สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
-
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ สมเด็จพระอาทิตยวงศ์
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 |
|
---|---|
พระบรมนามาภิไธย | พระอาทิตยวงศ์ |
พระปรมาภิไธย | สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร |
พระอิสริยยศ | พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์สุพรรณภูมิ |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2072-พ.ศ. 2076 |
ระยะครองราชย์ | 4 ปี |
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 |
รัชกาลถัดไป | พระรัษฎาธิราช |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
สวรรคต | พ.ศ. 2076 |
พระราชบิดา | สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 |
พระราชโอรส/ธิดา | พระรัษฎาธิราช |
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 12 แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระนามที่เป็นที่รู้จักอีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
เนื้อหา |
[แก้] พระราชประวัติ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ หรือ พระอาทิตย ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สัณนิษฐานว่าประสูติแต่พระอัครมเหสีที่มีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง แต่ไม่ปรากฏว่าเสด็จพระราชสมภพเมื่อปีอะไร พระองค์ได้รับการสถาปนาที่พระมหาอุปราชเมื่อปี พ.ศ. 2069 และได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองเมืองพิษณุโลก
พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศที่พระมหาอุปราชได้ 3 ปี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เสด็จสวรรคต พระองค์จึงเสด็จจากเมืองพิษณุโลกมาครองราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรทรงมีพระโอรส 1 พระองค์ คือ พระรัษฎาธิราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2076 สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษที่ระบาดในกรุงศรีอยุธยาแล้วเสด็จสวรรคต ทรงอยู่ในราชสมบัติเพียง 4 ปีเท่านั้น พระรัษฎาธิราชพระราชโอรสเสด็จขึ้นครองราชสมบัติด้วยพระชนมายุเพียง 5 พรรษา
[แก้] พระนามต่างๆ
- พระอาทิตยวงศ์ ที่มาของชื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวินิจฉัยว่า คงจะทรงเป็นเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง "ศรีอินทราทิตย์" (หมายถึง พระอาทิตย์) จึงเข้าใจได้ว่าพระมารดาก็เห็นจะเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงดุจเดียวกัน
- สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ซึ่งมีคำว่า "หน่อพุทธางกูร" มีความหมายว่า "หน่อเนื้อเชื้อไขพระพุทธเจ้า" หรือ "พระโพธิสัตว์" คาดว่ามาจากกฎมณเฑียรบาลซึ่งกำหนดราชกุมารศักดิ์ไว้ว่า พระราชกุมารอันเกิดแต่พระอัครมเหสีคือ สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ส่วนพระนาม "พระบรมราชา" บัญญัติเมื่อเสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก จึงเรียกว่าสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร เพื่อไม่ให้ซ้ำกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
- วาตะถ่อง เป็นพระนามในพงศาวดารพม่า "วาตะถ่อง" หมายความว่า "สำลีพันนึง" จึงเป็นที่มาของเส้นพระเกศาอันขาวโพลนในภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท
[แก้] พระราชกรณีกิจ
[แก้] การพระศาสนา
พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์องค์ที่สามในวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดา
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- วิชาการ.คอม
- หอมรดกไทย
- พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์อธิบายประกอบ สำนักงานพิมพ์โอเดียนสโตร์ จัดพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. 2510
- ไทยรบพม่า เล่ม 1 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักงานพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ จัดพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. 2546
- พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ สำนักงานพิมพ์คลังวิทยา จัดพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. 2510
สมัยก่อนหน้า | สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 | สมัยถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเชษฐา (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ) (พ.ศ. 2028 - พ.ศ. 2034) |
พระมหาอุปราชแห่งอาณาจักรอยุธยา (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ) (พ.ศ. 2069 - พ.ศ. 2072) |
พระไชยราชา (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ) (พ.ศ. 2072 - พ.ศ. 2076) |
||
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ) (พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072) |
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ) (พ.ศ. 2072 - พ.ศ. 2076) |
พระรัษฎาธิราช (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ) (พ.ศ. 2076) |
|
|
|