จังหวัดกาญจนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดกาญจนบุรี
ตราประจำจังหวัดกาญจนบุรี
ตราประจำจังหวัด
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดกาญจนบุรีด้านหน้า เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดกาญจนบุรีด้านหลัง
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด
แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์
มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย กาญจนบุรี
ชื่ออักษรโรมัน Kanchanaburi
ชื่อไทยอื่นๆ เมืองกาญจน์
ผู้ว่าราชการ นายชัยวัฒน์ สิมป์วรรณธะ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2554)
ISO 3166-2 TH-71
ต้นไม้ประจำจังหวัด ขานาง
ดอกไม้ประจำจังหวัด กาญจนิกา
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 19,483.148 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 3)
ประชากร 838,914 คน[2] (พ.ศ. 2554)
(อันดับที่ 28)
ความหนาแน่น 43.06 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 73)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ถนนแสงชูโต ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71000
โทรศัพท์ (+66) 0 3451 1778
เว็บไซต์ จังหวัดกาญจนบุรี
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดกาญจนบุรี

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดกาญจนบุรี ลักษณะทางภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นป่า ซึ่งจะมีทั้งป่าดงดิบและป่าโปร่ง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ความเป็นมาของกาญจนบุรี เท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองฯ ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม สมัยบายน

กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญจนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์

ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467

เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นตัดสินใจสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทย ไปยังเมืองทันบีอูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี

[แก้] หน่วยการปกครอง

จังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 98 ตำบล 943 หมู่บ้าน 206 ชุมชน 31 เทศบาล 90 อบต.

  1. อำเภอเมืองกาญจนบุรี
  2. อำเภอไทรโยค
  3. อำเภอบ่อพลอย
  4. อำเภอศรีสวัสดิ์
  5. อำเภอท่ามะกา
  6. อำเภอท่าม่วง
  7. อำเภอทองผาภูมิ
  1. อำเภอสังขละบุรี
  2. อำเภอพนมทวน
  3. อำเภอเลาขวัญ
  4. อำเภอด่านมะขามเตี้ย
  5. อำเภอหนองปรือ
  6. อำเภอห้วยกระเจา
 แผนที่

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

จังหวัดกาญจนบุรี คือดินแดนแห่งธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ด้วยผืนป่า พรรณไม้ โถงถ้ำ น้ำตก และประเพณีวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนหลากเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออารี ทั้งไทย พม่า มอญ ปากะญอ (กะเหรี่ยง) ฯลฯ

ยิ่งไปกว่านั้น กาญจนบุรียังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีอนุสรณสถานหลายแห่งปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานทหารสัมพันธมิตร พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ฯลฯ

[แก้] อุทยาน

[แก้] น้ำตก

[แก้] น้ำพุร้อน

[แก้] เขื่อน

−=== วัด ===

[แก้] อื่นๆ

สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2552)

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด


[แก้] การศึกษา

[แก้] อุดมศึกษา

[แก้] โรงเรียน

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น