จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ประเทศไทยแสดงเขตรัฐกิจของจังหวัดต่างๆ
แผนที่ประเทศไทยแสดงเขตรัฐกิจของจังหวัดต่างๆ (คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย)
███ ภาคเหนือ
███ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
███ ภาคกลาง
███ ภาคตะวันออก
███ ภาคตะวันตก
███ ภาคใต้

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด[ก] (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด[ข]) จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางจังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

เนื้อหา

ประวัติ

สมัยก่อนการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2435

แผนที่มณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. 2458

พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ ให้เป็นไปตามอย่างอารยประเทศในโลกตะวันตก โดยทรงตั้งกระทรวงขึ้นใหม่ 12 กระทรวง และโอนการปกครองหัวเมืองทั้งหมดให้มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้นดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ) เป็นองค์ปฐมเสนาบดี

เมื่องานการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยแล้ว การจัดการปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาลจึงได้เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2437 โดยแบ่งระดับการปกครองจากสูดสุงไปหาต่ำสุดเป็นมณฑล, เมือง (เทียบเท่าจังหวัด), อำเภอ, ตำบล และหมู่บ้าน มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้กำกับดูแลมณฑล การก่อตั้งมณฑลนั้นจะเป็นไปตามลำดับโดยขึ้นอยู่กับความเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ด้วย วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดการปกครองเช่นนี้ ก็เพื่อให้ส่วนกลางสามารถควบคุมดูแลหัวเมืองและจัดการผลประโยชน์แผ่นดินได้อย่างใกล้ชิด และริดลอนอำนาจและอิทธิพลของเจ้าเมืองในระบบเดิมลงอย่างสิ้นเชิง

การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองดังกล่าว ทำให้ขุนนางท้องถิ่นที่ต้องการรักษาฐานอำนาจและอิทธิพลของตนไว้ ก่อการกบฏต่อต้านอำนาจรัฐในบางภูมิภาค เหตุการณ์กบฏครั้งสำคัญคือกบฏผู้มีบุญอีสาน (หรือ "กบฏผีบาปผีบุญ") ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2445 โดยอาศัยความเชื่อเรื่องยุคพระศรีอาริยเมตไตรย เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านอำนาจรัฐ ขบวนการผู้มีบุญได้เคลื่อนไหวตามทั่วภาคอีสาน แต่ที่เป็นเหตุใหญ่ที่สุดอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งกลุ่มกบฏได้ก่อการถึงขั้นเผาเมืองเขมราฐและบังคับให้เจ้าเมืองเขมราฐร่วมขบวนการ แต่ที่สุดแล้วกบฏครั้งนี้ก็ถูกปราบปรามลงในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา

หลังปี พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด (อำเภอเมือง)

เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลาออกจาตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2458 นั้น ประเทศสยามได้แบ่งการปกครองออกเป็น 19 มณฑล 72 จังหวัด ทั้งนี้ ได้รวมถึงจังหวัดพระนคร ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงนครบาลจนถึง พ.ศ. 2465

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเพื่อกำกับมณฑล โดยมีผู้ปกครองภาคเรียกว่า "อุปราช" ในระยะนี้ได้มีการตั้งมณฑลต่างๆ เพิ่มขึ้นจนถึงปี พ.ศ. 2465 อีก 4 มณฑล แต่มณฑลดังกล่าวก็ถูกยุบลงในปี พ.ศ. 2468 และมีอีกหลายมณฑลที่ถูกยุบรวมในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาล อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศสยามใน พ.ศ. 2475 ระบบมณฑลเทศาภิบาลได้ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2476 ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด และตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ก็ได้มีการจัดตั้งจังหวัดเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง โดยการตัดแบ่งอาณาเขตบางส่วนจากจังหวัดที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานีมาจัดตั้งเป็นจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2520ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงรายมาจัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครพนมมาตั้งเป็นจังหวัดจังหวัดมุกดาหาร ในปีพ.ศ. 2536ได้มีการตั้งจังหวัดขึ้นมาพร้อมกัน 3 จังหวัดคือจังหวัดหนองบัวลำภู (แยกจากจังหวัดอุดรธานี) จังหวัดสระแก้ว (แยกจากจังหวัดปราจีนบุรี) และจังหวัดอำนาจเจริญ (แยกจากจังหวัดอุบลราชธานี) และจังหวัดล่าสุดของประเทศไทยคือจังหวัดบึงกาฬซึ่งแยกออกมาจากจังหวัดหนองคายในปีพ.ศ. 2554

ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีขึ้นเป็นเขตปกครองรูปแบบพิเศษชื่อ "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงเทพมหานคร" เมื่อ พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นการรวมภารกิจในการปกครองของทั้งสองจังหวัดในรูปแบบเทศบาลเข้าไว้ด้วยกัน ที่มาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้ปกครองสูงสุดของกรุงเทพมหานครนั้น มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่การแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยอย่างจังหวัดอื่น

การแบ่งอย่างเป็นทางการ

ราชบัณฑิตยสถาน แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค โดยใช้เกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์[1] ซึ่งเป็นการแบ่งที่ใช้อย่างเป็นทางการและมีใช้ทั่วไปในแบบเรียน

แผนที่ประเทศไทยแสดงเขตรัฐกิจของจังหวัดต่าง ๆ
แผนที่ประเทศไทยแสดงเขตรัฐกิจของจังหวัดต่าง ๆ (คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย)
███ ภาคเหนือ
███ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
███ ภาคกลาง
███ ภาคตะวันออก
███ ภาคตะวันตก
███ ภาคใต้

ภาคเหนือ

  1. จังหวัดเชียงราย
  2. จังหวัดเชียงใหม่
  3. จังหวัดน่าน
  4. จังหวัดพะเยา
  5. จังหวัดแพร่
  6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  7. จังหวัดลำปาง
  8. จังหวัดลำพูน
  9. จังหวัดอุตรดิตถ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. จังหวัดกาฬสินธุ์
  2. จังหวัดขอนแก่น
  3. จังหวัดชัยภูมิ
  4. จังหวัดนครพนม
  5. จังหวัดนครราชสีมา
  6. จังหวัดบึงกาฬ
  7. จังหวัดบุรีรัมย์
  8. จังหวัดมหาสารคาม
  9. จังหวัดมุกดาหาร
  10. จังหวัดยโสธร
  11. จังหวัดร้อยเอ็ด
  12. จังหวัดเลย
  13. จังหวัดสกลนคร
  14. จังหวัดสุรินทร์
  15. จังหวัดศรีสะเกษ
  16. จังหวัดหนองคาย
  17. จังหวัดหนองบัวลำภู
  18. จังหวัดอุดรธานี
  19. จังหวัดอุบลราชธานี
  20. จังหวัดอำนาจเจริญ

ภาคกลาง

  1. กรุงเทพมหานคร (ถือเป็นเขตปกครองพิเศษ ไม่ใช่จังหวัด)
  2. จังหวัดกำแพงเพชร
  3. จังหวัดชัยนาท
  4. จังหวัดนครนายก
  5. จังหวัดนครปฐม
  6. จังหวัดนครสวรรค์
  7. จังหวัดนนทบุรี
  8. จังหวัดปทุมธานี
  9. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  10. จังหวัดพิจิตร
  11. จังหวัดพิษณุโลก
  12. จังหวัดเพชรบูรณ์
  13. จังหวัดลพบุรี
  14. จังหวัดสมุทรปราการ
  15. จังหวัดสมุทรสงคราม
  16. จังหวัดสมุทรสาคร
  17. จังหวัดสิงห์บุรี
  18. จังหวัดสุโขทัย
  19. จังหวัดสุพรรณบุรี
  20. จังหวัดสระบุรี
  21. จังหวัดอ่างทอง
  22. จังหวัดอุทัยธานี

ภาคตะวันออก

  1. จังหวัดจันทบุรี
  2. จังหวัดฉะเชิงเทรา
  3. จังหวัดชลบุรี
  4. จังหวัดตราด
  5. จังหวัดปราจีนบุรี
  6. จังหวัดระยอง
  7. จังหวัดสระแก้ว

ภาคตะวันตก

  1. จังหวัดกาญจนบุรี
  2. จังหวัดตาก
  3. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  4. จังหวัดเพชรบุรี
  5. จังหวัดราชบุรี

ภาคใต้

  1. จังหวัดกระบี่
  2. จังหวัดชุมพร
  3. จังหวัดตรัง
  4. จังหวัดนครศรีธรรมราช
  5. จังหวัดนราธิวาส
  6. จังหวัดปัตตานี
  7. จังหวัดพังงา
  8. จังหวัดพัทลุง
  9. จังหวัดภูเก็ต
  10. จังหวัดระนอง
  11. จังหวัดสตูล
  12. จังหวัดสงขลา
  13. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  14. จังหวัดยะลา

การแบ่งแบบอื่น

กลุ่มจังหวัด

เป็นการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการบริหารงานแบบบูรณาการ โดยริเริ่มจัดตั้งโดยการกำหนดจังหวัดต้นแบบการบริหารงานแบบบูรณาการ (CEO) ในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปัจจุบันประเทศไทยแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็น 18 กลุ่มจังหวัด

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การแบ่งภูมิภาคประเทศไทยตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค มีขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เหมือนกับภูมิภาคทาง ภูมิศาสตร์ แต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้[1]
██ ภาคเหนือ
มี 17 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุทัยธานี
██ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประกอบด้วย 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกับราชบัณฑิตยสถาน
██ ภาคกลาง
มีกรุงเทพมหานครและอีก 8 จังหวัด คือ ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง
██ ภาคตะวันออก
มี 9 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสระแก้ว
██ ภาคตะวันตก
มี 8 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสุพรรณบุรี
██ ภาคใต้
มี 14 จังหวัด ประกอบด้วย 14 จังหวัดปักษ์ใต้ทั้งหมด โดยนับจากจังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส เช่นเดียวกับราชบัณฑิตยสถาน

กรมอุตุนิยมวิทยา

การแบ่งภูมิภาคประเทศไทยตามกรมอุตุนิยมวิทยา
กรมอุตุนิยมวิทยา แบ่งประเทศไทยออกเป็น 7 ภาค ดังนี้[2]
██ ภาคเหนือ
มี 15 จังหวัด ประกอบด้วย 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน กับอีก 6 จังหวัดคือ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และสุโขทัย
██ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประกอบด้วย 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกับราชบัณฑิตยสถาน
██ ภาคกลาง
มี 12 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา นครนายก นครสวรรค์ ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี
██ ภาคตะวันออกรวมทั้งชายฝั่ง
มี 7 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว
██ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
มี 10 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
██ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
มี 6 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
██ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ประกอบด้วยกรุงเทพมหานครและอีก 6 จังหวัด คือ จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร

กรมทางหลวง

การแบ่งภูมิภาคประเทศไทยตามกรมทางหลวง
กรมทางหลวง แบ่งประเทศไทยออกเป็น 4 ภาค ตามลำดับหมายเลขทางหลวง ได้แก่
██ ภาคเหนือ
มี 15 จังหวัด ประกอบด้วย 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนกับอีก 6 จังหวัดคือ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ และพิจิตร
██ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มี 21 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดเพชรบูรณ์กับ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือในทางภูมิศาสตร์
██ ภาคกลาง
มี 27 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
██ ภาคใต้
มี 14 จังหวัด ประกอบด้วย 14 จังหวัดปักษ์ใต้ทั้งหมด โดยนับจากจังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส เช่นเดียวกับราชบัณฑิตยสถาน

รหัสโทรศัพท์พื้นฐาน

Map TH provinces by areacode.png
██ 02 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ประกอบด้วยกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และบางส่วนของอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน (จังหวัดนครปฐม) และอำเภอกระทุ่มแบน (จังหวัดสมุทรสาคร) ใช้รหัส 02
██ 03x ภาคกลาง
มี 21 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ใช้รหัสขึ้นต้นด้วย 03 ยกเว้นบางส่วนของอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน (จังหวัดนครปฐม) และอำเภอกระทุ่มแบน (จังหวัดสมุทรสาคร) ใช้รหัส 02
032 - ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี
034 - กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม
035 - พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และอ่างทอง
036 - สระบุรี สิงห์บุรี และลพบุรี
037 - นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
038 - ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
039 - จันทบุรี และตราด
██ 04x ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประกอบด้วย 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกับราชบัณฑิตยสถาน
042 - อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร
043 - ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์
044 - นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์
045 - ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ
██ 05x ภาคเหนือ
มี 18 จังหวัด ประกอบด้วย 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน กับอีก 9 จังหวัดคือ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และชัยนาท
053 - เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
054 - ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา
055 - พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร
056 - นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และชัยนาท
██ 07x ภาคใต้
ประกอบด้วย 14 จังหวัดปักษ์ใต้ทั้งหมด โดยนับจากจังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส เช่นเดียวกับราชบัณฑิตยสถาน
073 - นราธิวาส ปัตตานี และยะลา
074 - สงขลา พัทลุง และสตูล
075 - นครศรีธรรมราช ตรัง และกระบี่
076 - ภูเก็ต และพังงา
077 - สุราษฎร์ธานี ชุมพร และระนอง

รหัสไปรษณีย์

กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 9 ภาค ตามระบบรหัสไปรษณีย์

Map TH provinces by postalcode.png
██ ภาคกลาง
มี 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ ใช้รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยเลข 1
██ ภาคตะวันออก
มี 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ใช้รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยเลข 2
██ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
มี 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และยโสธร ใช้รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยเลข 3
██ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
มี 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และขอนแก่น ใช้รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยเลข 4 (ยกเว้นจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดบึงกาฬ รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยเลข 3)
██ ภาคเหนือตอนบน
มี 9 จังหวัด ได้แก่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนทั้งหมด ใช้รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยเลข 5
██ ภาคเหนือตอนล่าง (ภาคกลางตอนบน)
มี 8 จังหวัด ได้แก่ 8 จังหวัดภาคกลางตอนบนทั้งหมด ใช้รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยเลข 6
██ ภาคตะวันตก
มี 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ใช้รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยเลข 7
██ ภาคใต้ตอนบน
มี 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช ใช้รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยเลข 8
██ ภาคใต้ตอนล่าง
มี 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ใช้รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยเลข 9

การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

Map TH provinces by electoral2007.png
แบ่งโดยใช้จำนวนประชากรในกลุ่มแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มโดยให้มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกันและ ในแต่ละกลุ่มจะต้องมีพื้นที่ต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียว
██ กลุ่มที่ 1
มีจำนวน 11 จังหวัด ประชากรรวม 7,615,610 คน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ สุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร
██ กลุ่มที่ 2
มีจำนวน 9 จังหวัด ประชากรรวม 7,897,563 คน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร ชัยภูมิ ขอนแก่น ลพบุรี นครสวรรค์ และอุทัยธานี
██ กลุ่มที่ 3
มีจำนวน 11 จังหวัด ประชากรรวม 7,959,163 คน ได้แก่ จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี เลย นครพนม สกลนคร หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม และอำนาจเจริญ
██ กลุ่มที่ 4
มีจำนวน 6 จังหวัด ประชากรรวม 7,992,434 คน ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์
██ กลุ่มที่ 5
มีจำนวน 10 จังหวัด ประชากรรวม 7,818,710 คน ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และปทุมธานี
██ กลุ่มที่ 6
มีจำนวน 3 จังหวัด ประชากรรวม 7,802,639 คน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
██ กลุ่มที่ 7
มีจำนวน 15 จังหวัด ประชากรรวม 7,800,965 คน ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
██ กลุ่มที่ 8
มีจำนวน 12 จังหวัด ประชากรรวม 7,941,622 คน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา

กิจการลูกเสือ

Map TH provinces by scoutscarf.png
██ เขตที่ 1- สีเหลืองทอง
มีจำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร
██ เขตที่ 2- สีน้ำทะเล
มีจำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
██ เขตที่ 3- สีเขียวใบไม้
มีจำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา
██ เขตที่ 4- สีฟ้า
มีจำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง
██ เขตที่ 5- สีกรมท่า
มีจำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม
██ เขตที่ 6- สีแดง
มีจำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา
██ เขตที่ 7- สีม่วง
มีจำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์
██ เขตที่ 8- สีบานเย็น
มีจำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ พะเยา ลำพูน ลำปาง
██ เขตที่ 9- สีน้ำตาล
มีจำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ เลย ขอนแก่น หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร
██ เขตที่ 10- สีชมพูอ่อน
มีจำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม
██ เขตที่ 11- สีส้ม
มีจำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
██ เขตที่ 12- สีตองอ่อน
มีจำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

ผู้ว่าราชการจังหวัด

ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาของจังหวัด เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหาร ระดับสูง (ระดับ 10) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทย จะเป็นผู้พิจารณาและเสนอรายชื่อต่อคณะรัฐมนตรี พิจารณานำทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป

เชิงอรรถ

. ^  ตามข้อมูลของกรมการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยแบ่งการปกครองออกเป็น 75 จังหวัด[3] และต่อมา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 ซึ่งทำให้จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 76 ของไทย[4]

. ^  กรุงเทพมหานครเป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชการส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานครเคยเป็นจังหวัด ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค แต่บัดนี้มิใช่แล้ว

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
จังหวัดในประเทศไทย