ดาวศุกร์
-
ระวังสับสนกับ พระศุกร์
ลักษณะของวงโคจร | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
จุดเริ่มยุค J2000 | |||||||
ระยะจุด ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: |
108,941,849 กม. 0.72823128 หน่วยดาราศาสตร์ |
||||||
ระยะจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: |
107,476,002 กม. 0.71843270 หน่วยดาราศาสตร์ |
||||||
กึ่งแกนเอก: | 108,208,926 กม. 0.72333199 หน่วยดาราศาสตร์ |
||||||
เส้นรอบวง ของวงโคจร: |
0.680 เทระเมตร (4.545 หน่วยดาราศาสตร์) |
||||||
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.00677323 | ||||||
คาบดาราคติ: | 224.70096 วัน (0.6151977 ปีจูเลียน) |
||||||
คาบซินอดิก: | 583.92 วัน | ||||||
อัตราเร็วเฉลี่ย ในวงโคจร: |
35.020 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วสูงสุด ในวงโคจร: |
35.259 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วต่ำสุด ในวงโคจร: |
34.784 กม./วินาที | ||||||
ความเอียง: | 3.39471° (3.86° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์) |
||||||
ลองจิจูด ของจุดโหนดขึ้น: |
76.68069° | ||||||
ระยะมุมจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: |
54.85229° | ||||||
ดาวบริวารของ: | ดวงอาทิตย์ | ||||||
จำนวนดาวบริวาร: | ไม่มี | ||||||
ลักษณะทางกายภาพ | |||||||
เส้นผ่านศูนย์กลาง ตามแนวศูนย์สูตร: |
12,103.7 กม. (0.949×โลก) |
||||||
พื้นที่ผิว: | 4.60×108 กม.² (0.147×โลก) |
||||||
ปริมาตร: | 9.28×1011 กม.³ (0.857×โลก) |
||||||
มวล: | 4.8685×1024 กก. (0.815×โลก) |
||||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 5.204 กรัม/ซม.³ | ||||||
ความโน้มถ่วง ที่ศูนย์สูตร: |
8.87 เมตร/วินาที² (0.904 จี) |
||||||
ความเร็วหลุดพ้น: | 10.36 กม./วินาที | ||||||
คาบการหมุน รอบตัวเอง: |
−243.0185 วัน | ||||||
ความเร็วการหมุน รอบตัวเอง: |
6.52 กม./ชม. | ||||||
ความเอียงของแกน: | 2.64° | ||||||
ไรต์แอสเซนชัน ของขั้วเหนือ: |
272.76° (18 ชม. 11 นาที 2 วินาที) |
||||||
เดคลิเนชัน ของขั้วเหนือ: |
67.16° | ||||||
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.65 | ||||||
อุณหภูมิพื้นผิว: เคลวิน |
|
||||||
ลักษณะของบรรยากาศ | |||||||
ความดันบรรยากาศ ที่พื้นผิว: |
9,321.9 กิโลปาสกาล | ||||||
องค์ประกอบ: | ~96.5% คาร์บอนไดออกไซด์ ~3.5% ไนโตรเจน 0.015% ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 0.007% ไอน้ำ 0.002% คาร์บอนมอนอกไซด์ 0.0017% อาร์กอน 0.0012% ฮีเลียม 0.0007% นีออน คาร์บอนิลซัลไฟด์ ปริมาณน้อยมาก ไฮโดรเจนคลอไรด์ ปริมาณน้อยมาก ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ปริมาณน้อยมาก |
ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"
ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀
เนื้อหา |
[แก้] บรรยากาศ
บรรยากาศของดาวศุกร์ ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 97% ไนโตรเจน 3.5% ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ อาร์กอน 0.5% มีชั้นเมฆคาร์บอนไดออกไซด์ที่หนาทึบมาก ปกคลุมดาวศุกร์ทั้งดวงทำให้สะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี จึงเห็นดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างสุกใสมาก และยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวศุกร์ก็ไม่สามารถถ่ายภาพพื้นผิว โดยตรงได้ ต้องอาศัยคลื่นเรดาห์ผ่านทะลุชั้นเมฆแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
อุณหภูมิของดาวศุกร์ ด้วยชั้นเมฆหนาของดาวศุกร์ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก อุณหภูมิบนดาวศุกร์สูงมาก ประมาณ 500 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน [1]
[แก้] การเคลื่อนที่
ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก [2]
[แก้] ยานอวกาศสำรวจดาวศุกร์
ยานอวกาศที่สำรวจดาวศุกร์ มีด้วยกันหลายลำได้แก่
- มาริเนอร์ 2 เมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2505
- เวเนรา 4 เมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2510
- เวเนรา 7 เมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2513
- มาริเนอร์ 10 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517
- เวเนรา 9 เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2518
- เวเนรา 15 เมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2526
- ไพโอเนียร์-วีนัส 2 เมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2521
- แมกเจลแลน เมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2533 [3]
[แก้] อ้างอิง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
|||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ดวงอาทิตย์ |
ดาวเคราะห์ | ดาวพุธ | ดาวศุกร์ | โลก ☾ | ดาวอังคาร ☾ | ||
ดาวพฤหัสบดี ☾ ∅ | ดาวเสาร์ ☾ ∅ | ดาวยูเรนัส ☾ ∅ | ดาวเนปจูน ☾ ∅ | ||||
ดาวเคราะห์แคระ | ซีรีส | ดาวพลูโต • ☾ | เฮาเมอา • ☾ | มาคีมาคี | |||
อีริส • ดิสโนเมีย ☾ | |||||||
วัตถุระบบสุริยะขนาดเล็ก | ดาวเคราะห์น้อย |
กลุ่มวัลแคนอยด์ • ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (กลุ่มอะพอลโล • กลุ่มอาเท็น • กลุ่มอามอร์) • แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์น้อยโทรจัน • เซนทอร์ • เนปจูนโทรจัน • ดวงจันทร์ดาวเคราะห์น้อย • อุกกาบาต • 2 พัลลัส • 3 จูโน • 4 เวสต้า • 10 ไฮเจีย |
|||||
วัตถุพ้นดาวเนปจูน | แถบไคเปอร์ – พลูทิโน: 90482 ออร์กัส • 28978 อิกไซออน – คิวบ์วาโน: 2002 UX25 • 20000 วรุณ • 1992 QB1 • 2002 TX300 • 50000 ควาอัวร์ • 38628 ฮูยา • 2002 AW197 |
||||||
แถบหินกระจาย: 2002 TC302 • 2004 XR190 • 90377 เซดนา | |||||||
ดาวหาง | ดาวหางฮัลเลย์ • ดาวหางเองเคอ • ดาวหางเฮล-บอปป์ • ดาวหางเวสต์ • ดาโมคลอยด์ • เมฆออร์ต |