สมเด็จพระอินทราชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระอินทราชา
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
ครองราชย์ พ.ศ. 1952
ระยะครองราชย์ 15 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระรามราชาธิราช
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ พ.ศ. 1902
สวรรคต พ.ศ. 1967
พระราชบิดา ไม่ปรากฏพระนาม
พระราชมารดา ไม่ปรากฏพระนาม
พระราชโอรส/ธิดา เจ้าอ้ายพระยา
เจ้ายี่พระยา
เจ้าสามพระยา
(สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2)
    

สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีนครินทราธิราช หรือ สมเด็จพระนครินทราธิราช เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. 1902 พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 และเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1952

เนื้อหา

[แก้] พระราชประวัติ

สมเด็จพระอินทราชา หรือ เจ้านครอินทร์ เป็นพระราชโอรสในเจ้าเมืองสุพรรณบุรีและเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 พระองค์ได้เสวยราชสมบัติอยู่ ณ เมืองสุพรรณบุรี จนกระทั่ง สมเด็จพระรามราชาธิราชเกิดข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี เป็นเหตุให้เจ้าพระยามหาเสนาบดีหนีมาขึ้นกับพระองค์และยกกำลังเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ แล้วจึงทูลเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา ส่วนสมเด็จพระรามราชาธิราชได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองเมืองปทาคูจามแทน

สมเด็จพระอินทราชาครองราชย์ได้ 15 ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 1967 ในครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาพระราชโอรสของพระองค์ต่างยกพลเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อหมายในราชสมบัติ จึงเกิดการชนช้างกันขึ้น ณ สะพานป่าถ่าน จนสิ้นพระชนม์ทั้ง 2 พระองค์ เป็นเหตุให้เจ้าสามพระยาพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา โดยมีพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2

[แก้] พระราชกรณียกิจ

[แก้] ด้านการปกครอง

เมื่อปี พ.ศ. 1962 พระมหาธรรมราชาธิราช (ที่ 3) เสด็จสวรรคต เมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจลอันเนื่องมาจากพระยาบาลเมืองและพระยารามพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 3 แย่งชิงราชสมบัติแห่งกรุงสุโขทัยกัน เป็นเหตุให้พระองค์ต้องเสด็จขึ้นไปถึงเมืองพระบาง แล้วทรงไกล่เกลี่ยให้พระยาบาลเมืองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยครองเมืองพิษณุโลกอันเป็นเมืองหลวงและให้พระยารามเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองเอก

นอกจากนี้ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสไปครองเมืองอันเป็นเมืองลูกหลวง ได้แก่

[แก้] ด้านการต่างประเทศ

เจ้านครอินทร์เคยเสด็จไปเมืองจีนในปี พ.ศ. 1920 เมื่อครั้งยังครองเมืองสุพรรณบุรี พระเจ้ากรุงจีนให้ความสนิทสนม อีกทั้งยังยกย่องว่าเป็นกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง โดยจดหมายเหตุทางจีนออกพระนามพระองค์ว่า "เจียวลกควนอิน" ซึ่งมาจากพระนาม เจ้านครอินทร์

เมื่อสมเด็จพระรามราชาธิราชเกิดข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี เป็นเหตุให้เจ้าพระยามหาเสนาบดีหนีมาขึ้นกับพระองค์และยกกำลังเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ แล้วจึงทูลเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้น พระองค์และพระเจ้ากรุงจีนได้แต่งราชทูตเพื่อเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างกันอีกหลายครั้ง โดยจดหมายเหตุจีนออกพระนามพระองค์หลังขึ้นครองราชสมบัติแล้วว่า "เจียวลกควนอินตอล่อทีล่า" ซึ่งมาจากพระนาม เจ้านครอินทราธิราช

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระอินทราชา สมัยถัดไป
สมเด็จพระรามราชาธิราช
(ราชวงศ์อู่ทอง)

(พ.ศ. 1938 - พ.ศ. 1952)
2leftarrow.png Seal of Ayutthaya (King Narai).png
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ)

(พ.ศ. 1952 - พ.ศ. 1967)
2rightarrow.png สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ)

(พ.ศ. 1967 - พ.ศ. 1991)


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น