อานันท์ ปันยารชุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 18
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
รองนายกรัฐมนตรี เสนาะ อุนากูล
พล.ต.อ.เภา สารสิน
มีชัย ฤชุพันธุ์
สมัยก่อนหน้า พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
สมัยถัดไป พลเอกสุจินดา คราประยูร
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2535
รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.เภา สารสิน
เกษม สุวรรณกุล
ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี
สมัยก่อนหน้า พลเอกสุจินดา คราประยูร
สมัยถัดไป ชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (79 ปี)
คู่สมรส หม่อมราชวงศ์สดศรี (จักรพันธุ์) ปันยารชุน
ลายมือชื่อ

นายอานันท์ ปันยารชุน (9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 — ) อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 18 และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 และ พฤษภาทมิฬ เขายังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2540 อีกด้วย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 12 คนของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) และ คุณหญิงปรีชานุสาสน์ (ปฤกษ์ โชติกเสถียร) พี่น้องของนายอานันท์ ปันยารชุนมีดังนี้

  • สุธีรา เกษมศรี ณ อยุธยา (สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ระพีพรรณ เกษมศรี)
  • ปฏดา วัชราภัย (สมรสกับ กระแสร์ วัชราภัย)
    • จรัสศรี วัชราภัย
  • กุนตี พิชเยนทรโยธิน (สมรสกับ เกริกอิทธิ์ พิชเยนทร์โยธิน - บุตรพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์)
    • รศ.อาภรณ์ พุกกะมาน (อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายการศึกษา สมรสกับ สหัส พุกกะมาน ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง)
    • อิทธิ พิชเยนทรโยธิน อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ (สมรสกับ ถวิดา (คอมันตร์) พิชเยนทรโยธิน - ธิดา พันเอกถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับท่านผู้หญิงโมลี)
  • จิตรา วรวรรณ ณ อยุธยา (สมรสกับ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ)
    • หม่อมราชวงศ์ชาญวุฒิ วรวรรณ (สมรสกับ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ธิดาศาสตราจารย์นายแพทย์กษานและท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช)
  • ดุษฎี โอสถานนท์ (สมรสกับ ศ.นพ.ชัชวาลย์ โอสถานนท์)
    • ทิพย์สุดา สุวรรณรักษ์ (สมรสกับ นายแพทย์จินดา สุวรรณรักษ์)
    • นายแพทย์ระพินทร์ โอสถานนท์
  • กรรถนา อิศรเสนา ณ อยุธยา (สมรสกับ อายุศ อิศรเสนา ณ อยุธยา บุตรพระยาภรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา))
    • ชุติมา ลี้ถาวร (สมรสกับ วิทย์ ลี้ถาวร บุตร นายชาญชัย ลี้ถาวร อดีตปลัดกระทรวงการคลัง กับนางประมวล)
  • สุภาพรรณ ชุมพล ณ อยุธยา (สมรสกับ นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์พัชรีสาณ ชุมพล)
  • ดร.รักษ์ ปันยารชุน (สมรสกับ จีรวัสส์ (พิบูลสงคราม) ปันยารชุน - ธิดาจอมพล ป.พิบูลสงครามและท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม)
  • กุศะ ปันยารชุน (สมรสกับ สุพรรณี เบญจฤทธิ์ และ นฤวร ทวีสิน)
  • พันตำรวจเอก ประสัตถ์ ปันยารชุน (สมรสกับ สุขศรี ปันยารชุน)
  • ชัช ปันยารชุน (สมรสกับ มัลลิกา (สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ปันยารชุน ธิดาหม่อมหลวงเต่อ สนิทวงศ์)

ส่วนนายอานันท์สมรสกับหม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์ ธิดาหม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ [1] และหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์ มีธิดา 2 คนคือ

  • นางนันดา ไกรฤกษ์ (สมรสกับ ไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ บุตร นายเพิ่มพูน ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวัง)
  • นางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ (สมรสกับ ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์ บุตร ศ.ดร.เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ ท่านผู้หญิงสมศรี)

นายอานันท์ จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร จากดัลลิชคอจเลจ และปริญญาตรีด้านกฎหมาย (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ พ.ศ. 2498

หลังจบการศึกษา นายอานันท์เข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2510 จากนั้นย้ายไปเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศแคนาดา ประจำประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ

ในปี พ.ศ. 2518 นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เดินทางไปเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อนที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเดินทางไปสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 2519 นายอานันท์ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนจะถูกสั่งพักราชการในปี พ.ศ. 2520 เนื่องจากถูกกล่าวหาโดยรัฐบาลขวาจัดของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ว่ามีแนวคิดฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ จากนั้นถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ก่อนจะลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2522

นายอานันท์ หันมาทำงานด้านธุรกิจ ร่วมงานกับกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน จนกระทั่งเป็นประธานกรรมการกลุ่มบริษัทเมื่อ พ.ศ. 2534 และดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นายอานันท์ขณะเยี่ยมเยือนประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2534

[แก้] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นายอานันท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยแรกระหว่างวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 ถึง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 จากการเสนอชื่อโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอำนวยศิลป์เช่นกัน ทั้งเคยร่วมงานกับนายอานันท์ เมื่อ พ.ศ. 2514 ขณะพันโทสุจินดา (ยศขณะนั้น) เป็นรองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน และนายอานันท์ เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ผลจากการเลือกให้นายอานันท์เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในตอนนั้นช่วยให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนแรกที่เกิดภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ภารกิจหลักของรัฐบาลนายอานันท์ในสมัยแรก คือ การร่างรัฐธรรมนูญ และจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายอานันท์ ได้นำบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ และมีภาพพจน์ที่ดี มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เช่น นายนุกูล ประจวบเหมาะ นายเสนาะ อูนากูล นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์

การบริหารประเทศของนายอานันท์ ได้ประกาศเน้นเรื่อง "ความโปร่งใส" นอกจากนั้นยังดำเนินนโยบายเป็นเอกเทศ ไม่ยอมอยู่ใต้คำสั่งของคณะรสช. ทำให้รัฐบาลได้รับเสียงชื่นชมจากประชาชน และได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ จนได้รับฉายาว่า "รัฐบาลโปร่งใส" และตัวนายอานันท์เองได้รับฉายาว่า "ผู้ดีรัตนโกสินทร์"

นายอานันท์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ในการเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคสามัคคีธรรมได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด จำนวน 79 คน เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคกลับไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ หลังจากนางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ เป็นหนึ่งในบัญชีดำ ผู้ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับการค้ายาเสพติด

พรรคร่วมเสียงข้างมาก ซึ่งประกอบด้วยพรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร จึงสนับสนุนให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ทั้งที่ก่อนหน้านี้ พลเอกสุจินดาเคยประกาศว่า จะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกล่าวในเวลาต่อมาว่า จำเป็นต้อง "เสียสัตย์เพื่อชาติ"

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา ทำให้เกิดกระแสการคัดค้านอย่างรุนแรง มีกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่ท้องสนามหลวงเพิ่มขึ้นจนถึงห้าแสนคน จนนำมาสู่การใช้กำลังปะทะ และปราบปรามในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 หรือ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรง พลเอกสุจินดาประกาศลาออกจากตำแหน่ง ฝ่ายพรรคร่วมเสียงข้างมาก ร่วมกันสนับสนุนให้ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่แล้วนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ได้ตัดสินใจเสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ แทนที่จะเป็นพลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์

นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยรัฐมนตรีส่วนใหญ่ เป็นรัฐมนตรีที่เคยดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยแรก

นายอานันท์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด และนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 20

[แก้] คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ

นายอานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามารับหน้าที่ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ [2]

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  2. ^ เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ
  • วีรชาติ ชุ่มสนิท, 24 นายกรัฐมนตรีไทย, ออลบุ๊คส์พับลิสชิ่ง, 2549 ISBN 974-94553-9-8

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สมัยก่อนหน้า อานันท์ ปันยารชุน สมัยถัดไป
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ 2leftarrow.png นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 1

(2 มีนาคม พ.ศ. 25347 เมษายน พ.ศ. 2535)
2rightarrow.png พลเอก สุจินดา คราประยูร
พลเอกสุจินดา คราประยูร 2leftarrow.png นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 2

(10 มิถุนายน พ.ศ. 253523 กันยายน พ.ศ. 2535)
2rightarrow.png ชวน หลีกภัย


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น