|
สภาพภูมิศาสตร์ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภาคพื้นทวีปยุโรป หรือทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภูมิประเทศของจีนโดยทั่วไป จะเป็นที่ราบสูงทางทิศตะวันตก
แล้วค่อย ๆ ลดต่ำลงมาทางทิศตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศจะมีลักษณะต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นเทือกเขาสูงเสียดเมฆ จนถึงมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กัน อันได้แก่ที่ราบสูงเนินเขา และที่ราบอันกว้างใหญ่
และอุดมสมบูรณ์ ทะเลทรายและทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่จะแผ่ปกคลุมแผ่นดินจีนทางตะวันตกเฉียงเหนือ ขณะที่แม่น้ำลำคลองและปากแม่น้ำฉางเจีย-แยงซี อยู่ทางตะวันออก ถ้ามองจากเบื้องบนลงมา ลักษณะเส้นขอบของภูมิประเทศจีน
จะมีลักษณะเหมือนขั้นบันไดสูงจากตะวันตกแล้วลดเป็นขั้น ๆ มาทางตะวันออกตามลำดับ คือจากที่ราบสูงซิงไฮ-ทิเบต มายังตะวันออกและฝั่งทะเล ขั้นสูงที่สุดของภูมิประเทศ ได้แก่ ที่ราบสูงชิงไฮ-ทิเบต มีเนื้อที่กว้างขวางประมาณ 2.2 ล้าน
ตารางกิโลเมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 4,000 เมตร นับว่าเป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดของโลกจนรู้จักกันทั่วไปว่าเป็น "หลังคาของโลก"
พื้นที่ถัดมาทางตะวันออกจะลดระดับความสูงเหลือเพียง 2,000-1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งประกอบด้วยที่ราบลุ่มแม่น้ำจุงกา ตาริม และซือฉวน ตลอดจนที่ราบสูงมองโกเลียใน และที่ราบสูงยูนนาน-ไกวเจา
เมื่อข้ามแนวยาวของเทือกเขาต่าง ๆ ทางตะวันออกของบันไดขั้นที่สองอันได้แก่เทือกเขาใหญ่ฮิงกัน ไทหาง อู่ชาน อู่หลิง และซุยเฟง มายังฝั่งทะเลระดับความสูงของพื้นดินจะลดลงเหลือน้อยกว่าระดับ 500 เมตรที่สูงจากระดับ
น้ำทะเลโดยทั่ว ๆ ไป ทำให้กลายเป็นบันไดขั้นที่สามซึ่งประกอบด้วยดินแดนจากทางเหนือมาใต้คือ ที่ราบจีนตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ราบจีนเหนือ ที่ราบแยงซีเกียงหรือฉางเจียงตอนกลาง และดินดอนสามเหลี่ยมชูเจียง (แม่น้ำเพิร์ล)
ขอบเขตของที่ราบทั้งหลายดังกล่านี้จะเป็นเชิงเขาและชนบทที่มีลักษณะเป็นเนินเขา
ทางตะวันออกของบันไดขั้นที่สามจะเป็นที่ตื้นเขินซึ่งขยายบริเวณกว้างขวางไปถึงเขตมหาสมุทร โดยจะต่ำกว่าระดับน้ำในแม่น้ำไม่เกิน 200 เมตร เป็นที่ซึ่งแม่น้ำพัดพาทรายและโคลนลงไปยังทะเล บริเวณนี้นับ
เป็นบันไดขั้นสุดท้าย
สภาพภูมิศาสตร์
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่เฉพาะส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ทางเหนือมีบริเวณตั้งแต่ตอนกลางของแม่น้ำเฮลุงเจียงใกล้โมเหอ (ละติจูดที่ 53 องศาเหนือ) ลงมาถึงฝั่งเจิงมู่
ของหมู่เกาะหนานชาทางทิศใต้ (ละติจูด 4 องศาเหนือ) และจากที่ราบสูงปามีร์ทางทิศตะวันตก (ลองติจูด 73 องศาตะวันออก) มาจนถึงบริเวณที่แม่น้ำเฮลุงเจียง และแม่น้ำวาสุลี ไหลมาบรรจบกันทางทิศตะวันออก
(ลองติจูด 135 องศาตะวันออก)
บริเวณพรมแดนทางบกยาวกว่า 20,000 กิโลเมตร และเป็นพรมแดนที่ติดต่อกับประเทศเกาหลีทางตะวันออก สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียทางเหนือ ประเทศรัสเซียทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ
ส่วนทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม และภูฐาน และติดต่อกับพม่า ลาว และเวียดนามทางตอนใต้ ส่วนฝั่งทะเลของแผ่นดินใหญ่นั้นมีความยาวมากกว่า 18,000 กิโลเมตร
ทางฝั่งทะเลจีนตะวันออก ใต้ และตะวันออกเฉียงใต้นั้น ติดต่อกับญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน ดังนั้น ผืนแผ่นดินใหญ่จีนจึงถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำโบไฮ แม่น้ำฮวงไฮ ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้
ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ แม่น้ำโบโฮนั้น เป็นทะเลภายใน ขณะที่น่านน้ำอีกสามแห่งที่เหลือนั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก
จีนมีบริเวณดินแดนที่เป็นหมู่เกาะใหญ่น้อยมากกว่า 5,000 เกาะ ซึ่งอยู่กระจัดกระจายตามน่านน้ำทะเลที่มีขนาดกว้างใหญ่ของจีน หมู่เกาะใหญ่น้อยทั้งที่อยู่ในที่ลึกและตื้นเขินได้รับการเรียกรวม ๆ กันว่า
หมู่เกาะทะเลจีนใต้ มีชื่อเป็นทางการว่า หมู่เกาะตงชา ซีชา จวงชา และหนานชา
การปกครองของจีน แบ่งเป็น 22 มณฑล 5 เขต ปกครองตนเอง และ 3 เทศบาลนคร อยู่ใต้การปกครองส่วนกลางโดยตรง หน่วยปกครองย่อย ๆ ภายใต้มณฑลและเขตปกครองตนเองนั้นได้แก่ จังหวัด (cities)
จังหวัดที่ปกครองตนเอง (autonomous prefectures) อำเภอ และอำเภอที่ปกครองตนเอง ประมาณว่า จีนมีอำเภอทั้งหมดมากกว่า 2,000 แห่ง
ส่วนเขตที่ปกครองตัวเอง 5 แห่งได้แก่ เขตมองโกเลียใน (ฮูเหอเฮาเถอะ) เขตหนิงเซี้ยหุย (ยินฉวน) เขตซินเจียง เหวยเว่อ (อูรุ่มฉี) เขตกวางสี จ้วง (หนันนิง) และเขตทิเบต (ลาซา) เทศบาลนคร 3 แห่ง ได้แก่
นครปักกิ่ง หรือเปยจิง (Beijing) นครเซึ่ยงไฮ้ (Shanghai) และนครเทียนสิน หรือเทียนจิน (Tianjin) ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของรัฐบาลกลาง
เมืองหลวงของจีนก็คือกรุงปักกิ่ง ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโบไฮทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบตอนเหนือของจีน กรุงปักกิ่งมีเนื้อที่ 17,800 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 7.5 ล้านคน
และถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของการเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของประเทศ เช่นเดียวกันเป็นชุมทางการคมนาคมด้วย นอกจากนี้กรุงปักกิ่งยังมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของการเป็นเมืองหลวงเก่าแก่มาร่วม 800 ปี
มีสถานที่ท่องเที่ยวทิวทัศน์งดงาม ตลอดจนสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจต่าง ๆ อีกมากมาย
แหล่งที่มา
สภาพภูมิศาสตร์ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. (2555). ค้นจาก
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_
detail.php?mul_content_id=17700
|
|