ดาวเสาร์
-
ระวังสับสนกับ พระเสาร์
ลักษณะของวงโคจร | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
จุดเริ่มยุค J2000 | |||||||
ระยะจุด ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: |
1,503,983,449 กม. (10.05350840 หน่วยดาราศาสตร์) |
||||||
ระยะจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: |
1,349,467,375 กม. (9.02063224 หน่วยดาราศาสตร์) |
||||||
กึ่งแกนเอก: | 1,426,725,413 กม. (9.53707032 หน่วยดาราศาสตร์) |
||||||
เส้นรอบวง ของวงโคจร: |
59.879 หน่วยดาราศาสตร์ | ||||||
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.05415060 | ||||||
คาบดาราคติ: | 10,757.7365 วัน (29.45 ปีจูเลียน) |
||||||
คาบซินอดิก: | 378.09 วัน | ||||||
อัตราเร็วเฉลี่ย ในวงโคจร: |
9.638 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วสูงสุด ในวงโคจร: |
10.182 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วต่ำสุด ในวงโคจร: |
9.136 กม./วินาที | ||||||
ความเอียง: | 2.48446° (5.51° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์) |
||||||
ลองจิจูด ของจุดโหนดขึ้น: |
113.71504° | ||||||
ระยะมุมจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: |
338.71690° | ||||||
จำนวนดาวบริวาร: | 60[1][2] | ||||||
ลักษณะทางกายภาพ | |||||||
เส้นผ่านศูนย์กลาง ตามแนวศูนย์สูตร: |
120,536 กม. (9.449×โลก) |
||||||
เส้นผ่านศูนย์กลาง ตามแนวขั้ว: |
108,728 กม. (8.552×โลก) |
||||||
ความแป้น: | 0.09796 | ||||||
พื้นที่ผิว: | 4.27×1010 กม.² (83.703×โลก) |
||||||
ปริมาตร: | 7.46×1014 กม.³ (688.79×โลก) |
||||||
มวล: | 5.6846×1026 กก. (95.162×โลก) |
||||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 0.6873 กรัม/ซม.³ (น้อยกว่าน้ำ) | ||||||
ความโน้มถ่วง ที่ศูนย์สูตร: |
8.96 เมตร/วินาที² (0.914 จี) |
||||||
ความเร็วหลุดพ้น: | 35.49 กม./วินาที | ||||||
คาบการหมุน รอบตัวเอง: |
0.4440092592 วัน (10 ชม. 39 นาที 22.40000 วินาที) |
||||||
ความเร็วการหมุน รอบตัวเอง: |
9.87 กม./วินาที (35,500 กม./ชม.) |
||||||
ความเอียงของแกน: | 26.73° | ||||||
ไรต์แอสเซนชัน ของขั้วเหนือ: |
40.59° (2 ชั่วโมง 42 นาที 21 วินาที) |
||||||
เดคลิเนชัน ของขั้วเหนือ: |
83.54° | ||||||
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.47 | ||||||
อุณหภูมิ: | 93 K (ที่ยอดเมฆ) | ||||||
อุณหภูมิพื้นผิว: เคลวิน |
|
||||||
ลักษณะของบรรยากาศ | |||||||
ความดันบรรยากาศ ที่พื้นผิว: |
140 กิโลปาสกาล | ||||||
องค์ประกอบ: | >93% ไฮโดรเจน >5% ฮีเลียม 0.2% มีเทน 0.1% ไอน้ำ 0.01% แอมโมเนีย 0.0005% อีเทน 0.0001% ไฮโดรเจนฟอสไฟด์ |
ดาวเสาร์ (อังกฤษ: Saturn) เป็นตัวแทนของเทพแซทเทิร์น (Saturn) เทพแห่งการเพาะปลูกในตำนานของชาวโรมัน ส่วนในตำนานกรีกมีชื่อว่า โครนอส (Cronos) ซึ่งเป็นบิดาแห่งซูส (Zeus) เทพแห่งดาวพฤหัสบดี โดยดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ที่ระยะทาง 1,433 ล้านกิโลเมตร จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบสุริยะรองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีวงแหวนขนาดใหญ่ ที่ประกอบขึ้นจากก้อนหินที่มีน้ำแข็งปะปน สัญลักษณ์แทนดาวเสาร์ คือ ♄
ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก
เนื้อหา |
[แก้] ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก
[แก้] วงแหวน
-
ดูเพิ่มที่ วงแหวนของดาวเสาร์
วงแหวนของดาวเสาร์ ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น
[แก้] ดวงจันทร์บริวาร
-
ดูเพิ่มที่ ดวงจันทร์ของดาวเสาร์
ดาวเสาร์มีดวงจันทร์ซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรแล้ว 60 ดวง โดย 53 ดวงในจำนวนนี้มีชื่อเรียกแล้วและส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็มีอยู่ 7 ดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่จะคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลมได้ (ดังนั้นดวงจันทร์เหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง) นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ดวงจันทร์ที่มีชื่อเสียงอย่างดวงจันทร์ไททัน ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายคลึงกับโลก ทั้งยังมีภูมิทัศน์เป็นทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนและโครงข่ายแม่น้ำ และดวงจันทร์เอนเซลาดัสที่ซ่อนแหล่งน้ำไว้ภายใต้พื้นผิวของมัน เป็นต้น
ดวงจันทร์ 22 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดวงจันทร์โทรจัน (หมายถึงกลุ่มดวงจันทร์เล็ก ๆ ที่โคจรไปตามเส้นทางของดวงจันทร์ดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดวงจันทร์ร่วมวงโคจร และอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดวงจันทร์เหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก)
ส่วนดวงจันทร์ที่เหลืออีก 38 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดวงจันทร์เหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมา หรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินูอิต กลุ่มนอร์ส และกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู่
วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดวงจันทร์ของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดวงจันทร์แล้ว แม้เราจะค้นพบ "ดวงจันทร์เล็ก ๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น
ดวงจันทร์ที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดวงจันทร์ 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อนปี ค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดวงจันทร์ดวงอื่น ๆ มีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดวงจันทร์ดวงเล็ก ๆ ในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาว
[แก้] อ้างอิง
- ^ Saturn Turns 60 - NASA
- ^ Saturn: Moons - NASA
[แก้] หนังสืออ่านเพิ่ม
- Lovett, L.; Horvath, J.; Cuzzi, J. (2006). Saturn: A New View. New York: Harry N. Abrams, Inc.. ISBN 0810930900.
- Karttunen, H.; Kröger, P.; et al. (2007). Fundamental Astronomy. New York: Springer, 5th edition. ISBN 3540341439.
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Saturn profile at NASA's Solar System Exploration site
- Saturn Fact Sheet, by NASA
- Gazeteer of Planetary Nomenclature - Saturn (USGS)
- Cassini-Huygens mission to Saturn, by NASA
- Research News about Saturn
- General information about Saturn
- Studies on the Rings of Saturn
- Astronomy Cast: Saturn
|
|
|||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ดวงอาทิตย์ |
ดาวเคราะห์ | ดาวพุธ | ดาวศุกร์ | โลก ☾ | ดาวอังคาร ☾ | ||
ดาวพฤหัสบดี ☾ ∅ | ดาวเสาร์ ☾ ∅ | ดาวยูเรนัส ☾ ∅ | ดาวเนปจูน ☾ ∅ | ||||
ดาวเคราะห์แคระ | ซีรีส | ดาวพลูโต • ☾ | เฮาเมอา • ☾ | มาคีมาคี | |||
อีริส • ดิสโนเมีย ☾ | |||||||
วัตถุระบบสุริยะขนาดเล็ก | ดาวเคราะห์น้อย |
กลุ่มวัลแคนอยด์ • ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (กลุ่มอะพอลโล • กลุ่มอาเท็น • กลุ่มอามอร์) • แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์น้อยโทรจัน • เซนทอร์ • เนปจูนโทรจัน • ดวงจันทร์ดาวเคราะห์น้อย • อุกกาบาต • 2 พัลลัส • 3 จูโน • 4 เวสต้า • 10 ไฮเจีย |
|||||
วัตถุพ้นดาวเนปจูน | แถบไคเปอร์ – พลูทิโน: 90482 ออร์กัส • 28978 อิกไซออน – คิวบ์วาโน: 2002 UX25 • 20000 วรุณ • 1992 QB1 • 2002 TX300 • 50000 ควาอัวร์ • 38628 ฮูยา • 2002 AW197 |
||||||
แถบหินกระจาย: 2002 TC302 • 2004 XR190 • 90377 เซดนา | |||||||
ดาวหาง | ดาวหางฮัลเลย์ • ดาวหางเองเคอ • ดาวหางเฮล-บอปป์ • ดาวหางเวสต์ • ดาโมคลอยด์ • เมฆออร์ต |