เทคโนโลยีก้าวไกล   วิถีไทยยังคงอยู่
ดวงอาทิตย์
ดาวพุธ
ดวงศุกร์
โลก
ดาวอังคาร
ดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์
ดาวยูเรนัส
ดาวเนปจูน
ดาวพลูโต

 

แบบทดสอบที่ 1

แบบทดสอบที่ 2

แบบทดสอบที่ 3

 

ดาวพลูโต  

ปลด'ดาวพลูโต'ออกจากระบบสุริยะจักรวาล

            นักดาราศาสตร์ชั้นนำของโลกพร้อมใจกันปลดดาวพระยม หรือ ดาวพลูโต ออกจากดาวนพเคราะห์ของสุริยะจักรวาลแล้ว จำนวนดาวนพเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลจาก 9 ดวงเหลือเพียง8 ดวง
ที่ประชุมนักดาราศาสตร์ ของสหภาพนักดาราศาสตร์นานาชาติ หรือ The International Astronomical Union's (IAU)
ประมาณ 2,500 คน ซึ่งร่วมประชุมกันที่กรุง ปร๊าก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ได้มีมติถอนดาวพลูโต ออกจากการเป็นดาวบริวารของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะจักรวาล
โดยอ้างว่า ดาวพลูโต ไม่ได้มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนกับดาวเคราะห์บริวารอื่นๆ และเตรียมจัดฐานะให้ดาวพลูโต เป็นเพียงดาวเคราะห์แคระ ส่งผลให้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ที่ยอมรับโดยนักดาราศาสตร์นานาชาติ เหลือเพียง 8 ดวงเท่านั้น และจะส่งผลต่อแบบเรียนและฐานข้อมูลทางวิชาการ ที่ยอมรับกันมาโดยตลอดว่า ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์บริวารดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล ทั้งนี้ ดาวพลูโต ถูกค้นพบโดย Clyde Tombaugh ชาวสหรัฐ เมื่อปี 1930

ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดวงจันทร์ 7 ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรตัน) ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 3 ดวง ชื่อ คารอน (มีขนาดประมาณ 1/5 ของพลูโต) นิกซ์ และไฮดรา (2 ดวงหลัง ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548)

พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาลในเทพนิยายโรมัน หรือ เรียกว่า ฮาเดส ในเทพนิยายกรีก สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งที่ตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า พลูโต ก็เพื่อให้มีตัวอักษร "P-L" ในชื่อ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ ในภาษาไทยอาจเรียกพลูโต ว่า ดาวยม หมายถึง ยมโลก หรือ นรก ซึ่งก็มีความหมายพ้องกับชื่อ พลูโต หรือ ฮาเดส ในตำนานกรีก

ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2473 โดยบังเอิญ มีการคำนวณหาตำแหน่งดาวเคราะห์ดวงใหม่ถัดจาก ดาวเนปจูนโดยใช้ฐานข้อมูลการเคลื่อนที่ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งไคลด์ ทอมบอก์แห่งหอดูดาว โลเวลล์ ในรัฐแอริโซนา ได้ทำการสำรวจท้องฟ้า และพบดาวพลูโตในที่สุด

ขณะนั้นถือว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กที่สุด เป็นเวลา 76 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2473-2549

หลังจากที่ได้ค้นพบดาวพลูโตแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า ขนาดของดาวพลูโต เล็กเกินกว่าที่จะรบกวน วงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นได้ จะต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงจะรบกวนดาวเนปจูนได้ ดังนั้นการค้นหาดาวเคราะห์ X จึงมีขึ้นต่อไป แต่ก็ไม่มีสิ่งใดถูกค้นพบเพิ่มเติม จนกระทั่ง ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้ข้อมูลด้านมวลสารของดาวเนปจูนเพิ่มเติม ข้อถกเถียงดังกล่าวจึงหมดไป โดยไม่จำเป็นต้องมีดาวเคราะห์ดวงที่ 10

อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษล่าสุดมีการค้นพบ วัตถุที่คล้ายดาวพลูโตมากมาย ในบริเวณเดียวกับดาวพลูโตที่เรียกว่า แถบไคเปอร์ และดาวพลูโตก็มีลักษณะไม่สอดคล้องกับกำเนิดของดาวเคราะห์อย่าง ดาวเคราะห์ก๊าซ หรือ ดาวเคราะห์หิน นำมาสู่หัวข้อในที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก

TOP

 

 

วงโคจรของ  ดาวพลูโต

วงโคจร

 

ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด:  7,375,927,931 กม.(49.30503287 หน่วยดาราศาสตร์)

ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด:  4,436,824,613 กม.(29.65834067 หน่วยดาราศาสตร์)

กึ่งแกนเอก:   5,906,376,272 กม.(39.48168677 หน่วยดาราศาสตร์)

เส้นรอบวงของวงโคจร:    36.530 เทระเมตร(244.186 หน่วยดาราศาสตร์)

ความเยื้องศูนย์กลาง:   0.24880766

คาบดาราคติ:   90,613.3058 วัน(248.09 ปีจูเลียน)

คาบซินอดิก:   366.74 วัน

อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร:   4.666 กม./วินาที

อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร:   6.112 กม./วินาที

อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร:   3.676 กม./วินาที

ความเอียง:   17.14175°(11.88° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)

ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น:   110.30347°

ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด:   113.76329°

จำนวนดาวบริวาร    3

TOP

 

 

 

ลักษณะทางกายภาพของ  ดาวพลูโต

ลักษณะทางกายภาพ

 

เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย:  2,390 กม.(0.180×โลก)

พื้นที่ผิว:   1.795×107 กม.²(0.033×โลก)

ปริมาตร:   7.15×109 กม.³(0.0066×โลก)

มวล:    1.25×1022กก.(0.0021×โลก)

ความหนาแน่นเฉลี่ย:   1.750 กรัม/ซม.³

ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร:   0.58 เมตร/วินาที²(0.059 จี)

ความเร็วหลุดพ้น:   1.2 กม./วินาที

คาบการหมุนรอบตัวเอง:   6.387 วัน(6 ชม. 9 นาที 17.6 วินาที)

ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง:  47.18 กม./ชม.

ความเอียงของแกน:   119.61°

ไรต์แอสเซนชันของขั้วเหนือ:   313.02°(20 ชม. 52 นาที 5 วินาที)

เดคลิเนชันของขั้วเหนือ:  9.09°

อัตราส่วนสะท้อน:   0.30

 TOP

 

 

  บรรยากาศของ ดาวพลูโต


บรรยากาศ

 

ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว:  0.15-0.30 กิโลปาสกาล

องค์ประกอบ:  ไนโตรเจน และ มีเทน

 

TOP