สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ขณะเสด็จพระราชดำเนินภายในงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553 |
|||||||||||||||||||||||||||
|
ศาสตราจารย์ ดร. พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์เล็กใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิตสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีพระธิดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
พระองค์ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา |
[แก้] การศึกษา
- ระดับชั้นเตรียมประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนจิตรลดา
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาเคมี) เกียรตินิยมอันดับ ๑ จากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทรงได้รับรางวัลเรียนดีตลอดระยะเวลา ๔ ปีการศึกษา และทรงได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาอินทรีย์เคมีด้วย
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาเคมีอินทรีย์) จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนยอดเยี่ยม เมื่อทรงมีพระดำริถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลจึงอนุมัติให้ทรงเข้าศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้โดยไม่ต้องผ่านมหาบัณฑิตก่อน ทรงศึกษาด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ใฝ่พระทัยในการศึกษาเล่าเรียนเป็นที่ยิ่ง ทั้งที่มีพระราชกิจในฐานะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ยังเสด็จพระดำเนินไปทรงพระอักษรร่วมกับพระสหายในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทรงงานในห้องแล็บด้วยพระองค์เองอย่างไม่ทรงท้อถอย แม้จะทรงแพ้สารเคมีก็ตาม โดยทรงทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "Part I: Constituents of Boesenbergia pandurata (yellow rhizome) (Zingiberaceae). Part II: Additions of lithio chloromethyl phenyl sulfoxide to aldimines and alpha,beta-unsaturated compounds" และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หลักสูตรแบบไม่มีหน่วยกิตรายวิชา)ในปีการศึกษา ๒๕๔๙ จากผลงานวิจัยเรื่อง "Molecular Genetic Studies and Preliminary Culture Experiments of Scallops Bivalve: Pectinidae) in Thailand"
- Doctor of Philosophy (Toxicology) จาก มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
- ระดับหลังปริญญาเอก (Post Doctoral) ณ มหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมัน เรื่อง Synthesis of Oligonucleotides Using Polymer Support and Their Applications in Genetic Engineering
[แก้] พระกรณียกิจ
[แก้] สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
ด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาความขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข และความเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ เรื่องการ ขาดแคลนบุคคลากรด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขโดยเฉพาะ ความต้องการการสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัยทางวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข จึงทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้น และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิจุฬาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย
ต่อมาทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนาบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งระดมสติปัญญาของนักวิชาการที่มีศักยภาพและวิทยาการที่ก้าวหน้า เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไป
ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๘
และจากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง ประกอบกับทรงพบว่าประชาชนชาวไทยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มในอัตราที่สูงมากขึ้น จึงทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค โดยมีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ
นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ(Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ ในระดับเซลล์เมตาบอลิสม์ ที่สามารถให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคได้ดีกว่าการตรวจอย่างอื่น ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือ ฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ
นอกจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทรงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว พระองค์ยังทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรวมไปถึงงานส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรีไทยอีกด้วย
การเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ทรงมีภารกิจมากกว่าคนสามัญทั่วไป แต่พระองค์ก็ทรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆให้สำเร็จด้วยดี และที่สำคัญงานทั้งหมดของพระองค์ล้วนเป็นผลจากความมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อมวลมนุษยชาติ ความรัก ความยกย่อง และความศรัทธาที่พสกนิกรมีต่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จึงเกิดขึ้นด้วยพระกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์ด้วย พระเมตตาธรรมและพระจริยาวัตร อันงดงามของพระองค์โดยแท้
[แก้] มูลนิธิ หน่วยงาน และโครงการในพระอุปถัมภ์
- มูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก
- โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร
- โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
- สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
- สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย [1]
[แก้] พระเกียรติยศ
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. ๒๕๑๗ เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ฝ่ายใน (ม.จ.ก.)[2]
- พ.ศ. ๒๕๓๖ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)[3]
- พ.ศ. ๒๕๑๘ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน (ป.จ.) [4]
- พ.ศ. ๒๕๒๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) [5]
- พ.ศ. ๒๕๒๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม) [6]
- พ.ศ. ๒๕๓๘ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[7]
- พ.ศ. ๒๕๕๐ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[8]
- พ.ศ. ๒๕๐๘ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๑ (ภ.ป.ร.๑)
- พ.ศ. ๒๕๑๘ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑ (ส.ช.๑) [9]
- พ.ศ. ๒๕๔๙ เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. ๒๕๒๔ เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ ๑ [11]
- เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- The Royal Order of the Seraphim จาก ประเทศสวีเดน
- Isabella Catalica Banda de Dama (First Class) จาก ประเทศสเปน
- The Royal Victorian Chain จาก ประเทศอังกฤษ
- Grand Cordon of the Order of the Precious Crown จาก ประเทศญี่ปุ่น
- Grand Cross The Order of the Orange-Nassau จาก ประเทศเนเธอร์แลนด์
- The Royal Victorian Order Honorary Knight Commander จาก ไอร์แลนด์เหนือ
- Grand Cross The Order of Merit for Distinguished Services จาก ประเทศเปรู
[แก้] ตำแหน่งทางวิชาการ
[แก้] พระยศทางทหาร
- พ.ศ. ๒๕๒๒ ร้อยโทหญิง เรือโทหญิง เรืออากาศโทหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกัดกองพันทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษประจำกองทัพเรือ นายทหารพิเศษประจำกองทัพอากาศ[13]
- พ.ศ. ๒๕๒๓ นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรือ รักษาพระองค์ กรมยุทธศึกษา โรงเรียนนายเรือ ประจำกองบังคับการกรมทหารราบที่ ๓ รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน ประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ กรมยุทธศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ และ ประจำกองพันทหารอากาศโยธินที่ ๑ รักษาพระองค์ [14]
- พ.ศ. ๒๕๒๔ ร้อยเอกหญิง เรือเอกหญิง เรืออากาศเอกหญิง[15]
- พ.ศ. ๒๕๒๖ พันตรีหญิง นาวาตรีหญิง นาวาอากาศตรีหญิง[16]
- พ.ศ. ๒๕๒๘ พันโทหญิง นาวาโทหญิง นาวาอากาศโทหญิง[17]
- พ.ศ. ๒๕๒๙ ศาสตราจารย์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทางอากาศ[18]
- พ.ศ. ๒๕๓๓ พันเอกหญิง นาวาเอกหญิง นาวาอากาศเอกหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ และประจำกรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[19]
- พ.ศ. ๒๕๓๕ พลตรีหญิง พลเรือตรีหญิง พลอากาศตรีหญิง[20]และศาสตราจารย์พิเศษ ประจำกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม และนายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน (สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน)
- พ.ศ. ๒๕๓๙ พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิง[21]อาจารย์พิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ อาจารย์พิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองทัพอากาศ และอาจารย์พิเศษ ประจำกองการศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ
- พ.ศ. ๒๕๔๒ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง[22]และรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ กองทัพอากาศ[23]
[แก้] พระเกียรติคุณ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และทรงเป็นผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างดียิ่ง
[แก้] รางวัลในระดับนานาชาติ
- พ.ศ. ๒๕๒๙ - เหรียญทองคำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างทางวิชาการ และการส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นบุคคลที่ ๓ ของโลกและเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลนี้
- พ.ศ. ๒๕๓๓ - รางวัล Tree of Learning
โดย The World Conservation Union ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อเป็นการยกย่องที่ทางทำคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดยการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและสิ่งแวดล้อม ให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาแบบยั่งยืน
- พ.ศ. ๒๕๔๗ - รางวัล EMS Hollaender International Award
จากผลของการทรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในแวดวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ คณะกรรมการรางวัลฮอลแลนเดอร์ จึงมีมติเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับประจำ ปี ค.ศ.๒๐๐๒
- พ.ศ. ๒๕๔๗ - รางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก
โดยสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์
- พ.ศ. ๒๕๔๙ - รางวัล IFCS Special Recognition
โดย Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS) เป็นรางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยของสารเคมีแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศในภูมิภาค
- พ.ศ. ๒๕๔๙ - รางวัล Nagoyal Medal Special Award
เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลด้านวิทยาศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญและทำคุณประโยชน์อย่างสูงแก่วงการอินทรีย์เคมี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก Nagoya University เมือง Okinawa ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. ๒๕๕๒ - รางวัล Windaus Medal ด้านอินทรีย์เคมี
โดย Georg-August-Universität Göttingen และสมาคมเคมีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในโอกาสการจัดสัมมนา "Adolf-Windaus-Genachtnis-Lecture" ประจำปี ๒๐๐๙ ในฐานที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่นอกจากมีผลงานวิจัยและงานวิชาการในด้านอินทรีย์เคมี แล้วยังทรงพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าของสาขาวิชานี้อย่างมาก
- พ.ศ. ๒๕๕๒ - รางวัล Ramazzini Award ด้านเวชศาสตร์อาชีวะและสิ่งแวดล้อม
โดย Collegium Ramazzini สาธารณรัฐอิตาลี โดยมอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติที่มีผลงานโดดเด่นทั้งด้านงานวิจัย วิชาการด้านเวชศาสตร์อาชีวะ และสิ่งแวดล้อม ที่มีผ่านมีผู้ได้รับรางวัลแล้ว ๓๒ คน ซึ่งในโอกาสนี้ทรงปาฐกถาให้หัวข้อ "Cancer Risk from Exposure to Air Polution"
[แก้] สถานที่ พรรณพืชและพันธุ์สัตว์อันเนื่องด้วยพระนาม
[แก้] สถานที่
- อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
- ค่ายจุฬาภรณ์ จังหวัดนราธิวาส
- อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- การแพทย์ และการสาธารณสุข
- สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
- สถาบันการศึกษา
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ๑๒ โรงทั่วประเทศ เป็นโรงเรียนจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓๖ พรรษา เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้แก่
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
[แก้] พรรณพืช
- Phalaenopsis 'Princess Chulabhorn'
กล้วยไม้ผสมตระกูล Phalaenopsis ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาได้น้อมเกล้าฯ ในเดือนสิงหาคม 2542 โดยเป็นผลงานการผสมพันธุ์ของสวนพฤกษศาสตร์เปราเดนนิยา (Royal Botanical Garden Peradeniya) ประเทศศรีลังกา เป็นลูกผสมของ Phalaenopsis 'Rose Miva' กับ Phalaenopsis 'Kandy Queen' และได้ขอพระราชทานพระอนุญาตอันเชิญพระนามเป็นชื่อของกล้วยไม้พันธุ์ใหม่นี้ ลักษณะดอกเป็นสีขาวโดยมีปลายดอกเป็นสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
[แก้] พันธุ์สัตว์
- ปูทูลกระหม่อม (Thaipotamon chulabhorn Naiyanetr, 1993)
- ปลาซิวเจ้าฟ้า (Amblypharyngodon chulabhornae Vidthayanon & Kottelat, 1990)
[แก้] ราชตระกูล
[แก้] อ้างอิง
- ^ หนังสือกองงานในพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ รล. ๐๐๑๑.๓/๑๖๖๗๘ ลงวันที่ ๒๙ มิ.ย. ๕๕
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/141/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/D/080/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/095/12.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2524/D/206/39.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2524/D/206/39.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/B/017V003/1_1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/B/004/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/008/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/B/025/1.PDF
- ^ http://www.thaiscouts.com/crown/2525.pdf
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/074/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/D/110/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/D/186/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2524/D/035/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/172/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2528/D/178/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/122/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/188/2.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/106/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/006/1.PDF
- ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/B/015/54.PDF
- ^ http://www.kingdom-siam.org/family-c-a.html
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- รัชกาลที่ 9
- พระราชปทินัดดาในรัชกาลที่ 4
- พระราชปนัดดาในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลมหิดล
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- ฐานันดรศักดิ์ชั้นเจ้าฟ้า
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
- ศาสตราจารย์
- นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยมหิดล
- ทหารบกชาวไทย
- ทหารเรือชาวไทย
- ทหารอากาศชาวไทย
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายใน)
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น