หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ ก็มีการตกแต่งเครื่องแต่งกายลิเกตัวพระให้หรูหราอีกครั้ง แต่มิได้กลับไปใช้รูปแบบลิเกทรงเครื่อง เริ่มต้นด้วยการสวมเสื้อกั๊กปักเพชรทับเสื้อคอกลม สวมสนับเพลา แล้วนุ่งผ้าโจงทับอย่างตัวพระของละครรำ สวมถุงน่อง สีขาวเหมือนลิเกทรงเครื่อง เอาแถบเพชร หรือ เพชรหลา มาทำสังเวียนคาดศีรษะประดับขนนกสีขาวของลิเกทรงเครื่อง คาดสะเอวเพชร แถบเชิงสนับเพลาเพชร ฯลฯ มาเป็นลำดับ ส่วนผ้านุ่งใช้ผ้าไหมที่นำเข้ามา จากเมืองจีน เพราะเนื้อแข็งนุ่งแล้วอยู่ทรงไม่ ยับ สำหรับชุดลิเกตัวนางไม่ค่อยมีแบบแผน ส่วนใหญ่เป็นชุดราตรียาวสมัยนิยม มีเครื่องประดับ เช่น มงกุฎ สายสร้อย กำไล ฯลฯ แต่ไม่หรูหราเท่าตัวพระ การแสดงลิเกยุคนี้มีความหลากหลาย เพราะพยายามนำการแสดงประเภทอื่นๆเข้ามาเสริม เพื่อให้การแสดงเป็นที่นิยมอยู่เสมอ เช่น เพลงลูกทุ่งยอดนิยม เพลงจากภาพยนตร์อินเดีย การ เต้นอะโกโก้ การนำม้าขึ้นมาขี่รบกันบนเวที การทำฉากสามมิติให้ดูสมจริง เป็นต้น ลิเกได้มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์เป็นประจำ หนังสือพิมพ์ให้ความสนใจเสนอข่าวเรื่อง ลิเก โรงละครแห่งชาติให้การยอมรับและ จัดให้มีการแสดงลิเกขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยคณะลิเกของนายสมศักดิ์ ภักดี ซึ่งเป็นผู้ หนึ่งที่เริ่มขยายหน้าเวทีให้กว้างออกไปกว่าเดิมเกือบ ๒ เท่า
[กลับหัวข้อหลัก]