ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

923.7   Geography & History
ชีวประวัติบุคคลในสาขาการศึกษา

ชัยอนันต์ สมุทวณิช


ประวัติ

ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมรสกับ นางสุภาธร สมุทวณิช (สกุลเดิม สาครบุตร) มีบุตร 3 คนคือ นายพชร สมุทวณิช ผู้บริหารหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ,พลอย จริยะเวช นักเขียน นักแปล (สมรสกับ พันโทธีระ จริยะเวช กรมยุทธบริการ กองบัญชาการทหารสูงสุด) และ นายพลาย สมุทวณิช

ศ.ดร.ชัยอนันต์ ไม่ใช่เด็กเรียนดีมาก่อน จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากวชิราวุธวิทยาลัย ด้วยคะแนนเพียง 57.3% แต่พยายามจนสอบเข้า คณะรัฐศาสตร์ แผนกนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สำเร็จ เรียนอยู่ 1 ปีสามารถสอบชิง ทุนโคลัมโบ ไปเรียนปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ประเทศนิวซีแลนด์ ต่อมาสำเร็จปริญญาโท และ ปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2511

กลับมาเมืองไทยเข้าทำงานครั้งแรกที่กรมวิเทศสหการ จากนั้นสมัครเข้าเป็นอาจารย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และต่อมาได้โอนย้ายมาสอนที่ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.ดร.ชัยอนันต์ มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองมาโดยตลอด เป็นหนึ่งในผู้ลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ ในปี พ.ศ. 2531 ได้ร่วมกับนักวิชาการคนอื่นๆ เช่น ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ และ รศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รวบรวมนักวิชาการ 99 คนลงชื่อเรียกร้องให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรณรงค์เรื่องนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

ล่าสุด ศ.ดร.ชัยอนันต์ เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทเคลื่อนไหวในการเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549

ดร.ชัยอนันต์ เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ที่มีบทความลงตีพิมพ์ และเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะมีบุตรสาวคือ พลอย จริยะเวช ที่เป็นนักเขียน ดร.ชัยอนันต์ยังมีน้องชาย คือ ชัยศิริ สมุทวณิช บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน อดีตผู้บริหารบริษัทการบินไทย ที่มีงานเขียน เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกัน และ นายชัยศิริ ยังมีบุตรชายที่เป็นนักเขียนคือ กล้า สมุทวณิช เจ้าของนามปากกา "บุญชิต ฟักมี" อีกด้วย

การศึกษา

วชิราวุธวิทยาลัย
แผนกนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาตรี Victoria University of Wellington นิวซีแลนด์
ปริญญาโท-เอก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา
- Certificate in Social Planning, United Nations Asian Institute

การทำงาน

พ.ศ. 2518 : อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งสุดท้ายคือ ศาสตราจารย์ระดับ 11 (พ.ศ. 2518-2538)
พ.ศ. 2524 : ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
พ.ศ. 2531 : ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
พ.ศ. 2535 : ได้รับแต่งตั้งเป็น วุฒิสมาชิก (พ.ศ. 2535 - 2540)
พ.ศ. 2539 : ผู้บังคับการ วชิราวุธวิทยาลัย (พ.ศ. 2539 - 2550)
พ.ศ. 2541 : ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ (11 เมษายน พ.ศ. 2541 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
พ.ศ. 2544 : กรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2544-2547)
พ.ศ. 2547 : ประธานกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) (พ.ศ. 2547) (ลาออก 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)
ประธานคณะกรรมการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2548 : นายกราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2549 : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

บทบาททางการเมือง

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ขณะนั้นเป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นผู้ที่เขียนฎีกาเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการชุมนุมวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล อีกทั้งยังเป็นวิทยากรในการอภิปรายในเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ด้วย โดยเป็นผู้ทำนายว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น่าจะพ้นจากตำแหน่งไม่เกินเดือนกรกฎาคม หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

อีกทั้งยังทำนายก่อนการพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์และพรรคไทยรักไทยล่วงหน้าหนึ่งวันว่า พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบ แต่พรรคไทยรักไทยจะถูกยุบ ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น

ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ

ประธานมูลนิธิ ไชย้ง ลิ้มทองกุล

เกียรติคุณนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2529 สาขา รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ

ที่มา

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2555). ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 17, 2555, จาก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%
B1%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%
E0%B8%95%E0%B9%8C_%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%
B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%8A

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com