ข้าวสาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้าวสาลี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ดิวิชั่น: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Poales
วงศ์: Poaceae
สกุล: Triticum
L.
Species

T. aestivum
T. aethiopicum
T. araraticum
T. boeoticum
T. carthlicum
T. compactum
T. dicoccoides
T. dicoccon
T. durum
T. ispahanicum
T. karamyschevii
T. macha
T. militinae
T. monococcum
T. polonicum
T. spelta
T. sphaerococcum
T. timopheevii
T. turanicum
T. turgidum
T. urartu
T. vavilovii
T. zhukovskyi
References:
  ITIS 42236 2002-09-22

ข้าวสาลี (Triticum spp.) [1] เป็นพืชจำพวกธัญพืช ปลูกมากในแถบประเทศตะวันออกกลาง เหนือเส้นศูนย์สูตร หรือในเขตอบอุ่น หรือเขตหนาวบางเขต เมล็ดข้าวสาลีจะมีแป้งเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 70% และมีแร่ธาตุอื่น ๆ อีกเป็นองค์ประกอบ 30% ต้นข้าวสาลีประกอบไปด้วยธาตุอาหารมากกว่า 100 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแร่ธาตุหลัก ๆ ที่ร่างกายต้องการทุกตัว แร่ธาตุรองที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย วิตามินในกลุ่มบีคอมเพล็กซ์ครบถ้วน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเรื่องของแหล่งโปร – วิตามินเอ ที่สูงที่สุดในบรรดาอาหารต่าง ๆ รวมทั้งมีวิตามินซี อี และเค เป็นจำนวนมาก น้ำต้นข้าวสาลีมีโปรตีนอยู่ 25 % ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากกว่าเมื่อเทียบกับเนื้อปลา ไข่ ผลิตภัณฑ์นม หรือถั่วต่าง ๆ มากไปกว่านี้ยังมีสารต้าน เชื้อรา สารต้านพิษจากเชื้อราที่เรียกว่า laetrile อีกด้วย

ข้าวสาลี เป็นธัญพืชอย่างดีที่มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคกระเพาะ สำหรับผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น ในทางยาใช้เมล็ดแก่ในขนาด 15-30 g. ต้มกินน้ำเป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยให้นอนหลับ และลดความดันโลหิตสูง

[แก้] โภชนาการ

แม้ว่าข้าวสาลีจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ข้าวสาลีก็มีโปรตีนกลูเต็นที่ผู้ป่วยโรคผิดปกติเกี่ยวกับช่องท้อง (Coeliac disease) ไม่สามารถรับโปรตีนชนิดนี้ได้เช่นกัน ซึ่งโปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ใน ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ตและข้าวทริทิเคลี

ข้าวสาลี
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 ก. (3.5 ออนซ์)
พลังงาน 360 kcal   1510 kJ
คาร์โบไฮเดรต     51.8 g
- เส้นใย  13.2 g  
ไขมัน 9.72 g
โปรตีน 23.15 g
วิตามินบี1  1.882 mg   145%
วิตามินบี2  0.499 mg   33%
ไนอะซิน  6.813 mg   45%
วิตามินบี5  0.05 mg  1%
วิตามินบี6  1.3 mg 100%
กรดโฟลิก (B9)  281 μg  70%
แคลเซียม  39 mg 4%
เหล็ก  6.26 mg 50%
แมกนีเซียม  239 mg 65% 
ฟอสฟอรัส  842 mg 120%
โพแทสเซียม  892 mg   19%
สังกะสี  12.29 mg 123%
Footnote text here
ร้อยละของปริมาณที่ต้องการในแต่ละวัน
สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำในสหรัฐอเมริกา
แหล่งที่มา: USDA Nutrient database

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Belderok, Bob & Hans Mesdag & Dingena A. Donner. (2000) Bread-Making Quality of Wheat. Springer. p.3. ISBN 0-7923-6383-3.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น