ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

895.912 วรรณคดีไทย (Thai Literature)
ขุุนช้างขุนแผน
ความเชื่อและประเพณีที่ปรากฎในขุนช้างขุนแผน

บทนำ

ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นจากประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อ และค่านิยมในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน การศึกษาวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน จะทำให้ผู้ศึกษาทราบถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏอยู่ในสมัยที่แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นในช่วงเวลาที่อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากตะวันตกยังไม่แพร่กระจายเข้าสู่สังคมไทยมากนัก โดยพิจารณาจากลักษณะของวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นไทยได้ตรงตามสภาพที่เป็นจริง
ดังนั้น การศึกษาวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน จะทำให้ผู้ศึกษาทราบถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏอยู่ในสมัยที่แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อส่งเสริมเผยแพร่ให้ชาวบ้านนำภูมิปัญญาเหล่านั้นไปสืบทอดปรับปรุงต่อไป

วัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการขับเสภา ให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้ฟังผู้อ่าน และแสดงความสามารถเชิงประพันธ์ของผู้แต่งลักษณะการแต่ง เป็นกลอนเสภาความมุ่งหมาย แต่งถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื้อหา และบทวิเคราะห์ภาพสะท้อนของภูมิปัญญาจากวรรณกรรม
วรรณกรรมเรื่องนี้ให้คุณค่าทางสติปัญญา หรือ ความรู้ ความคิด ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ มากมาย เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและสภาพสังคมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตลอดจนสำนวนโวหารที่ไพเราะ และเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี
วรรณกรรมเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นจากประเพณีต่างๆ ทั้งจากประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนาและประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับเทศกาลต่างๆ ไว้ ดังนี้
1. วิถีชีวิต วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้สะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ วิถีชีวิตตั้งแต่อ้อนออกสู่ความเป็นหนุ่มสาว ทั้งชาววัด ชาววัง และชาวบ้าน หมายรวมถึงวิถีชีวิตเจ้ากับไพร่.... คติ ความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคม วัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาของชาวบ้านในสมัยนั้นได้ตรงตามสภาพที่เป็นจริงมาก
2. ค่านิยม
2.1 ความซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ ในวรรรณกรรมได้กล่าวถึงระบบศักดินาที่ใช้ในการปกครองสมัยก่อน เพราะแม้กระทั่งชื่อเรื่องก็สื่อให้เห็นถึงระบบศักดินาอย่างชัดเจน การถวายตัวในราชสำนัก เพื่อรับใช้และแสดงความซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ ดังเช่น เมื่อพลายงามโตขึ้นได้ถวายตัวเพื่อรับใช้ในราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณ สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ของครอบครัวขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์มาก พระมหากษัตริย์ตรัสสิ่งใดก็จะเชื่อฟัง ตอนที่ พลายงามถวายตัวแด่สมเด็จพระพันวษา

คุณค่า

1. สำนวนโวหาร มีสำนวนดี ใช้ถ้อยคำสามัญแต่ไพเราะ การบรรยายใช้ถ้อยคำเหมาะสมกับ ท้องเรื่อง กระบวนกลอน มีความคมคาย ดูดดื่มใจ ได้รสวรรณคดีทุกรส
2. ด้านวรรณศิลป์ วรรณคดีสโมสรยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนสุภาพ เพราะมีรสวรรณคดีครบทุกรส กระบวนกลอนดี
3. โครงเรื่อง จัดระเบียบโครงเรื่องดี แม้จะมีผู้แต่งหลายคนก็ตาม แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในเรื่องมีความสัมพันธ์กัน บุคลิกภาพของตัวละครก็คงเส้นคงวา ตลอดจนเนื้อเรื่องและลีลากลอนก็ราบรื่นสอดคล้องกัน
4. ด้านค่านิยม ให้ความรู้เกี่ยวกับค่านิยมของคนไทย เช่น ความซื่อสัตย์สุจริตต่อพระมหากษัตริย์ ลูกผู้หญิงจะต้องได้รับการฝึกฝนการบ้านการเรือน ลูกผู้ชายจะต้องเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาบาลี คาถาอาคม อันเป็นประโยชน์ตามความ
5. ด้านความรู้ ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย เช่น ความเชื่อทางเวทมนตร์คาถา ความเชื่อในโชคลางต่าง ๆ เช่น แมงมุมตีอก ขิ้งขกทักถือว่าเป็นลางไม่ดี ความเชื่อมั่นและ ความเคารพในพระพุทธศาสนา ขนบธรรมประเพณี

ที่มา

ขุนช้างขุนแผน. (2554). ค้นเมื่อ สิงหาคม 12, 2554, จาก

http://www.thaigoodview.com/node/39980

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com