหมด 437,072 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับ อิหร่าน ทิศเหนือ ติดกับตุรกี ทิศใต้ติดกับคูเวต ทิศตะวันตกติดกับ ซีเรีย และจอร์แดน สภาพทางภูมิศาสตร์ของอิรัก เป็นทะเลทรายร้อยละ 40 ที่ราบสูง ยากแต่การทำการเกษตรทำให้อิรักต้องนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ธัญพืช แต่อย่างไรก็ดี อิรักก็มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ ไทรกิส ยูเฟรตีส ทำให้ยังพอมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้าง

[แก้] เศรษฐกิจ

ระบอบเศรษฐกิจของอิรักเป็นแบบ สังคมนิยม รวมอำนาจไว้ที่ศุนย์กลาง นั่นคือรัฐบาลกลางของอิรัก มีระบบรัฐสวัสดิการมีการแจก ข้าว น้ำตาล ยารักษาโรคบางชนิด นม เสื้อผ้า ให้แก่ประชากรของอิรัก เศรษฐกิจของอิรักค่อนข้างถูกกดดันจากประชาคมโลกโดยเฉพาะในช่วง วิกฤติการณ์อ่าวเปอร์เซีย สงครามอิรัก และ ช่วงเหตุการณ์ 9/11 ทำให้เศรษฐกิจของอิรักบอบช้ำ แต่ยุทธปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอิรักคือ น้ำมัน อิรักเป็นประเทศที่มีน้ำมันไว้ในครอบครองเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดีอารเบีย โดยผลิตได้วันละ 2.58 ล้านบาห์เรล ต่อวัน ส่งผลให้อิรักกลายเป็นดินแดนที่น่าสนใจอย่างยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจน้ำมันจากสหรัฐอเมริกา ที่มุ่งหวังเข้าไปกอบโกยทรัพยากรล้ำค่า อย่าง ทองคำดำในอิรัก

[แก้] ประชากร

เด็กๆ ชาวเคอร์ดิสในอิรัก

สังคมของอิรักเป็นสังคมหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นเหตุมาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมมาหลายพันปี พลเมืองของอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ มุสลิมชีอะห์(ร้อยละ 65) และ มุสลิมสุหนี่ (ร้อยละ 20) นอกจากนี้ยังมีชาวเคิร์ด อยู่ในบริเวณเคอร์ดิสถาน ชาวเคริ์ดในอริรักมีอยู่ประมาณ 3,700,000 คน นับว่าเป็นคนส่วนน้อยในอิรัก และเนื่องด้วยรูปแบบการปกครองที่ให้สิทธิของชนชาติอาหรับ และผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับมุสลิมสุหนี่ ส่งผลให้ กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนา และชาติพันธุ์ในอิรัก ทั้งกับมุสลิมด้วยกันเองคือ สุหนี่และชีอะห์ และ ยังปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวคิร์ดกับรัฐบาลกลางของอิรัก เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมอีกด้วย

[แก้] วัฒนธรรม

(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

[แก้] ภาษา

ภาษาทางการของอิรัก คือ ภาษาอาหรับ และส่วนอื่นคือ ภาษาเคิร์ด

[แก้] ศาสนา

มัสยิดแห่งหนึ่งในอิรัก

ชาวอิรักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 97 % ศาสนาคริสต์ 3 %

[แก้] อ้างอิง

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น