สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
|
---|---|
พระบรมนามาภิไธย | เจ้าฟ้าพร |
พระปรมาภิไธย | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
พระอิสริยยศ | พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์บ้านพลูหลวง |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301 |
ระยะครองราชย์ | 26 ปี |
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 |
รัชกาลถัดไป | สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
สวรรคต | พ.ศ. 2301 |
พระราชบิดา | สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 |
พระอัครมเหสี | กรมหลวงอภัยนุชิต (พระพันวัสสาใหญ่) กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย)[1] |
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือ สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 31 แห่งกรุงศรีอยุธยา
เนื้อหา |
[แก้] พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าพร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ทรงมีพระเชษฐา ได้แก่ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) พระองค์ได้รับการสถานปนาเป็นพระบัณฑูรน้อยในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 และเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
[แก้] สงครามแย่งราชสมบัติ
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคตนั้น พระราชทานราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระเจ้าบรมโกศ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระมหาอุปราชอยู่ไม่เต็มพระทัย เพราะปรารถนาจะให้ทรงมอบราชสมบัติแก่เจ้าฟ้านเรนทร (กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์) ซึ่งในขณะนั้นทรงผนวชอยู่
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ได้เกิดการสู้รบกันระหว่างพระองค์กับพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คือ เจ้าฟ้าอภัย และเจ้าฟ้าปรเมศร์ อันเนื่องมาจากพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีสิทธิที่จะขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐาอย่างถูกต้อง แต่เมื่อพระเชษฐาใกล้สวรรคตกลับตัดสินพระทัยยกราชสมบัติแก่ เจ้าฟ้านเรนทร พระโอรสพระองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทรไม่เห็นด้วยชอบด้วย จึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระโอรสองค์รอง เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี
ภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์ และประหารชีวิตเจ้าฟ้าทั้ง 2 พระองค์
[แก้] รัชสมัย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาจนกล่าวได้ว่ากรุงศรีอยุธยาในสมัยพระองค์นั้นเป็นยุคที่บ้านเมืองดี มีขุนนางคนสำคัญที่เติบโตในเวลาต่อมา ในรัชกาลของพระองค์หลายคน เช่น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี, พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้น ในทางด้านวรรณคดี ก็มีกวีคนสำคัญเช่น เจ้าฟ้ากุ้ง ซึ่งเป็นพระโอรส เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2296 พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระ และคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมลงไป สมเด็จพระเจ้าบรมอยู่หัวโกศ จึงโปรดให้ส่งคณะสมณทูตประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือ พระอุบาลี และพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป ไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชา อุปสมบท ให้กับชาวลังกา คณะสงฆ์คณะนี้ได้ไปตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกา หลังจากที่ได้ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา เป็นเวลาเจ็ดปีแล้ว คณะสงฆ์คณะนี้บางส่วนได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2303
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สวรรคตในปี พ.ศ. 2301 รวมระยะเวลาการครองราชย์นาน 26 ปี
[แก้] ราชตระกูล
พระราชตระกูลในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|||||||||
|
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
|
พระราชเทวี สิริกัลยาณี |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|||||||||
|
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|||
|
พระแสนเมือง (พระเจ้าเชียงใหม่) |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|||||||||
|
พระนางกุสาวดี |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
|
ไม่ทราบ |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|||||||||
|
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ไม่ทราบ |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|||
[แก้] อ้างอิง
- ^ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16
[แก้] ดูเพิ่ม
สมัยก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ | สมัยถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายจบคชประสิทธิ์ (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) |
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขแห่งอาณาจักรอยุธยา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) |
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (กรุงรัตนโกสินทร์) (ราชวงศ์จักรี) |
||
เจ้าฟ้าเพชร (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) |
กรมพระราชวังบวรสถานมงคลแห่งอาณาจักรอยุธยา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) |
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเสนาพิทักษ์ (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) |
||
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275) |
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301) |
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2301) |
|
|