สมเด็จพระเชษฐาธิราช
-
บทความนี้เกี่ยวกับสมเด็จพระเชษฐาธิราช สำหรับพระเชษฐาพระองค์อื่น ดูที่ พระเชษฐา
สมเด็จพระเชษฐาธิราช |
|
---|---|
พระบรมนามาภิไธย | พระเชษฐาธิราชกุมาร |
พระอิสริยยศ | พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์สุโขทัย |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2171 |
ระยะครองราชย์ | 1 ปี 8 เดือน |
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม |
รัชกาลถัดไป | สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
สวรรคต | พ.ศ. 2173 |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม |
พระราชมารดา | พระองค์อัมฤทธิ์[1] |
สมเด็จพระเชษฐาธิราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระอนุชา 2 พระองค์ ได้แก่ พระพันปีศรีศิลป์ และ พระอาทิตยวงศ์
เมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคตได้เกิดการชิงราชสมบัติระหว่างพระองค์กับพระพันปีศรีศิลป์ (จดหมายเหตุวันวลิต กล่าวว่า พระศรีศิลป์เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม) ฝ่ายพระองค์มีออกญาศรีวรวงศ์กับออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ นางามาซะ) เป็นกำลังสำคัญได้จับพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นพระมหาอุปราชสำเร็จโทษ แล้วกราบบังคมทูลเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเชษฐาธิราช ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมพรรษาได้ 15 พรรษา ออกญาศรีวรวงศ์ ได้เลื่อนฐานะเป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์
เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ได้หนึ่งปี แปดเดือน ก็คิดเกรงว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จะคิดแย่งราชสมบัติ จึงทรงหาทางกำจัดเสีย แต่ความนี้ได้รู้ไปถึงเจ้าพระยากลาโหมเสียก่อนก็ขัดเคือง จึงได้ยกกำลังบุกเข้าไปในวังหลวง พระองค์ไม่ได้คิดต่อสู้แต่หลบหนีไป เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงสั่งให้พระยาเดโชและพระยาท้ายน้ำตามไปทันที่ป่าโมกน้อยแล้วจับสมเด็จพระเชษฐาธิราชมาได้ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงสั่งให้นำพระองค์ไปสำเร็จโทษเสีย เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้ทูลเชิญพระอาทิตยวงศ์พระอนุชาในสมเด็จพระเชษฐาธิราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อไป
[แก้] อ้างอิง
[แก้] ดูเพิ่ม
สมัยก่อนหน้า | สมเด็จพระเชษฐาธิราช | สมัยถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (ราชวงศ์สุโขทัย) (พ.ศ. 2153 - พ.ศ. 2171 ) |
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา (ราชวงศ์สุโขทัย) (พ.ศ. 2171 - พ.ศ. 2173) |
พระอาทิตยวงศ์ (ราชวงศ์สุโขทัย) (พ.ศ. 2173) |
|