สมเด็จพระเอกาทศรถ
สมเด็จพระเอกาทศรถ |
|
---|---|
พระปรมาภิไธย | สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3 |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์สุโขทัย |
ครองราชย์ | 25 เมษายน พ.ศ. 2148 - พ.ศ. 2153 |
ระยะครองราชย์ | 5 ปี |
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
รัชกาลถัดไป | สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
สวรรคต | พ.ศ. 2153 |
พระราชบิดา | สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช |
พระราชมารดา | พระวิสุทธิกษัตริย์ |
พระราชโอรส/ธิดา | 5 พระองค์ |
สมเด็จพระเอกาทศรถ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ขาว เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายในสมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระวิสุทธิกษัตรีย์ ทรงเป็นพระอนุชาของพระสุพรรณกัลยาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เนื้อหา |
[แก้] พระนามเต็ม
"พระศรีสรรเพชญ์ สมเด็จบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิ สวรรยาราชาธิบดินทร์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตร นาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวสัย สมุทัย ตโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทรา ธาดาธิบดีศรีวิบุลย คุณรุจิตรฤทธิราเมศวรธรรมิกราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิคตา มกุฎเทศมหาพุทธางกูร บรมบพิตร"
[แก้] ก่อนขึ้นครองราชสมบัติ
หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปีพ.ศ. 2127 สมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้เสด็จออกร่วมทำการรบคู่กับสมเด็จพระนเรศวร ได้โดยเสด็จในการทำศึกสงครามด้วยทุกครั้งนับแต่นั้นมาจนสิ้นรัชสมัยเสมอเหมือนพระเจ้าแผ่นดินและให้ประทับอยู่ที่พระราชวังจันทร์เกษมในกรุงศรีอยุธยา
[แก้] หลังขึ้นครองราชสมบัติ
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2148 พระองค์ก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร ในปีเดียวกันในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองเป็นปกติสุข เป็นที่เคารพยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นผลจากการที่สมเด็จพระนเรศวร และพระองค์เองได้ทรงสร้างอานุภาพ ของราชอาณาจักรอยุธยาไว้อย่างยิ่งใหญ่ มีพระราชอาณาเขตแผ่ออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลเกินกว่ายุคใดๆของไทย พระองค์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาทำศึกมาตลอดการครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวร จึงไม่มีพระราชประสงค์จะแผ่พระราชอาณาเขตออกไปอีก และหันมาเน้นทางการปกครองบ้านเมืองแทน
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีชาวต่างประเทศอาศัยในกรุงศรีอยุธยาอยู่มากจึงมีการยอมรับชาวต่างชาติเข้ามาเป็นทหาร เรียกว่า ทหารอาสา โดยได้จัดแบ่งออกเป็นพวก ๆ ตามเชื้อชาติ และตามความชำนาญในการรบ เกิดหน่วยทหารอาสาขึ้นหลายหน่วย เช่น กรมอาสาญี่ปุ่น กรมอาสาจาม กรมทหารแม่นปืน (โปรตุเกส) นอกจากนั้นในรัชสมัยของพระองค์ ยังมีชื่อเสียงในด้านความสามารถหล่อปืนใหญ่สำริดที่มีคุณภาพสูง ซึ่งน่าจะได้เรียนรู้มาจากโปรตุเกสและฮอลันดา เมื่อมาผสมผสานกับขีดความสามารถ ในด้านการหล่อโลหะของไทยที่มีการหล่อ ระฆังและพระพุทธรูป ที่มีมาแต่เดิม จึงทำให้การหล่อปืนใหญ่ของไทยในครั้งนั้นเป็นที่ยกย่องชมเชยไปถึงต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากการที่โชกุนของญี่ปุ่น ได้มีหนังสือชมเชยคุณสมบัติของปืนใหญ่ไทยเป็นอันมาก พร้อมกับขอให้ไทยช่วยหล่อปืนใหญ่ให้อีกด้วย (โชกุนของญี่ปุ่นในรัชสมัยของพระองค์คือโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ)
[แก้] พระราชโอรสและพระราชธิดา
ไม่ปรากฏว่าสมเด็จพระเอกาทศรถทรงมีพระราชธิดาแต่พระองค์ทรงมีพระราชโอรสเจ็ดองค์ดังนี้ (เรียงจากพระราชโอรสที่ประสูติเป็นองค์แรกไปยังพระราชโอรสที่ประสูติเป็นพระองค์สุดท้าย)
- เจ้าฟ้าสุทัศน์ ซึ่งดื่มยาพิษสิ้นพระชนม์
- เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็น "สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์" และครองราชย์หนึ่งปีก็ถูกทำราชประหาร
- พระศรีศิลป์ ซึ่งหนีราชภัยไปบวชและหลังจากนั้นทรงขึ้นครองราชย์โดยทรงมีพระนามใหม่ว่า "พระเจ้าทรงธรรม" "สมเด็จพระเชษฐาธิราช" ซึ่งทรงเป็นพระราชโอรสครองราชย์ต่อหนึ่งปีแปดเดือนก็ถูกทำราชประหาร
- เจ้าพลาย ซึ่งหนีราชภัยไปตั้งบ้านเรือนที่แขวงบางช้าง เมืองราชบุรี (ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2555) แขวงดังกล่าวคือจังหวัดสมุทรสงคราม) และทรงมีบุตรหลานเกี่ยวดองกันมากกับเจ้าแสน[ต้องการอ้างอิง]
- เจ้าแสน ซึ่งหนีราชภัยพร้อมกับเจ้าพลาย (ผู้ที่มีนามสกุลว่า "ชูโต"[ต้องการอ้างอิง] จากการสืบเชื้อสายโดยนับทางบิดาตลอดและผู้ที่มีนามสกุลว่า "ณ บางช้าง"[ต้องการอ้างอิง] จากการสืบเชื้อสายโดยนับทางบิดาตลอด เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายโดยนับทางบิดาตลอดจากเจ้าแสน)
- เจ้าไลย ซึ่งมีพระชนนีชื่อ "อออิน" หรือ "อิน" ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพบ (ปะ) พระชนนีในเจ้าไลยในอำเภอบางปะอิน[ต้องการอ้างอิง]) เจ้าไลยทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ซึ่งคือราชวงศ์ปราสาททองและทรงมีพระนามใหม่ว่า "สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง"
- พระศรีสุธรรมราชา ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็น "สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา" และครองราชย์ 2 เดือน 17 วัน ก็ถูกทำราชประหาร
[แก้] เสด็จสวรรคต
สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2153 และทรงอยู่ในราชสมบัติได้ 5 ปี สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่เจ็ดหรือพระราชโอรสองค์รองในพระมเหสีจึงได้เสวยราชสมบัติต่อ
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] ราชตระกูล
พระราชตระกูลในสมเด็จพระเอกาทศรถ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
|
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|||
|
สมเด็จพระเอกาทศรถ |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ | |||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
||||||||||||
|
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|||||||||
|
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
|
พระวิสุทธิกษัตรีย์ |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|||
|
สมเด็จพระสุริโยทัย |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
[แก้] อ้างอิง
- ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๙
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล. --กรุงเทพฯ : โฆษิต, 2549. ISBN 9749489993
- สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ไทยรบพม่า เล่ม 1. --กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2546. ISBN 9744085347
สมัยก่อนหน้า | สมเด็จพระเอกาทศรถ | สมัยถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์ไทย อาณาจักรอยุธยา (2148 - 2153) |
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ราชวงศ์สุโขทัย |
|
|