ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

923.1593k9v4
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ผู้แต่ง: คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
ชื่อเรื่อง: พระมหากรุณาธิคุณต่อภาษา วรรณกรรม และห้องสมุด

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรม นามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร"
พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็นสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
ภายหลังเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ไปทรงรักษาพระสุขภาพ ณ เมือง โลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามที่คณะแพทย์ได้ถวายคำแนะนำ และในระหว่างที่ประทับในเมืองโลซานน์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ก็ทรงมีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรก คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งประสูติ ณ โรงพยาบาล มองต์ ซัวซีส์ เมืองโลซานน์ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๔๙๔ และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกเจริญ พระชันษาได้ ๗ เดือนเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และพระราชธิดาได้เสด็จฯ นิวัตประเทศไทยในเดือน ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นทรงย้าย ที่ประทับไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เนื่อง จากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงพระตำหนักจิตรลดา รโหฐาน สำหรับเป็นที่ประทับแทนการที่รัฐบาลจะจัดสร้างพระตำหนัก ขึ้นใหม่ และที่พระที่นั่งอัมพรสถานนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้ทรงมี
พระประสูติกาล พระราชโอรสและพระราชธิดาอีก 3 พระองค์ตามลำดับ คือ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศร สันตติวงศ์เทเวศร ธำรงสุบริบาล อภิคุณูปการมหิตลาดุลยเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชอิสริยยศขึ้นเป็น สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร มุสิกนาม
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนา ดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชอิสริยยศขึ้นเป็น สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐

ที่มา :

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ

ครบ 50 ปี. (2539). พระมหากรุณาธิคุณต่อภาษา
วรรณกรรม และห้องสมุด. กรุงเทพมหานคร:
กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, หน้า 4-7.

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2539).
พระธรรมิกราชของชาวไทย.
กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร
กระทรวงศึกษาธิการ, หน้า 45-46.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com