รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย
มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก[1] เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) [2] และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) [3] และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล[4]
ในปี พ.ศ. 2543 มีการประมาณว่านกประจำถิ่น 159 ชนิดและนกอพยพ 23 ชนิดกำลังถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถางป่า การลักลอบตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย การล่าสัตว์และการเสื่อมสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในที่ราบลุ่ม ชนิดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้กลายไปเป็นพื้นที่ทางการเกษตรและชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าที่ซึ่งมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตรและการค้าทำให้พื้นที่ป่าสูญหายไปหรือกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม[5]
นกในประเทศไทยเป็นนกชนิดหลักๆของเขตนิเวศอินโดมาลายาซึ่งสัมพันธ์กับอนุทวีปอินเดียในทางตะวันตก และโดยเฉพาะพื้นที่คาบสุมทรทางตอนใต้ถึงเขตชีวภาพซุนดาในทางตะวันออกเฉียงใต้ ภูเขาทางเหนือคือที่ราบสูงทิเบตที่ทอดตัวขวางไว้ซึ่งมีนกภูเขาหลายชนิดและในฤดูหนาวจะมีนกอพยพมาจากทางตะวันออกของเขตนิเวศพาลีอาร์กติกและเทือกเขาหิมาลัย
ประเทศไทยมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ทำให้มีนกถิ่นเดียวเพียงไม่กี่ชนิด บางทีนกที่สวยงามอย่างนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรซึ่งพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว อาจสูญพันธุ์ไปแล้วก็ได้[7][8]
[แก้] นกเป็ดผี
- อันดับ: Podicipediformes วงศ์: Podicipedidae
นกเป็ดผีเป็นนกน้ำขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ปกติจะพบในแหล่งน้ำจืด แต่บ่อยครั้งก็พบในทะเลในช่วงฤดูอพยพและฤดูหนาว นิ้วเท้าแผ่เป็นครีบแต่ไม่ติดกันเป็นพังผืดสามารถว่ายและดำน้ำได้ดีเยี่ยม มี 20 ชนิดทั่วโลก แต่นกเป็ดผีอเลโอทรา (Alaotra Grebe) อาจสูญพันธุ์ไปแล้ว[9] ในประเทศไทยพบเพียง 3 ชนิด
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกเป็ดผีเล็ก | Tachybaptus ruficollis | นกประจำถิ่นพบบ่อย |
นกเป็ดผีใหญ่ | Podiceps cristatus | นกอพยพ หายากมาก |
นกเป็ดผีคอดำ | Podiceps nigricollis | นกอพยพ หายากมาก |
[แก้] นกจมูกหลอด
- อันดับ: Procellariiformes วงศ์: Procellariidae
นกจมูกหลอดเป็นนกทะเลขนาดเล็กถึงใหญ่ มีจมูกเป็นหลอดเหนือโคนปาก รูจมูกมีผนังกั้นกลาง มี 75 ชนิดทั่วโลก พบสามชนิดในประเทศไทย[10]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกจมูกหลอดลาย | Calonectris leucomelas | นกอพยพ หายากมาก |
นกจมูกหลอดหางพลั่ว | Puffinus pacificus | นกพลัดหลง |
นกจมูกหลอดหางสั้น | Puffinus tenuirostris | นกพลัดหลง[11] |
[แก้] นกโต้คลื่น
นกโต้คลื่นเป็นนกขนาดเล็กที่ใช้เวลาส่วนมากหากินในทะเล จะกลับเข้าฝั่งเพื่อผสมพันธุ์เท่านั้น กินสัตว์พวกกุ้ง กั้ง ปู และปลาขนาดเล็กที่จับได้จากผิวน้ำขณะบินโฉบ มี 22 ชนิดเป็นทั่วโลก มีเพียงชนิดเดียวที่พบในประเทศไทย[10]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกโต้คลื่นสีคล้ำ | Oceanodroma monorhis | นกพลัดหลง |
[แก้] นกร่อนทะเล
- อันดับ: Pelecaniformes วงศ์: Phaethontidae
นกร่อนทะเลเป็นนกรูปร่างเพรียวสีขาวหากินในมหาสมุทรเขตร้อน มีขนหางคู่ตรงกลางยาวเป็นพิเศษ หัวและปีกที่ยาวมีสีดำแต้ม มี 3 ชนิดทั่วโลก ประเทศไทยพบ 2 ชนิด[12]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกร่อนทะเลหางแดง | Phaethon rubricauda | นกพลัดหลง |
นกร่อนทะเลหางขาว | Phaethon lepturus | นกพลัดหลง |
[แก้] นกกระทุง
- อันดับ: Pelecaniformes วงศ์: Pelecanidae
นกกระทุงเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ มีลักษณะพิเศษคือมีถุงใต้จงอยปาก นิ้วเท้ามีพังผืดยึดทั้ง 4 นิ้ว มี 8 ชนิดทั่วโลก ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว[12]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระทุง | Pelecanus philippensis | หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[13] |
[แก้] นกบูบบี
- อันดับ: Pelecaniformes วงศ์: Sulidae
นกบูบบีเป็นนกทะเลขนาดกลางถึงใหญ่ มี 9 ชนิดทั่วโลก พบ 3 ชนิดในประเทศไทย[12]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกบูบบีหน้าดำ | Sula dactylatra | นกพลัดหลง |
นกบูบบีตีนแดง | Sula sula | นกพลัดหลง |
นกบูบบีสีน้ำตาล | Sula leucogaster | นกอพยพ หายาก เคยเป็นนกประจำถิ่น |
[แก้] นกกาน้ำ
- อันดับ: Pelecaniformes วงศ์: Phalacrocoracidae
นกกาน้ำเป็นนกขนาดกลางถึงใหญ่ กินปลาเป็นอาหาร ส่วนมากมีขนสีดำ บางชนิดเป็นลายขาว-ดำ หรือสีสันสดใส มี 38 ชนิดทั่วโลก พบในประเทศไทย 3 ชนิด[12]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกาน้ำปากยาว | Phalacrocorax fuscicollis | นกอพยพ หายาก เคยเป็นนกประจำถิ่น |
นกกาน้ำใหญ่ | Phalacrocorax carbo | |
นกกาน้ำเล็ก | Phalacrocorax niger |
[แก้] นกอ้ายงั่ว
- อันดับ: Pelecaniformes วงศ์: Anhingidae
นกอ้ายงั่วมีอีกชื่อหนึ่งคือ"นกงู"เพราะคอที่ยาวของมัน ซึ่งดูคล้ายงูเมื่อมันลงว่ายน้ำ มี 4 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[12]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกอ้ายงั่ว | Anhinga melanogaster | นกอพยพ หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก เคยเป็นนกประจำถิ่น[14] |
[แก้] นกโจรสลัด
- อันดับ: Pelecaniformes วงศ์: Fregatidae
นกโจรสลัดเป็นนกทะเลขนาดใหญ่มักจะพบทั่วไปในทะเลเขตร้อน มีขนาดใหญ่ ขนมีสีดำและสีขาวหรือสีดำสนิท มีปีกยาว และหางเป็นแฉกลึก เพศผู้มีถุงลมใต้คอ มีช่วงปีกใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว มี 5 ชนิดทั่วโลก พบ 3 ชนิดในประเทศไทย[12]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส | Fregata andrewsi | นกอพยพ |
นกโจรสลัดใหญ่ | Fregata minor | หายาก |
นกโจรสลัดเล็ก | Fregata ariel | นกอพยพ |
[แก้] นกยาง
- อันดับ: Ciconiiformes วงศ์: Ardeidae
นกยางเป็นนกลุยน้ำขนาดกลางถึงใหญ่ หลายชนิดมีคอยาว มี 61 ชนิดทั่วโลก พบ 20 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระสานวล | Ardea cinerea | นกอพยพ, เคยขยายพันธุ์ในประเทศไทย |
นกกระสาใหญ่ | Ardea sumatrana | หายากมาก |
นกกระสาแดง | Ardea purpurea | นกอพยพ |
นกยางโทนใหญ่ | Ardea alba | |
นกยางโทนน้อย | Egretta intermedia | นกอพยพ |
นกยางเปีย | Egretta garzetta | |
นกยางจีน | Egretta eulophotes | นกอพยพ, หายากมาก เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วโลก[16] |
นกยางทะเล | Egretta sacra | |
นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย | Ardeola grayii | |
นกยางกรอกพันธุ์จีน | Ardeola bacchus | นกอพยพ |
นกยางกรอกพันธุ์ชวา | Ardeola speciosa | |
นกยางควาย | Bubulcus ibis | |
นกยางเขียว | Butorides striata | |
นกแขวก | Nycticorax nycticorax | |
นกยางลายเสือ | Gorsachius melanolophus | |
นกยางไฟหัวดำ | Ixobrychus sinensis | |
นกยางไฟหัวเทา | Ixobrychus eurhythmus | นกอพยพผ่าน |
นกยางไฟธรรมดา | Ixobrychus cinnamomeus | |
นกยางดำ | Ixobrychus flavicollis | |
นกยางแดงใหญ่ | Botaurus stellaris | นกอพยพ |
[แก้] นกกระสาและนกตะกรุม
- อันดับ: Ciconiiformes วงศ์: Ciconiidae
นกกระสาและนกตะกรุมเป็นนกลุยน้ำขนาดใหญ่ ขายาว คอยาว ปากยาวหนา หลายชนิดเป็นนกอพยพ มี 19 ชนิดทั่วโลก พบ 10 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระสาปากเหลือง | Mycteria cinerea | เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วโลก[17] |
นกกาบบัว | Mycteria leucocephala | |
นกปากห่าง | Anastomus oscitans | |
นกกระสาดำ | Ciconia nigra | นกอพยพ หายาก |
นกกระสาคอยาว | Ciconia episcopus | หายากมาก |
นกกระสาคอขาวปากแดง | Ciconia stormi | |
นกกระสาขาว | Ciconia ciconia | หายากมาก |
นกกระสาคอดำ | Ephippiorhynchus asiaticus | ถูกคุกคามทั่วโลก[18] |
นกตะกรุม | Leptoptilos javanicus | หายาก |
นกตะกราม | Leptoptilos dubius | ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก[19] |
[แก้] นกกุลาและนกปากช้อน
- อันดับ: Ciconiiformes วงศ์: Threskiornithidae
นกกุลาและนกปากช้อนเป็นนกน้ำขนาดกลางถึงใหญ่ ขายาว ปากยาวโค้งหรือแผ่แบนตรงปลาย มี 36 ชนิดทั่วโลกพบ 6 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกช้อนหอยขาว | Threskiornis melanocephalus | ถูกคุกคามทั่วโลก[20] |
นกช้อนหอยดำ | Pseudibis davisoni | ใกล้สูญพันธุ์ถึงขั้นวิกฤตแล้วทั่วโลก[21] |
นกช้อนหอยใหญ่ | Pseudibis gigantea | ใกล้สูญพันธุ์ถึงขั้นวิกฤตแล้วทั่วโลก[22] |
นกช้อนหอยดำเหลือบ | Plegadis falcinellus | |
นกปากช้อนหน้าขาว | Platalea leucorodia | นกอพยพ หายาก |
นกปากช้อนหน้าหน้าดำ | Platalea minor | นกอพยพ หายาก ใกล้สูญพันธุ์แล้วทั่วโลก[23] |
[แก้] เป็ดและห่าน
- อันดับ: Anseriformes วงศ์: Anatidae
นกในวงศ์นี้ประกอบไปด้วยเป็ด ห่าน และ หงส์ มีพังผืดที่เท้า ปากแบน ขนเคลือบด้วยไขมันกันน้ำได้ดี มี 131 ชนิดทั่วโลก พบ 25 ชนิดในประเทศไทย[24]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
เป็ดแดง | Dendrocygna javanica | |
ห่านเทาปากดำ | Anser cygnoides | นกพลัดหลง |
ห่านเทาปากชมพู | Anser anser | นกพลัดหลง |
ห่านหัวลาย | Anser indicus | นกอพยพ หายากมาก |
เป็ดพม่า | Tadorna ferruginea | นกอพยพ หายาก |
เป็ดเชลดัก | Tadorna tadorna | นกอพยพ, หายากมาก |
เป็ดก่า | Cairina scutulata | นกประจำถิ่น หายากมาก ใกล้สูญพันธุ์[25] |
เป็ดหงส์ | Sarkidiornis melanotos | นกประจำถิ่น หายาก |
เป็ดคับแค | Nettapus coromandelianus | |
เป็ดแมนดาริน | Aix galericulata | นกอพยพ หายากมาก |
เป็ดปากสั้น | Anas penelope | นกอพยพ |
เป็ดเปียหน้าเขียว | Anas falcata | นกพลัดหลง |
เป็ดเทาก้นดำ | Anas strepera | นกอพยพ หายากมาก |
เป็ดปีกเขียว | Anas crecca | นกอพยพ |
เป็ดหัวเขียว | Anas platyrhynchos | นกพลัดหลง |
เป็ดเทา | Anas poecilorhyncha | นกอพยพ หายาก |
เป็ดหางแหลม | Anas acuta | นกอพยพ |
เป็ดลาย | Anas querquedula | นกอพยพ |
เป็ดปากพลั่ว | Anas clypeata | นกอพยพ |
เป็ดปากแดง | Netta rufina | นกอพยพ หายากมาก |
เป็ดโปชาดหลังขาว | Aythya ferina | นกอพยพ หายากมาก |
เป็ดดำหัวสีน้ำตาล | Aythya nyroca | นกอพยพ หายาก |
เป็ดดำหัวดำ | Aythya baeri | นกอพยพ หายาก |
เป็ดเปีย | Aythya fuligula | นกอพยพ หายาก |
[แก้] เหยี่ยวออสเปร
- อันดับ: Falconiformes วงศ์: Pandionidae
เหยี่ยวออสเปรเป็นชนิดเดียวในสกุล และวงศ์ เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลาง กินปลาเป็นอาหารหลัก มีการกระจายพันธุ์ทั่วโลก[26]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
เหยี่ยวออสเปร | Pandion haliaetus | นกอพยพ |
[แก้] เหยี่ยวและนกอินทรี
- อันดับ: Falconiformes วงศ์: Accipitridae
เหยี่ยวและนกอินทรีเป็นนกล่าเหยื่อที่มีจะงอยปากโค้งงอไว้สำหรับฉีกเนื้อจากเหยื่อ มีขาที่แข็งแรง อุ้งเท้าที่ทรงพลัง และมีสายตาแหลมคม มี 233 ชนิดทั่วโลก พบ 46 ชนิดในประเทศไทย[27]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
เหยี่ยวกิ้งก่าสีน้ำตาล | Aviceda jerdoni | |
เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ | Aviceda leuphotes | |
เหยี่ยวผึ้ง | Pernis ptilorhynchus | |
เหยี่ยวค้างคาว | Macheiramphus alcinus | หายาก ถูกคุกคาม |
เหยี่ยวขาว | Elanus caeruleus | |
เหยี่ยวดำ | Milvus migrans | นกอพยพ |
เหยี่ยวแดง | Haliastur indus | |
นกออก | Haliaeetus leucogaster | |
นกอินทรีหัวสีนวล | Haliaeetus leucoryphus | พบยากมาก |
นกอินทรีหางขาว | Haliaeetus albicilla | นกพลัดหลง หายากมาก |
เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา | Ichthyophaga humilis | นกประจำถิ่น หายาก |
เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา | Ichthyophaga ichthyaetus | หายากมาก เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์[28] |
แร้งเทาหลังขาว | Gyps bengalensis | อาจจะสูญพันธุ์แล้ว |
แร้งสีน้ำตาล | Gyps indicus | อาจจะสูญพันธุ์แล้ว |
แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย | Gyps himalayensis | นกพลัดหลง |
แร้งดำหิมาลัย | Aegypius monachus | นกอพยพ หายาก |
พญาแร้ง | Sarcogyps calvus | |
เหยี่ยวนิ้วสั้น | Circaetus gallicus | นกอพยพผ่าน นกอพยพ หายาก |
เหยี่ยวรุ้ง | Spilornis cheela | |
เหยี่ยวทุ่งพันธุ์ยูเรเซีย | Circus aeruginosus | นกอพยพ หายาก |
เหยี่ยวทุ่งพันธุ์เอเชียตะวันออก | Circus spilonotus | นกอพยพ |
เหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ | Circus cyaneus | นกอพยพ หายาก |
เหยี่ยวทุ่งสีจาง | Circus macrourus | นกพลัดหลง |
เหยี่ยวด่างดำขาว | Circus melanoleucos | นกอพยพ |
เหยี่ยวนกเขาหงอน | Accipiter trivirgatus | |
เหยี่ยวนกเขาชิครา | Accipiter badius | |
เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน | Accipiter soloensis | นกอพยพผ่าน นกอพยพ |
เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น | Accipiter gularis | นกอพยพผ่าน และ นกอพยพ |
เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก | Accipiter virgatus | |
เหยี่ยวนกกระจอกใหญ่ | Accipiter nisus | นกอพยพ หายาก |
เหยี่ยวนกเขาท้องขาว | Accipiter gentilis | นกอพยพ หายาก |
เหยี่ยวปีกแดง | Butastur liventer | |
เหยี่ยวหน้าเทา | Butastur indicus | นกอพยพผ่าน นกอพยพ |
เหยี่ยวทะเลทราย | Buteo buteo | นกอพยพ |
นกอินทรีดำ | Ictinaetus malayensis | |
นกอินทรีปีกลาย | Aquila clanga | นกอพยพผ่าน นกอพยพ |
นกอินทรีทุ่งหญ้าสเต็ป | Aquila nipalensis | นกพลัดหลง |
นกอินทรีหัวไหล่ขาว | Aquila heliaca | นกอพยพ หายาก |
นกอินทรีแถบปีกดำ | Aquila fasciatus | หายาก |
นกอินทรีเล็ก | Aquila pennatus | นกอพยพผ่าน นกอพยพ หายาก |
เหยี่ยวท้องแดง | Aquila kienerii | |
เหยี่ยวต่างสี | Spizaetus cirrhatus | |
เหยี่ยวภูเขา | Spizaetus nipalensis | |
เหยี่ยวดำท้องขาว | Spizaetus alboniger | |
เหยี่ยวหงอนสีน้ำตาลท้องขาว | Spizaetus nanus |
[แก้] เหยี่ยวปีกแหลม
- อันดับ: Falconiformes วงศ์: Falconidae
นกในวงศ์เหยี่ยวปีกแหลมจะเป็นนกล่าเหยื่อเวลากลางวัน ต่างจากนกอินทรีและเหยี่ยวคือจะฆ่าเหยื่อด้วยจงอยปากไม่ใช่อุ้งเท้า มี 62 ชนิดทั่วโลก พบ 9 ชนิดในประเทศไทย[27]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว | Polihierax insignis | |
เหยี่ยวแมลงปอขาแดง | Microhierax caerulescens | |
เหยี่ยวแมลงปอขาดำ | Microhierax fringillarius | |
เหยี่ยวเคสเตรล | Falco tinnunculus | นกอพยพ |
เหยี่ยวตีนแดง | Falco amurensis | นกอพยพผ่าน หายากมาก |
เหยี่ยวเมอร์ลิน | Falco columbarius | |
เหยี่ยวฮอบบี้พันธุ์ยุโรป | Falco subbuteo | นกอพยพ หายาก |
เหยี่ยวฮอบบี้พันธุ์เอเชีย | Falco severus | |
เหยี่ยวเพเรกริน | Falco peregrinus | นกอพยพ |
[แก้] ไก่ฟ้า นกกระทา และนกคุ่ม
- อันดับ: Galliformes วงศ์: Phasianidae
ไก่ฟ้า นกกระทา และนกคุ่มเป็นนกหากินบนพื้นดิน มีขนาดเล็กถึงใหญ่ ปีกสั้น มี 156 ชนิดทั่วโลก พบ 26 ชนิดในประเทศไทย[29]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระทาทุ่ง | Francolinus pintadeanus | |
ไก่นวล | Rhizothera longirostris | |
นกคุ่มญี่ปุ่น | Coturnix japonica | นกอพยพ หายากมาก |
นกคุ่มอกดำ | Coturnix coromandelica | |
นกคุ่มสี | Coturnix chinensis | |
นกกระทาดงคอสีแสด | Arborophila rufogularis | |
นกกระทาดงอกเทา | Arborophila orientalis | นกพลัดหลง บางครั้งแบ่งเป็น A. campbelli[3] |
นกกระทาดงอกสีน้ำตาล | Arborophila brunneopectus | |
นกกระทาดงจันทบูร | Arborophila cambodiana | |
นกกระทาดงแข้งเขียว | Arborophila chloropus | |
นกกระทาดงปักษ์ใต้ | Arborophila charltonii | หายาก ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก[30] |
นกกระทาสองเดือย | Caloperdix oculea | |
ไก่จุก | Rollulus rouloul | หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[31] |
นกกระทาป่าไผ่ | Bambusicola fytchii | |
ไก่ป่า | Gallus gallus | |
ไก่ฟ้าหลังเทา | Lophura leucomelanos | |
ไก่ฟ้าหลังขาว | Lophura nycthemera | |
ไก่ฟ้าหางสีน้ำตาล | Lophura erythrophthalma | |
ไก่ฟ้าหน้าเขียว | Lophura ignita | หายาก ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก[32] |
ไก่ฟ้าพญาลอ | Lophura diardi | |
ไก่ฟ้าหางลายขวาง | Syrmaticus humiae | หายาก |
นกแว่นสีเทา | Polyplectron bicalcaratum | |
นกแว่นสีน้ำตาล | Polyplectron malacense | ใกล้สูญพันธุ์[5] |
นกหว้า | Argusianus argus | |
นกยูงไทย | Pavo muticus | หายาก, ลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก |
[แก้] นกคุ่มอืด
- อันดับ: Gruiformes วงศ์: Turnicidae
นกคุ่มอืดเป็นนกขนาดเล็ก หากินบนพื้นดิน เพศเมียตัวใหญ่ สีสดใส และเป็นฝ่ายเกี้ยวพาราสี เพศผู้กกไข่และเลี้ยงดูลูก มี 16 ชนิดทั่วโลก พบ 3 ชนิดในประเทศไทย[29]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกคุ่มอืดเล็ก | Turnix sylvatica | |
นกคุ่มอืดใหญ่ | Turnix tanki | |
นกคุ่มอกลาย | Turnix suscitator |
[แก้] นกกระเรียน
- อันดับ: Gruiformes วงศ์: Gruidae
นกกระเรียนเป็นนกขนาดใหญ่ ขายาว คอยาว มี 15 ชนิดทั่วโลก พบ 2 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระเรียนไทย | Grus antigone | เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วโลก[33] |
นกกระเรียนพันธุ์ยุโรป | Grus grus | นกพลัดหลง |
[แก้] นกอัญชัน
- อันดับ: Gruiformes วงศ์: Rallidae
นกอัญชันเป็นนกขนาดเล็กถึงกลาง อาศัยอยู่ในดงพืชที่ขึ้นหนาแน่นใกล้ทะเลสาบ บึง หรือ แม่น้ำ หลบซ่อนตัวเก่ง ส่วนมากมีขาแข็งแรง นิ้วยาว ปีกสั้นกลม มี 143 ชนิดทั่วโลก พบ 15 ชนิดในประเทศไทย[34]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกอัญชันป่าขาแดง | Rallina fasciata | |
นกอัญชันป่าขาเทา | Rallina eurizonoides | หายาก, นกอพยพ |
นกอัญชันอกเทา | Gallirallus striatus | |
นกอัญชันอกสีไพล | Rallus aquaticus | นกอพยพ หายาก |
นกกวัก | Amaurornis phoenicurus | |
นกอัญชันหางดำ | Amaurornis bicolor | หายาก |
นกอัญชันเล็ก | Porzana pusilla | นกอพยพ |
นกอัญชันเล็กลายจุด | Porzana porzana | นกอพยพ หายากมาก |
นกหนูแดง | Porzana fusca | |
นกอัญชันจีน | Porzana paykullii | นกอพยพ หายากมาก |
นกอัญชันคิ้วขาว | Porzana cinerea | |
นกอีลุ้ม | Gallicrex cinerea | นกอพยพ นกประจำถิ่น |
นกอีโก้ง | Porphyrio porphyrio | |
นกอีล้ำ | Gallinula chloropus | |
นกคู้ต | Fulica atra | นกอพยพ |
[แก้] นกฟินฟุต
- อันดับ: Gruiformes วงศ์: Heliornithidae
นกฟินฟุตเป็นนกที่คล้ายเป็ด นิ้วเท้าเป็นแผ่นกลีบ มี 3 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[15][35]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกฟินฟุต | Heliopais personata | นกอพยพ, นกอพยพผ่าน |
[แก้] นกอีแจว
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Jacanidae
นกอีแจวเป็นนกลุยน้ำที่พบได้ทั่วโลกในเขตร้อน มีขายาว นิ้วยาว สามารถเดินบนพืชลอยน้ำได้ มี 8 ชนิดทั่วโลก พบ 2 ชนิดในประเทศไทย[36]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกอีแจว | Hydrophasianus chirurgus | นกอพยพ นกประจำถิ่น |
นกพริก | Metopidius indicus |
[แก้] นกโป่งวิด
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Rostratulidae
นกโป่งวิดมีขาสั้นปากยาวคล้ายนกปากซ่อม แต่มีสีสดใสกว่า มี 2 ชนิดทั่วโลกประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว[36]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกโป่งวิด | Rostratula benghalensis |
[แก้] นกหัวโตกินปู
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Dromadidae
นกหัวโตกินปูเป็นนกชนิดเดียวในวงศ์ มีขายาว ปากหนาและแบนด้านข้าง ขนมีสีขาว-ดำ[36]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกหัวโตกินปู | Dromas ardeola | หายาก |
[แก้] นกตีนเทียน
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Recurvirostridae
นกตีนเทียนเป็นนกลุยน้ำขนาดกลาง มีขายาวมาก และปากตรงหรือโค้งขึ้น หางสั้น มี 9 ชนิดทั่วโลก พบ 2 ชนิดในประเทศไทย[36]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกตีนเทียน | Himantopus himantopus | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกปากงอน | Recurvirostra avosetta | นกพลัดหลง |
[แก้] นกกระแตผี
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Burhinidae
นกกระแตผีเป็นนกลุยน้ำขนาดกลางถึงใหญ่ที่พบได้ในเขตร้อนของโลก มีปากสีดำหรือสีดำเหลือง ตาสีเหลืองโต แม้ว่าจะจัดเป็นนกลุยน้ำ แต่ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในแถบแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง มี 9 ชนิดทั่วโลก พบ 3 ชนิดในประเทศไทย[36]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระแตผีเล็ก | Burhinus oedicnemus | หายาก |
นกกระแตผีใหญ่ | Burhinus recurvirostris | อาจสูญพันธุ์แล้ว |
นกกระแตผีชายหาด | Burhinus magnirostris | หายาก พบเฉพาะบางพื้นที่ |
[แก้] นกแอ่นทุ่ง
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Glareolidae
นกแอ่นทุ่งมีขาสั้น ปีกยาวเรียว และหางยาวเป็นแฉก มี 17 ชนิดทั่วโลก พบ 2 ชนิดในประเทศไทย[36]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกแอ่นทุ่งใหญ่ | Glareola maldivarum | นกอพยพ |
นกแอ่นทุ่งเล็ก | Glareola lactea | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
[แก้] นกหัวโตและนกกระแต
- อันดับ: Charadriiformesิ วงศ์: Charadriidae
นกหัวโตและนกกระแตเป็นนกขนาดเล็กถึงกลาง ตัวป้อม คอสั้นหนา ปีกยาวแหลม พบได้ทั่วโลก ส่วนมากมีถิ่นอาศัยใกล้แหล่งน้ำ มี 66 ชนิดทั่วโลก พบ 14 ชนิดในประเทศไทย[36]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระแตหงอน | Vanellus vanellus | นกอพยพ หายาก |
นกกระแตหาด | Vanellus duvaucelii | |
นกกระแตหัวเทา | Vanellus cinereus | นกอพยพ |
นกกระแตแต้แว้ด | Vanellus indicus | |
นกหัวโตหลังจุดสีทอง | Pluvialis fulva | นกอพยพ |
นกหัวโตสีเทา | Pluvialis squatarola | นกอพยพ |
นกหัวโตขาสีส้ม | Charadrius hiaticula | นกพลัดหลง |
นกหัวโตปากยาว | Charadrius placidus | นกอพยพ หายาก |
นกหัวโตเล็กขาเหลือง | Charadrius dubius | นกอพยพ |
นกหัวโตขาดำ | Charadrius alexandrinus | นกอพยพ |
นกหัวโตมลายู | Charadrius peronii | |
นกหัวโตทรายเล็ก | Charadrius mongolus | นกอพยพ |
นกหัวโตทรายใหญ่ | Charadrius leschenaultii | นกอพยพ |
[แก้] นกชายเลนและนกปากซ่อม
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Scolopacidae
นกชายเลนและนกปากซ่อมเป็นนกลุยน้ำขนาดเล็กถึงกลาง ส่วนใหญ่กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กจากโคลนหรือดิน ความยาวและขนาดของปากและขาแตกต่างกันไปแล้วแต่แหล่งหากิน มี 89 ชนิดทั่วโลก พบ 39 ชนิดในประเทศไทย[36]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกปากซ่อมดง | Scolopax rusticola | นกอพยพ |
นกปากซ่อมเล็ก | Lymnocryptes minimus | นกอพยพ หายาก |
นกปากซ่อมพง | Gallinago nemoricola | นกอพยพ หายากมาก |
นกปากซ่อมหางเข็ม | Gallinago stenura | นกอพยพ |
นกปากซ่อมสวินโฮ | Gallinago megala | นกอพยพ หายากมาก |
นกปากซ่อมหางพัด | Gallinago gallinago | นกอพยพ |
นกซ่อมทะเลปากยาว | Limnodromus scolopaceus | หายากมาก |
นกซ่อมทะเลอกแดง | Limnodromus semipalmatus | นกอพยพผ่าน หายาก |
นกปากแอ่นหางดำ | Limosa limosa | นกอพยพ |
นกปากแอ่นหางลาย | Limosa lapponica | นกอพยพ |
นกอีก๋อยจิ๋ว | Numenius minutus | นกอพยพผ่าน หายากมาก |
นกอีก๋อยเล็ก | Numenius phaeopus | นกอพยพ |
นกอีก๋อยใหญ่ | Numenius arquata | นกอพยพ |
นกอีก๋อยตะโพกสีน้ำตาล | Numenius madagascariensis | นกอพยพผ่าน หายาก |
นกทะเลขาแดงลายจุด | Tringa erythropus | นกอพยพ |
นกทะเลขาแดงธรรมดา | Tringa totanus | นกอพยพ |
นกชายเลนบึง | Tringa stagnatilis | นกอพยพ |
นกทะเลขาเขียว | Tringa nebularia | นกอพยพ |
นกทะเลขาเขียวลายจุด | Tringa guttifer | นกอพยพ หายาก |
นกชายเลนเขียว | Tringa ochropus | นกอพยพ |
นกชายเลนน้ำจืด | Tringa glareola | นกอพยพ |
นกชายเลนปากแอ่น | Xenus cinereus | นกอพยพ |
นกเด้าดิน | Actitis hypoleucos | นกอพยพ |
นกตีนเหลือง | Heterosceles brevipes | นกอพยพผ่าน หายาก |
นกพลิกหิน | Arenaria interpres | นกอพยพ |
นกน็อทใหญ่ | Calidris tenuirostris | นกอพยพผ่าน |
นกน็อทเล็ก | Calidris canutus | นกอพยพ |
นกคอสั้นตีนไว | Calidris alba | นกอพยพ |
นกสติ๊นท์คอแดง | Calidris ruficollis | นกอพยพ |
นกสติ๊นท์เล็ก | Calidris minuta | นกอพยพ[5] หายาก |
นกสติ๊นท์อกเทา | Calidris temminckii | นกอพยพ |
นกสติ๊นท์นิ้วยาว | Calidris subminuta | นกอพยพ |
นกชายเลนกระหม่อมแดง | Calidris acuminata | นกอพยพ หายากมาก |
นกชายเลนปากโค้ง | Calidris ferruginea | นกอพยพ |
นกชายเลนท้องดำ | Calidris alpina | นกอพยพ หายาก |
นกชายเลนปากช้อน | Eurynorhynchus pygmeus | นกอพยพผ่าน หายาก ประชากรกำลังลดลงเนื่องจากการลดลงของการผสมพันธุ์[37][38] |
นกชายเลนปากกว้าง | Limicola falcinellus | นกอพยพ |
นกรัฟ | Philomachus pugnax | นกอพยพ นกอพยพผ่าน |
นกลอยทะเลคอแดง | Phalaropus lobatus | นกอพยพ นกอพยพผ่าน หายาก |
[แก้] นกสกัว
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Stercorariidae
นกสกัวเป็นนกขนาดกลางถึงใหญ่ ขนมีสีเทาหรือน้ำตาล บางชนิดมีสีขาวแต้มบนปีก เป็นนกอพยพระยะไกล มี 7 ชนิดทั่วโลก พบ 3 ชนิดในประเทศไทย[12]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกสกัวหางช้อน | Stercorarius pomarinus | นกอพยพ |
นกสกัวขั้วโลกเหนือ | Stercorarius parasiticus | นกอพยพ หายาก |
นกสกัวหางยาว | Stercorarius longicaudus | นกพลัดหลง |
[แก้] นกนางนวล
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Laridae
นกนางนวลเป็นนกทะเลขนาดกลาง มีขนสีเทาหรือขาว บางชนิดมีสีดำแต้มที่หัวหรือปีก มีปากหนา ยาว และเท้าเป็นผังพืด มี 55 ชนิดทั่วโลก พบ 9 ชนิดในประเทศไทย[12]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกนางนวลหางดำ | Larus crassirostris | นกอพยพ หายากมาก |
นกนางนวลปากเหลือง | Larus canus | นกพลัดหลง |
นกนางนวลหลังดำพันธุ์รัสเซีย | Larus heuglini | นกอพยพ |
นกนางนวลขาเหลือง | Larus cachinnans | |
นกนางนวลหัวดำใหญ่ | Larus ichthyaetus | นกอพยพ หายากมาก |
นกนางนวลธรรมดา | Larus brunnicephalus | นกอพยพ หายาก |
นกนางนวลขอบปีกขาว | Larus ridibundus | นกอพยพ |
นกนางนวลปากเรียว | Larus genei | นกอพยพ หายากมาก |
นกนางนวลหลังเทา[39] | Larus schistisagus | นกอพยพ หายากมาก |
[แก้] นกนางนวลแกลบ
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Sternidae
นกนางนวลแกลบเป็นนกทะเลขนาดกลางถึงใหญ่ ปกติมีขนสีเทาหรือขาว บางชนิดมีสีดำแต้มที่หัว นกนางนวลแกลบส่วนมากจับปลาโดยการดำน้ำลงไป แต่บางครั้งก็จับแมลงบนผิวน้ำกันเป็นอาหาร นกนางนวลแกลบเป็นนกที่มีอายุยืน บางชนิดมีอายุมากกว่า 25-30 ปี มี 44 ชนิดทั่วโลก พบ 16 ชนิดในประเทศไทย[12]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกนางนวลแกลบปากหนา | Sterna nilotica | นกอพยพ |
นกนางนวลแกลบแคสเปียน | Sterna caspia | นกอพยพ |
นกนางนวลแกลบหงอนเล็ก | Sterna bengalensis | นกอพยพ หายาก |
นกนางนวลแกลบจีน | Sterna bernsteini | อาจสูญพันธุ์ไปแล้ว |
นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ | Sterna bergii | |
นกนางนวลแกลบแม่น้ำ | Sterna aurantia | อาจสูญพันธุ์ไปแล้ว |
นกนางนวลแกลบสีกุหลาบ | Sterna dougallii | |
นกนางนวลแกลบท้ายทอยดำ | Sterna sumatrana | |
นกนางนวลแกลบธรรมดา | Sterna hirundo | นกอพยพ |
นกนางนวลแกลบเล็ก | Sterna albifrons | |
นกนางนวลแกลบท้องดำ | Sterna acuticauda | อาจสูญพันธุ์ไปแล้ว |
นกนางนวลแกลบคิ้วขาว | Sterna anaethetus | |
นกนางนวลแกลบดำ | Sterna fuscata | |
นกนางนวลแกลบเคราขาว | Chlidonias hybridus | |
นกนางนวลแกลบดำปีกขาว | Chlidonias leucopterus | นกอพยพ |
นกน็อดดี | Anous stolidus | อาจสูญพันธุ์ไปแล้ว |
[แก้] นกกรีดน้ำ
- อันดับ: Charadriiformes วงศ์: Rynchopidae
นกกรีดน้ำมีปากล่างยาวกว่าปากบน หาอาหารด้วยการบนเหนือผิวน้ำและใช้ปากกรีดไปตามผิวน้ำเพื่อจับปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร มี 3 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[12]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกรีดน้ำ | Rynchops albicollis | พบยากมาก |
[แก้] นกพิราบและนกเขา
- อันดับ: Columbiformes วงศ์: Columbidae
นกพิราบและนกเขาเป็นนกลำตัวอวบ คอสั้น ปากเรียวสั้น มีแผ่นเนื้อที่โคนปาก มี 308 ชนิดทั่วโลก พบ 28 ชนิดในประเทศไทย[40]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกพิราบป่า | Columba livia | นกประจำถิ่น พบบ่อยมาก |
นกพิราบป่าอกลาย | Columba hodgsonii | นกประจำถิ่น และนกอพยพ พบไม่บ่อย |
นกพิราบเขาสูง | Columba pulchricollis | นกประจำถิ่น พบไม่บ่อย |
นกลุมพูแดง | Columba punicea | นกอพยพ หายาก |
นกเขาพม่า | Streptopelia orientalis | นกประจำถิ่น พบไม่บ่อย |
นกเขาไฟ | Streptopelia tranquebarica | นกประจำถิ่น พบบ่อยมาก |
นกเขาใหญ่ | Streptopelia chinensis | นกประจำถิ่น พบบ่อยมาก |
นกเขาลายใหญ่ | Macropygia unchall | นกประจำถิ่น พบบ่อยบางพื้นที่ |
นกเขาลายเล็ก | Macropygia ruficeps | นกประจำถิ่น พบไม่บ่อย |
นกเขาเขียว | Chalcophaps indica | นกประจำถิ่น พบบ่อย |
นกเขาชวา | Geopelia striata | นกประจำถิ่น พบบ่อยมาก มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้ ถูกนำเข้าสู่ภาคกลางในประเทศไทย[41] |
นกชาปีไหน | Caloenas nicobarica | นกประจำถิ่น หายาก เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วโลก[42] |
นกเปล้าเล็กหัวเทา | Treron olax | นกประจำถิ่น หายาก |
นกเปล้าคอสีม่วง | Treron vernans | นกประจำถิ่น พบค่อนข้างบ่อย |
นกเปล้าแดง | Treron fulvicollis | นกประจำถิ่น อาจสูญพันธุ์แล้ว เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วโลก[43] |
นกเปล้าอกสีม่วงน้ำตาล | Treron bicincta | นกประจำถิ่น พบไม่บ่อย |
นกเปล้าหน้าเหลือง | Treron pompadora | นกประจำถิ่น หายาก |
นกเปล้าธรรมดา | Treron curvirostra | นกประจำถิ่น พบบ่อย |
นกเปล้าใหญ่ | Treron capellei | นกประจำถิ่น หายาก เสี่ยงต่อการถูกคุกคามทั่วโลก[44] |
นกเปล้าขาเหลือง | Treron phoenicoptera | นกประจำถิ่น พบไม่บ่อย |
นกเปล้าหางเข็มหัวปีกแดง | Treron seimundi | นกประจำถิ่น หายากมาก |
นกเปล้าหางเข็ม | Treron apicauda | นกประจำถิ่น พบไม่บ่อย |
นกเปล้าหางพลั่ว | Treron sphenura | นกประจำถิ่น พบค่อนข้างบ่อย |
นกเปล้าท้องขาว | Treron sieboldii | นกประจำถิ่น หายากมาก |
นกเปล้าหน้าแดง | Ptilinopus jambu | นกประจำถิ่น หายาก |
นกลุมพู | Ducula aenea | นกประจำถิ่น พบค่อยข้างบ่อย |
นกมูม | Ducula badia | นกประจำถิ่น พบค่อยข้างบ่อย |
นกลุมพูขาว | Ducula bicolor | นกประจำถิ่น พบบ่อย |
[แก้] นกแก้วและนกหก
- อันดับ: Psittaciformes วงศ์: Psittacidae
นกแก้วและนกหกเป็นนกขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ปากงองุ้ม มีนิ้วเท้า 4 นิ้ว หน้า 2 นิ้ว หลัง 2 นิ้ว มี 335 ชนิดทั่วโลก พบในประเทศไทย 7 ชนิด[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกหกใหญ่ | Psittinus cyanurus | หายาก, ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว |
นกแก้วโม่ง | Psittacula eupatria | หายาก, ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว |
นกกะลิง | Psittacula finschii | |
นกแก้วหัวแพร | Psittacula roseata | |
นกแขกเต้า | Psittacula alexandri | |
นกหกเล็กปากแดง | Loriculus vernalis | |
นกหกเล็กปากดำ | Loriculus galgulus |
[แก้] นกคัคคู
- อันดับ: Cuculiformes วงศ์: Cuculidae
นกคัคคูเป็นนกขนาดเล็กถึงค่อนข้างใหญ่ ลำตัวเพรียว หางยาว ชอบวางไข่ใส่รังนกอื่นเพื่อให้เลี้ยงดูลูกแทน มี 138 ชนิดทั่วโลก พบ 31 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกคัคคูขาวดำ | Clamator jacobinus | นกพลัดหลง |
นกคัคคูหงอน | Clamator coromandus | นกอพยพ นกอพยพผ่าน |
นกคัคคูเหยี่ยวใหญ่ | Cuculus sparverioides | |
นกคัคคูเหยี่ยวพันธุ์อินเดีย | Cuculus varius | หายากมาก |
นกคัคคูเหยี่ยวเล็ก | Cuculus vagans | |
นกคัคคูเหยี่ยวมลายู | Cuculus fugax | |
นกคัคคูเหยี่ยวอกแดง | Cuculus nisicolor | |
นกคัคคูเหยี่ยวเหนือ | Cuculus hyperythrus | |
นกคัคคูพันธุ์อินเดีย | Cuculus micropterus | |
นกคัคคูพันธุ์ยุโรป | Cuculus canorus | สถานะไม่แน่นอน |
นกคัคคูพันธุ์หิมาลัย | Cuculus saturatus | นกอพยพผ่าน |
นกคัคคูพันธุ์ซุนดา | Cuculus lepidus | |
นกคัคคูเล็ก | Cuculus poliocephalus | หายากมาก |
นกคัคคูลาย | Cacomantis sonneratii | |
นกอีวาบตั๊กแตน | Cacomantis merulinus | |
นกคัดคูหางแพน | Cacomantis variolosus | |
นกคัคคูสีทองแดง | Chrysococcyx minutillus | |
นกคัคคูมรกต | Chrysococcyx maculatus | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกคัคคูสีม่วง | Chrysococcyx xanthorhynchus | |
นกคัคคูแซงแซว | Surniculus lugubris | |
นกกาเหว่า | Eudynamys scolopacea | |
นกบั้งรอกเล็กท้องเทา | Phaenicophaeus diardi | |
นกบั้งรอกเล็กท้องแดง | Phaenicophaeus sumatranus | |
นกบั้งรอกใหญ่ | Phaenicophaeus tristis | |
นกบั้งรอกแดง | Phaenicophaeus chlorophaeus | |
นกบั้งรอกปากแดง | Phaenicophaeus javanicus | |
นกบั้งรอกเขียวอกแดง | Phaenicophaeus curvirostris | |
นกโกโรโกโส | Carpococcyx renauldi | |
นกกะปูดนิ้วสั้น | Centropus rectunguis | นกพลัดหลง |
นกกะปูดใหญ่ | Centropus sinensis | |
นกกะปูดเล็ก | Centropus bengalensis |
[แก้] นกแสก
- อันดับ: Strigiformes วงศ์: Tytonidae
นกแสกเป็นนกเค้าขนาดกลางถึงใหญ่ มีหัวใหญ่ หน้ารูปหัวใจ มีขายาวและอุ้งเท้าแข็งแรง มี 16 ชนิดทั่วโลก พบในประเทศไทย 2 ชนิด[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกแสก | Tyto alba | |
นกแสกแดง | Phodilus badius |
[แก้] นกเค้า
- อันดับ: Strigiformes วงศ์: Strigidae
นกเค้าเป็นนกล่าเหยื่อขนาดเล็กถึงใหญ่ มีตาและหูขนาดใหญ่ วงหน้ามักกลม มี 195 ชนิดทั่วโลก พบ 18 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกเค้าหน้าผากขาว | Otus sagittatus | หายาก เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วโลก[45] |
นกเค้าแดง | Otus rufescens | หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[46] |
นกเค้าภูเขา | Otus spilocephalus | |
นกเค้ากู่ | Otus lettia | |
นกฮูกซุนดา | Otus lempiji | ผู้แต่งบางคนจัดเป็นชนิดย่อยของ Otus bakkamoena |
นกเค้าหูยาวเล็ก | Otus sunia | |
นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล | Bubo nipalensis | |
นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา | Bubo sumatranus | |
นกเค้าใหญ่สีคล้ำ | Bubo coromandus | หายากมาก |
นกทึดทือพันธุ์เหนือ | Ketupa zeylonensis | |
นกทึดทือพันธุ์มลายู | Ketupa ketupu | |
นกเค้าป่าหลังจุด | Strix seloputo | |
นกเค้าป่าสีน้ำตาล | Strix leptogrammica | |
นกเค้าแคระ | Glaucidium brodiei | |
นกเค้าโมง | Glaucidium cuculoides | |
นกเค้าจุด | Athene brama | |
นกเค้าเหยี่ยว | Ninox scutulata | |
นกเค้าแมวหูสั้น | Asio flammeus | นกอพยพ หายากมาก |
[แก้] นกปากกบ
- อันดับ: Caprimulgiformes วงศ์: Podargidae
นกปากกบเป็นนกหากินกลางคืนเป็นญาติกับนกตบยุง ปากกว้างแบน กินแมลงเป็นอาหาร มี 12 ชนิดทั่วโลก พบ 4 ชนิดในประเทศไทย[47]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกปากกบยักษ์ | Batrachostomus auritus | หายากมาก |
นกปากกบปักษ์ใต้ | Batrachostomus stellatus | หายาก |
นกปากกบลายดำ | Batrachostomus hodgsoni | |
นกปากกบพันธุ์ชวา | Batrachostomus javensis |
[แก้] นกตบยุง
- อันดับ: Caprimulgiformes วงศ์: Caprimulgidae
นกตบยุงเป็นนกขนาดกลาง หากินกลางคืน มีปีกยาวเรียว ขาสั้น เท้าเล็ก ขนนุ่มพรางตัวได้ดี มี 86 ชนิดทั่วโลก พบ 6 ชนิดในประเทศไทย[47]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกตบยุงพันธุ์มลายู | Eurostopodus temminckii | |
นกตบยุงยักษ์ | Eurostopodus macrotis | |
นกตบยุงภูเขา | Caprimulgus indicus | นกอพยพ, ขยายพันธุ์ในภูเขา |
นกตบยุงหางยาว | Caprimulgus macrurus | |
นกตบยุงเล็ก | Caprimulgus asiaticus | |
นกตบยุงป่าโคก | Caprimulgus affinis |
[แก้] นกแอ่น
- อันดับ: Apodiformes วงศ์: Apodidae
นกแอ่นเป็นนกหากินกลางอากาศขนาดเล็ก ขาสั้น ปีกยาวโค้งคล้ายเคียว มี 98 ชนิดทั่วโลกพบ 14 ชนิดในประเทศไทย[48]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกแอ่นท้องขาว | Collocalia esculenta | หายาก |
นกแอ่นพันธุ์หิมาลัย | Aerodramus brevirostris | นกประจำถิ่น, นกอพยพ |
นกแอ่นพันธุ์อินโดจีน | Aerodramus rogersi | บางครั้งจัดเป็นชนิดเดียวกับ Aerodramus brevirostris |
นกแอ่นรังดำ | Aerodramus maximus | |
นกแอ่นกินรัง | Aerodramus fuciphagus | |
นกแอ่นเจอร์แมน | Aerodramus germani | บางครั้งจัดเป็นชนิดเดียวกับ Aerodramus fuciphagus |
นกแอ่นเล็กหางหนามตะโพกขาว | Rhaphidura leucopygialis | |
นกแอ่นใหญ่คอขาว | Hirundapus caudacutus | นกอพยพ หายาก |
นกแอ่นใหญ่หัวตาดำ | Hirundapus cochinchinensis | สถานะไม่แน่นอน |
นกแอ่นใหญ่หัวตาขาว | Hirundapus giganteus | |
นกแอ่นตาล | Cypsiurus balasiensis | |
นกแอ่นตะโพกขาวหางแฉก | Apus pacificus | นกอพยพ, นกประจำถิ่น |
นกแอ่นท้องลาย | Apus acuticauda | นกอพยพ หายากมาก |
นกแอ่นบ้าน | Apus nipalensis |
[แก้] นกแอ่นฟ้า
- อันดับ: Apodiformes วงศ์: Hemiprocnidae
นกแอ่นฟ้าเป็นนกหากินในอากาศ เป็นญาติใกล้ชิดกับนกแอ่น มีหงอนบริเวณศีรษะ ลำตัวเพรียว ปีกและหางยาว มี 4 ชนิดทั่วโลก พบ 3 ชนิดในประเทศไทย[48]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกแอ่นฟ้าหงอน | Hemiprocne coronata | |
นกแอ่นฟ้าตะโพกเทา | Hemiprocne longipennis | |
นกแอ่นฟ้าเคราขาว | Hemiprocne comata |
[แก้] นกขุนแผน
นกขุนแผนพบได้ในพื้นที่ป่าทั่วโลก กินแมลงและผลไม้เป็นอาหาร ขนมีสีสันสดใส เพศผู้และเมียมีสีขนต่างกัน มี 33 ชนิดทั่วโลก พบ 6 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกขุนแผนท้ายทอยแดง | Harpactes kasumba | หายาก |
นกขุนแผนหัวดำ | Harpactes diardii | |
นกขุนแผนตะโพกสีน้ำตาล | Harpactes orrhophaeus | หายาก |
นกขุนแผนตะโพกแดง | Harpactes duvaucelii | |
นกขุนแผนหัวแดง | Harpactes erythrocephalus | |
นกขุนแผนอกสีส้ม | Harpactes oreskios |
[แก้] นกกะเต็น
- อันดับ: Coraciiformes วงศ์: Alcedinidae
นกกะเต็นเป็นนกขนาดกลาง มีหัวใหญ่ ปากยาวแหลม ขาสัน และหางสั้นหนา มี 93 ชนิดทั่วโลก พบ 16 ชนิดในประเทศไทย[49]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกะเต็นเฮอคิวลิส | Alcedo hercules | นกอพยพ หายากมาก |
นกกะเต็นน้อยธรรมดา | Alcedo atthis | นกอพยพ |
นกกะเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน | Alcedo meninting | |
นกกะเต็นน้อยแถบอกดำ | Alcedo euryzona | |
นกกะเต็นน้อยสามนิ้วหลังดำ | Ceyx erithacus | |
นกกะเต็นน้อยสามนิ้วหลังแดง | Ceyx rufidorsa | |
นกกะเต็นลาย | Lacedo pulchella | |
นกกะเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล | Pelargopsis amauropterus | |
นกกะเต็นใหญ่ธรรมดา | Pelargopsis capensis | |
นกกะเต็นแดง | Halcyon coromanda | |
นกกะเต็นอกขาว | Halcyon smyrnensis | |
นกกะเต็นหัวดำ | Halcyon pileata | นกอพยพ นกอพยพผ่าน |
นกกินเปี้ยว | Todirhamphus chloris | |
นกกะเต็นสร้อยคอสีน้ำตาล | Actenoides concretus | หายาก กำลังลดจำนวนลง |
นกกะเต็นขาวดำใหญ่ | Megaceryle lugubris | |
นกกะเต็นปักหลัก | Ceryle rudis |
[แก้] นกจาบคา
- อันดับ: Coraciiformes วงศ์: Meropidae
นกจาบคาเป็นวงศ์ของนกที่ใกล้กับนกจับคอน ส่วนใหญ่พบในแอฟริกา แต่ก็มีพบทางใต้ของยุโรป ทางใต้ของเอเชีย ออสเตรเลีย และนิวกินี มีสีสดใส รูปร่างเพรียว หางคู่กลางยาว มีปากยาวโค้งลง ปีกยาวแหลม มี 26 ชนิดทั่วโลก พบ 6 ชนิดในประเทศไทย[49]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกจาบคาเคราแดง | Nyctyornis amictus | |
นกจาบคาเคราน้ำเงิน | Nyctyornis athertoni | |
นกจาบคาเล็ก | Merops orientalis | |
นกจาบคาคอสีฟ้า | Merops viridis | นกประจำถิ่น, นกอพยพ นกอพยพผ่าน |
นกจาบคาหัวเขียว | Merops philippinus | นกประจำถิ่น, นกอพยพ นกอพยพผ่าน |
นกจาบคาหัวสีส้ม | Merops leschenaulti |
[แก้] นกตะขาบ
- อันดับ: Coraciiformes วงศ์: Coraciidae
นกตะขาบมีขนาดพอๆกับอีกา แต่เป็นมันญาติกับนกกระเต็นและนกจาบคา มีสีฟ้าและน้ำตาลเป็นหลัก มี 12 ชนิดทั่วโลก พบสองชนิดในประเทศไทย[49]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกตะขาบทุ่ง | Coracias benghalensis | |
นกตะขาบดง | Eurystomus orientalis |
[แก้] นกกะรางหัวขวาน
- อันดับ: Coraciiformes วงศ์: Upupidae
นกกะรางหัวขวานมีขนสีดำ ขาว และชมพู มีหงอนขนาดใหญ่บนหัว มี 2 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[50]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกะรางหัวขวาน | Upupa epops |
[แก้] นกเงือก
- อันดับ: Coraciiformes วงศ์: Bucerotidae
นกเงือกเป็นนกที่มีปากรูปร่างคล้ายเขาวัวแต่ไม่บิดตัว บางชนิดมีโหนกเหนือปากบน บ่อยครั้งปากมีสีสันสดใส มี 57 ชนิดทั่วโลก พบ 13 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกแก๊ก | Anthracoceros albirostris | |
นกเงือกดำ | Anthracoceros malayanus | หายาก |
นกเงือกหัวแรด | Buceros rhinoceros | หายาก |
นกกก | Buceros bicornis | |
นกชนหิน | Buceros vigil | |
นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว | Anorrhinus austeni | |
นกเงือกสีน้ำตาล | Anorrhinus tickelli | |
นกเงือกปากดำ | Anorrhinus galeritus | |
นกเงือกหัวหงอก | Aceros comatus | |
นกเงือกคอแดง | Aceros nipalensis | หายาก |
นกเงือกปากย่น | Aceros corrugatus | ใกล้สูญพันธุ์ |
นกเงือกกรามช้าง | Aceros undulatus | |
นกเงือกกรามช้างปากเรียบ | Aceros subruficollis | หายาก |
[แก้] นกโพระดก
- อันดับ: Piciformes วงศ์: Megalaimidae
นกโพระดกเป็นนกตัวอ้วนกลม มีคอสั้นและหัวใหญ่ ส่วนใหญ่มีสีสันสดใส มี 84 ชนิดทั่วโลก พบ 15 ชนิดในประเทศไทย[51]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกโพระดกหนวดแดง | Psilopogon pyrolophus | นกพลัดหลง |
นกตั้งล้อ | Megalaima virens | |
นกโพระดกธรรมดา | Megalaima lineata | |
นกโพระดกหูเขียว | Megalaima faiostricta | |
นกโพระดกเคราเหลือง | Megalaima chrysopogon | |
นกโพระดกหลากสี | Megalaima rafflesii | หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[52] |
นกโพระดกคางแดง | Megalaima mystacophanos | |
นกโพระดกคางเหลือง | Megalaima franklinii | |
นกโพระดกคิ้วดำ | Megalaima oorti | นกพลัดหลง |
นกโพระดกคอสีฟ้า | Megalaima asiatica | |
นกโพระดกคอสีฟ้าเคราดำ | Megalaima incognita | |
นกโพระดกหัวเหลือง | Megalaima henricii | |
นกโพระดกหน้าผากดำ | Megalaima australis | |
นกตีทอง | Megalaima haemacephala | |
นกจอกป่าหัวโต | Caloramphus fuliginosus |
[แก้] นกพรานผึ้ง
- อันดับ: Piciformes วงศ์: Indicatoridae
นกพรานผึ้งเป็นนกขาดเล็กถึงกลาง กินแมลงและขี้ผึ้งเป็นอาหาร มี 17 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกพรานผึ้ง | Indicator archipelagicus | หายาก |
[แก้] นกคอพันและนกหัวขวาน
- อันดับ: Piciformes วงศ์: Picidae
นกคอพันและนกหัวขวานเป็นนกขนาดเล็กถึงกลาง จะงอยปากแหลมเหมือนสิ่ว ขาสั้น หางแข็ง มีลิ้นยาวไว้จับแมลง บางชนิดมีนิ้วเท้ายื่นไปข้างหน้า 2 นิ้ว ข้างหลัง 2 นิ้ว บางชนิดมี 3 นิ้ว ทำรังในโพรงไม้ที่เจาะขึ้นเอง มี 218 ชนิดทั่วโลก พบ 36 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกคอพัน | Jynx torquilla | นกอพยพ |
นกหัวขวานจิ๋วท้องลาย | Picumnus innominatus | |
นกหัวขวานจิ๋วอกแดง | Sasia abnormis | |
นกหัวขวานจิ๋วคิ้วขาว | Sasia ochracea | |
นกหัวขวานด่างแคระ | Dendrocopos canicapillus | |
นกหัวขวานด่างอกลายจุด | Dendrocopos macei | |
นกหัวขวานด่างหัวแดงอกลาย | Dendrocopos atratus | |
นกหัวขวานด่างหน้าผากเหลือง | Dendrocopos mahrattensis | หายาก |
นกหัวขวานด่างท้องน้ำตาลแดง | Dendrocopos hyperythrus | |
นกหัวขวานอกแดง | Dendrocopos cathpharius | |
นกหัวขวานสีตาล | Celeus brachyurus | |
นกหัวขวานใหญ่สีดำ | Dryocopus javensis | |
นกหัวขวานแดงลาย | Picus mineaceus | |
นกหัวขวานเล็กหงอนเหลือง | Picus chlorolophus | |
นกหัวขวานปีกแดง | Picus puniceus | |
นกหัวขวานใหญ่หงอนเหลือง | Picus flavinucha | |
นกหัวขวานคอลาย | Picus mentalis | |
นกหัวขวานเขียวคอเขียว | Picus viridanus | |
นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ | Picus vittatus | |
นกหัวขวานเขียวท้องลาย | Picus xanthopygaeus | |
นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง | Picus erythropygius | |
นกหัวขวานเขียวหัวดำ | Picus canus | |
นกหัวขวานสามนิ้วหลังสีไพล | Dinopium rafflesii | หายาก |
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง | Dinopium javanense | |
นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง | Chrysocolaptes lucidus | |
นกหัวขวานหัวเหลือง | Gecinulus grantia | |
นกหัวขวานป่าไผ่ | Gecinulus viridis | |
นกหัวขวานแดง | Blythipicus rubiginosus | |
นกหัวขวานแดงหลังลาย | Blythipicus pyrrhotis | |
นกหัวขวานหลังสีส้ม | Reinwardtipicus validus | |
นกหัวขวานลายตะโพกเหลือง | Meiglyptes tristis | |
นกหัวขวานด่างท้องดำ | Meiglyptes jugularis | |
นกหัวขวานลายคอแถบขาว | Meiglyptes tukki | |
นกหัวขวานแคระอกเทา | Hemicircus concretus | |
นกหัวขวานแคระจุดรูปหัวใจ | Hemicircus canente | |
นกหัวขวานใหญ่สีเทา | Mulleripicus pulverulentus |
[แก้] นกพญาปากกว้าง
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Eurylaimidae
นกพญาปากกว้างเป็นนกขนาดเล็ก สีสดใส กินผลไม้และแมลงเป็นอาหาร มี 15 ชนิดทั่วโลก พบ 7 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกพญาปากกว้างสีดำ | Corydon sumatranus | |
นกพญาปากกว้างท้องแดง | Cymbirhynchus macrorhynchos | |
นกพญาปากกว้างลายเหลือง | Eurylaimus javanicus | |
นกพญาปากกว้างเล็ก | Eurylaimus ochromalus | |
นกพญาปากกว้างหางยาว | Psarisomus dalhousiae | |
นกพญาปากกว้างอกสีเงิน | Serilophus lunatus | |
นกเขียวปากงุ้ม | Calyptomena viridis |
[แก้] นกแต้วแล้ว
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Pittidae
นกแต้วแล้วเป็นนกขนาดกลาง หางสั้น ปากอวบ หลายชนิดมีสีสันสดใส มี 32 ชนิดทั่วโลก พบ 13 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกแต้วแล้วหูยาว | Pitta phayrei | |
นกแต้วแร้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้า | Pitta nipalensis | |
นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงิน | Pitta soror | |
นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำน้ำตาล | Pitta oatesi | |
นกแต้วแล้วยักษ์ | Pitta caerulea | หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[53] |
นกแต้วแล้วสีน้ำเงิน | Pitta cyanea | |
นกแต้วแล้วลาย | Pitta guajana | |
นกแต้วแล้วเขียวเขมร | Pitta elliotii | หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[54] |
นกแต้วแล้วท้องดำ | Pitta gurneyi | พบปี 1986, หายาก ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์[55] |
นกแต้วแล้วอกเขียว | Pitta sordida | |
นกแต้วแล้วแดงมลายู | Pitta granatina | หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[56] |
นกแต้วแล้วธรรมดา | Pitta moluccensis | นกอพยพ นกอพยพผ่าน |
นกแต้วแล้วป่าชายเลน | Pitta megarhyncha |
[แก้] นกจาบฝน
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Alaudidae
นกจาบฝนเป็นนกขนาดเล็กกินแมลและเมล็ดพืชเป็นอาหาร พบ 91 ชนิดทั่วโลก พบ 3 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกจาบฝนเสียงใส | Mirafra javanica | |
นกจาบฝนปีกแดง | Mirafra erythrocephala | |
นกจาบฝนเสียงสวรรค์ | Alauda gulgula |
[แก้] นกนางแอ่น
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Hirundinidae
นกในวงศ์นี้เป็นนกกลุ่มนกจับคอน มีการปรับตัวเพื่อหาอาหารในอากาศ ในการปรับตัว มันมีลำตัวเรียวเพื่อความคล่องตัว ปีกแหลมยาวและปากสั้น กว้าง ขาถูกออกแบบมา สำหรับเกาะมากกว่าจะใช้เดิน มี 75 ชนิดทั่วโลก พบ 13 ชนิดในประเทศไทย[7]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร | Pseudochelidon sirintarae | นกถิ่นเดียว, อาจสูญพันธุ์ไปแล้ว[57][58] |
นกนางแอ่นทรายสร้อยคอดำ | Riparia riparia | นกอพยพ |
นกนางแอ่นทรายสีน้ำตาล | Riparia paludicola | |
นกนางแอ่นผาสีคล้ำ | Ptyonoprogne concolor | |
นกนางแอ่นบ้าน | Hirundo rustica | นกอพยพ |
นกนางแอ่นแปซิฟิค | Hirundo tahitica | |
นกนางแอ่นหางลวด | Hirundo smithii | |
นกนางแอ่นตะโพกแดง | Cecropis daurica | นกอพยพ |
นกนางแอ่นลาย | Cecropis striolata | |
นกนางแอ่นท้องแดง | Cecropis badia | |
นกนางแอ่นมาตินพันธุ์ไซบีเรีย | Delichon urbica | นกอพยพ หายาก |
นกนางแอ่นมาตินพันธุ์เอเชียใต้ | Delichon dasypus | นกอพยพ |
นกนางแอ่นมาตินพันธุ์เนปาล | Delichon nipalensis | พบยากมาก |
[แก้] นกเด้าลมและนกเด้าดิน
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Motacillidae
นกเด้าลมและนกเด้าดินเป็นนกจับคอนขนาดเล็ก หางยาว กินแมลงเป็นอาหาร มี 54 ชนิดทั่วโลก พบ 13 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกเด้าลมดง | Dendronanthus indicus | นกอพยพ |
นกอุ้มบาตร | Motacilla alba | นกอพยพ |
นกเด้าลมหัวเหลือง | Motacilla citreola | นกอพยพ |
นกเด้าลมเหลือง | Motacilla flava | นกอพยพ |
นกเด้าลมหลังเทา | Motacilla cinerea | นกอพยพ |
นกเด้าดินทุ่งเล็ก | Anthus rufulus | |
นกเด้าดินทุ่งพันธุ์รัสเซีย | Anthus godlewskii | นกพลัดหลง |
นกเด้าดินสวน | Anthus hodgsoni | นกอพยพ |
นกเด้าดินอกแดง | Anthus cervinus | นกอพยพ |
นกเด้าดินอกสีชมพู | Anthus roseatus | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกเด้าดินพันธุ์ไซบีเรีย | Anthus rubescens | นกพลัดหลง |
[แก้] นกขี้เถ้าและนกพญาไฟ
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Campephagidae
นกขี้เถ้าและนกพญาไฟเป็นนกจับคอนขนาดเล็กถึงกลาง ปกติมีสีเทา-เขา และดำ บางชนิดมีสีสดใส มี 82 ชนิดทั่วโลก พบ 18 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกขี้เถ้าใหญ่ | Coracina macei | |
นกขี้เถ้าพันธุ์ชวา | Coracina javensis | นกพลัดหลง |
นกขี้เถ้าลายขวาง | Coracina striata | หายากมาก |
นกเฉี่ยวบุ้งกลาง | Coracina polioptera | |
นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ | Coracina melaschistos | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกเฉี่ยวบุ้งเล็ก | Coracina fimbriata | |
นกเขนน้อยคิ้วขาว | Lalage nigra | |
นกพญาไฟสีกุหลาบ | Pericrocotus roseus | นกอพยพ |
นกพญาไฟตะโพกสีน้ำตาล | Pericrocotus cantonensis | |
นกพญาไฟสีเทา | Pericrocotus divaricatus | นกอพยพ |
นกพญาไฟเล็ก | Pericrocotus cinnamomeus | |
นกพญาไฟเล็กคอดำ | Pericrocotus igneus | |
นกพญาไฟพันธุ์เหนือ | Pericrocotus ethologus | |
นกพญาไฟแม่สะเรียง | Pericrocotus brevirostris | |
นกพญาไฟใหญ่ | Pericrocotus flammeus | |
นกพญาไฟคอเทา | Pericrocotus solaris | |
นกเขนน้อยปีกแถบขาว | Hemipus picatus | |
นกเขนน้อยปีกดำ | Hemipus hirundinaceus |
[แก้] นกคอสามสี
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Eupetidae
นกคอสามสีมีถิ่นอาศัยบนพื้นป่าในคาบสมุทรมลายูและเกาะสุมาตรา มีสปีชีส์เดียวในวงศ์ ที่พบในประเทศไทยเป็นชนิดย่อย E. m. macrocerus [59]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกคอสามสี | Eupetes macrocerus |
[แก้] นกปรอด
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Pycnonotidae
นกปรอดเป็นนกร้องเพลงขนาดกลาง บางชนิดมีสีสดใสด้วยสี เหลือง แดง หรือ ส้ม ที่แก้ม คอ หรือบริเวณตา แต่โดยมากแล้วมีขนสีน้ำตาลหรือดำ บางชนิดมีหงอน มี 130 ชนิดทั่วโลก พบ 36 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกปรอดหงอนปากหนา | Spizixos canifrons | |
นกปรอดแม่ทะ | Pycnonotus zeylanicus | หายาก เสี่ยงต่อการถูกคุกคามทั่วโลก[60] |
นกปรอดลาย | Pycnonotus striatus | |
นกปรอดดำปีกขาว | Pycnonotus melanoleucus | หายาก |
นกปรอดทอง | Pycnonotus atriceps | |
นกปรอดเหลืองหัวจุก | Pycnonotus melanicterus | |
นกปรอดอกลายเกล็ด | Pycnonotus squamatus | |
นกปรอดท้องสีเทา | Pycnonotus cyaniventris | |
นกปรอดหัวโขน | Pycnonotus jocosus | |
นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง | Pycnonotus xanthorrhous | |
นกปรอดจีน | Pycnonotus sinensis | |
นกปรอดหัวสีเขม่า | Pycnonotus aurigaster | |
นกปรอดหงอนหลังลาย | Pycnonotus eutilotus | |
นกปรอดคอลาย | Pycnonotus finlaysoni | |
นกปรอดหัวตาขาว | Pycnonotus flavescens | |
นกปรอดหน้านวล | Pycnonotus goiavier | |
นกปรอดสีไพลใหญ่ | Pycnonotus plumosus | |
นกปรอดสวน | Pycnonotus blanfordi | |
นกปรอดสีน้ำตาลตาขาว | Pycnonotus simplex | |
นกปรอดสีน้ำตาลตาแดง | Pycnonotus brunneus | |
นกปรอดเล็กท้องเทา | Pycnonotus erythropthalmos | |
นกปรอดสีคล้ำใต้คอเหลือง | Alophoixus finschii | |
นกปรอดโอ่งหน้าผากเทา | Alophoixus flaveolus | |
นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ | Alophoixus pallidus | |
นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล | Alophoixus ochraceus | |
นกปรอดโอ่งแก้มเทา | Alophoixus bres | |
นกปรอดโอ่งไร้หงอน | Alophoixus phaeocephalus | |
นกปรอดหลังฟู | Tricholestes criniger | |
นกปรอดเล็กสีไพลตาแดง | Iole virescens | |
นกปรอดเล็กตาขาว | Iole propinqua | |
นกปรอดหงอนตาขาว | Iole olivacea | |
นกปรอดหลังเขียวอกลาย | Ixos malaccensis | |
นกปรอดสีขี้เถ้า | Hemixos flavala | |
นกปรอดภูเขา | Ixos mcclellandii | |
นกปรอดดำ | Hypsipetes leucocephalus | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกปรอดเทาหัวขาว | Hypsipetes thompsoni |
[แก้] นกเขียวก้านตอง
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Chloropseidae
นกเขียวก้านตองเป็นนกขนาดเล็ก เพศผู้มีขนสีสดใส ปกติเป็นสีเขียวและเหลือง มี 8 ชนิดทั่วโลก พบ 5 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกเขียวก้านตองใหญ่ | Chloropsis sonnerati | |
นกเขียวก้านตองเล็ก | Chloropsis cyanopogon | |
นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า | Chloropsis cochinchinensis | |
นกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง | Chloropsis aurifrons | |
นกเขียวก้านตองท้องสีส้ม | Chloropsis hardwickii |
[แก้] นกขมิ้นน้อย
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Aegithinidae
นกขมิ้นน้อยเป็นนกที่มีสีสันสดใส สามารถแยกเพศได้จากสีขน โดยเพศผู้จะมีสีสดใสกว่า ปกติเป็นสีเหลืองและเขียว มี 4 ชนิดทั่วโลก พบ 3 ชนิดในประเทศไทย[61]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกขมิ้นน้อยธรรมดา | Aegithina tiphia | |
นกขมิ้นน้อยสีเขียว | Aegithina viridissima | |
นกขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ | Aegithina lafresnayei |
[แก้] นกมุดน้ำ
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Cinclidae
นกมุดน้ำมีถิ่นอาศัยใกล้แหล่งน้ำ มี 5 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[62]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกมุดน้ำ | Cinclus pallasii | หายาก |
[แก้] นกเดินดง
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Turdidae
นกเดินดงเป็นนกขนาดเล็กถึงกลาง กินแมลงเป็นอาหาร บางครั้งกินทั้งพืชและสัตว์ หากินบนพื้นดิน มี 335 ชนิดทั่วโลก พบ 21 ชนิดในประเทศไทย[63]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระเบื้องคอขาว | Monticola gularis | นกอพยพ |
นกกระเบื้องท้องแดง | Monticola rufiventris | นกอพยพ, นกประจำถิ่น |
นกกระเบื้องผา | Monticola solitarius | นกประจำถิ่น (ssp madoci) นกอพยพ |
นกเอี้ยงถ้ำ | Myophonus caeruleus | นกประจำถิ่น นกอพยพ[3] |
นกเดินดงหัวน้ำตาลแดง | Zoothera interpres | หายาก |
นกเดินดงหัวสีส้ม | Zoothera citrina | นกอพยพ |
นกเดินดงสีเทาดำ | Zoothera sibirica | นกอพยพ |
นกเดินดงหลังสีไพล | Zoothera dixoni | นกอพยพ |
นกเดินดงลายเสือ | Zoothera dauma | นกอพยพ, นกประจำถิ่น |
นกเดินดงเล็กปากยาว | Zoothera marginata | |
นกเดินดงอกดำ | Turdus dissimilis | นกอพยพ หายาก |
นกเดินดงพันธุ์ญี่ปุ่น | Turdus cardis | นกพลัดหลง |
นกเดินดงปีกเทา | Turdus boulboul | นกอพยพ หายาก |
นกเดินดงสีดำ | Turdus merula | หายากมาก |
นกเดินดงสีน้ำตาลแดง | Turdus rubrocanus | นกอพยพ หายาก |
นกเดินดงอกเทา | Turdus feae | นกอพยพ หายาก |
นกเดินดงสีคล้ำ | Turdus obscurus | นกอพยพ |
นกเดินดงคอสีเข้ม | Turdus ruficollis | T. r. ruficlllis และ T. r. atrogularis เป็นนกอพยพ หายากมาก |
นกเดินดงอกลาย | Turdus naumanni | นกอพยพ |
นกปีกสั้นเล็ก | Brachypteryx leucophrys | |
นกปีกสั้นสีน้ำเงิน | Brachypteryx montana |
[แก้] นกยอดข้าวและนกกระจิบหญ้า
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Cisticolidae
นกยอดข้าวและนกกระจิบหญ้าพบในเขตอบอุ่นทางตอนใต้ของโลกเก่า มีขนาดเล็กมาก มีสีน้ำตาลหรือเทา พบในพื้นที่เปิดโล่ง เช่น ทุ่งหญ้า มี 111 ชนิดทั่วโลก พบ 8 ชนิดในประเทศไทย[64]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกยอดข้าวหางแพนลาย | Cisticola juncidis | |
นกยอดข้าวหางแพนหัวแดง | Cisticola exilis | |
นกกระจิบหญ้าสีน้ำตาล | Prinia polychroa | |
นกกระจิบหญ้าคิ้วขาว | Prinia atrogularis | |
นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง | Prinia rufescens | |
นกกระจิบหญ้าอกเทา | Prinia hodgsonii | |
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง | Prinia flaviventris | |
นกกระจิบหญ้าสีเรียบ | Prinia inornata |
[แก้] นกกระจิบ นกพง และนกกระจิ๊ด
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Sylviidae
นกกระจิบ นกพง และนกกระจิ๊ดเป็นนกกินแมลงขนาดเล็ก มี 291 ชนิด พบในประเทศไทย 58 ชนิด[64]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกจุนจู๋หัวสีตาล | Tesia castaneocoronata | |
นกจุนจู๋หัวเหลือง | Tesia olivea | |
นกจุนจู๋ท้องเทา | Tesia cyaniventer | หายากมาก |
นกกระจ้อยหัวลาย | Urosphena squameiceps | นกอพยพ |
นกกระจ้อยนักร้อง | Cettia canturians | นกอพยพ หายาก |
นกกระจ้อยสีไพล | Cettia pallidipes | |
นกกระจ้อยใหญ่ | Cettia major | นกอพยพ หายากมาก |
นกกระจ้อยเหลืองไพล | Cettia flavolivacea | นกอพยพ |
นกกระจ้อยอกเทา | Bradypterus thoracicus | นกอพยพ |
นกกระจ้อยพันธุ์จีน | Bradypterus tacsanowskius | นกอพยพ หายากมาก |
นกกระจ้อยเขาสูง | Bradypterus seebohmi | |
นกกระจ้อยสีน้ำตาล | Bradypterus luteoventris | นกอพยพ หายาก |
นกพงตั๊กแตนอกลาย | Locustella lanceolata | นกอพยพ |
นกพงตั๊กแตนท้ายทอยสีเทา | Locustella certhiola | นกอพยพ |
นกพงคิ้วดำ | Acrocephalus bistrigiceps | นกอพยพ |
นกพงนาหิมาลัย | Acrocephalus agricola | นกอพยพ หายาก |
นกพงนาพันธุ์จีน | Acrocephalus concinens | นกอพยพ |
นกพงใหญ่พันธุ์ญี่ปุ่น | Acrocephalus orientalis | นกอพยพ |
นกพงปากยาว | Acrocephalus orinus | พบซ้ำปี 2006[65] |
นกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย | Acrocephalus stentoreus | นกอพยพ หายากมาก |
นกพงปากหนา | Acrocephalus aedon | นกอพยพ |
นกกระจิบภูเขา | Orthotomus cuculatus | |
นกกระจิบธรรมดา | Orthotomus sutorius | |
นกกระจิบคอดำ | Orthotomus atrogularis | |
นกกระจิบกระหม่อมแดง | Orthotomus sericeus | |
นกกระจิบหัวแดง | Orthotomus ruficeps | |
นกกระจิ๊ดสีคล้ำ | Phylloscopus fuscatus | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดท้องสีน้ำตาล | Phylloscopus subaffinis | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดอกลายเหลือง | Phylloscopus armandii | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดปากหนา | Phylloscopus schwarzi | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดแถบปีกสีส้ม | Phylloscopus pulcher | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดคอสีเทา | Phylloscopus maculipennis | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดตะโพกเหลืองคิ้วเหลือง | Phylloscopus proregulus | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดตะโพกเหลืองคิ้วขาว | Phylloscopus chloronotus | นกพลัดหลง |
นกกระจิ๊ดพันธุ์จีน | Phylloscopus yunnanensis | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดธรรมดา | Phylloscopus inornatus | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดพันธุ์หิมาลัย | Phylloscopus humei | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดขั้วโลกเหนือ | Phylloscopus borealis | นกอพยพ นกอพยพผ่าน |
นกกระจิ๊ดเขียวคล้ำ | Phylloscopus trochiloides | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดขาสีเนื้อ | Phylloscopus tenellipes | นกอพยพ |
Sakhalin Leaf Warbler | Phylloscopus borealoides | |
นกกระจิ๊ดหัวมงกุฎ | Phylloscopus coronatus | นกอพยพ นกอพยพผ่าน |
นกกระจิ๊ดหางขาวใหญ่ | Phylloscopus reguloides | นกอพยพ |
นกกระจิ๊ดหางขาวเล็ก | Phylloscopus davisoni | |
นกกระจิ๊ดคิ้วดำท้องขาว | Phylloscopus cantator | นกอพยพ หายาก |
นกกระจิ๊ดคิ้วดำท้องเหลือง | Phylloscopus ricketti | นกอพยพ |
นกกระจ้อยแก้มเทา | Seicercus poliogenys | |
นกกระจ้อยกระหม่อมแดง | Seicercus castaniceps | |
นกกระจ้อยคอดำ | Abroscopus albogularis | หายาก |
นกกระจ้อยคอขาว | Abroscopus superciliaris | |
นกหางนาค | Megalurus palustris | |
นกพงหญ้า | Graminicola bengalensis | อาจสูญพันธุ์แล้ว |
นกคอขาวน้อย | Sylvia curruca | นกอพยพ หายาก |
นกแว่นตาเหลืองหัวเทา | Seicercus tephrocephalus | นกอพยพ หายาก |
นกแว่นตาเหลืองปีกแถบกว้าง | Seicercus valentini | นกอพยพ |
นกแว่นตาเหลืองคิ้วสั้น | Seicercus soror | นกอพยพ |
[แก้] นกจับแมลงและนกเขน
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Muscicapidae
นกจับแมลงและนกเขนเป็นนกจับคอนขนาดเล็ก ส่วนมากกินแมลงเป็นอาหาร มี 274 ชนิดทั่วโลก พบในประเทศไทย 69 ชนิด[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกจับแมลงอกสีน้ำตาลอ่อน | Rhinomyias brunneata | นกอพยพผ่าน หายาก |
นกจับแมลงอกเทา | Rhinomyias umbratilis | หายาก |
นกจับแมลงอกสีเนื้อ | Rhinomyias olivacea | |
นกจับแมลงสีคล้ำ | Muscicapa sibirica | นกอพยพ |
นกจับแมลงสีน้ำตาล | Muscicapa dauurica | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกจับแมลงสีน้ำตาลท้องลาย | Muscicapa williamsoni | นกประจำถิ่น นกอพยพผ่าน |
นกจับแมลงอกสีน้ำตาล | Muscicapa muttui | หายากมาก |
นกจับแมลงสีน้ำตาลแดง | Muscicapa ferruginea | นกอพยพ นกอพยพผ่าน |
นกจับแมลงตะโพกเหลือง | Ficedula zanthopygia | นกอพยพผ่าน |
นกจับแมลงคิ้วเหลือง | Ficedula narcissina | นกอพยพ หายาก |
นกจับแมลงดำอกสีส้ม | Ficedula mugimaki | นกอพยพ |
นกจับแมลงหลังสีเทา | Ficedula hodgsonii | นกอพยพ |
นกจับแมลงแถบคอสีส้ม | Ficedula strophiata | นกอพยพ |
นกจับแมลงคอแดง | Ficedula albicilla | นกอพยพ |
นกจับแมลงหน้าผากขาว | Ficedula hyperythra | |
นกจับแมลงสร้อยคอขาว | Ficedula monileger | |
นกจับแมลงคอขาวหน้าแดง | Ficedula solitaris | |
นกจับแมลงอกสีส้ม | Ficedula dumetoria | |
นกจับแมลงเล็กขาวดำ | Ficedula westermanni | |
นกจับแมลงสีคราม | Ficedula superciliaris | นกอพยพ |
นกจับแมลงหน้าดำคอขาว | Ficedula tricolor | นกอพยพ |
นกจับแมลงหัวสีฟ้า | Ficedula sapphira | นกอพยพ |
นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว | Cyanoptila cyanomelana | นกอพยพผ่าน |
นกจับแมลงสีฟ้า | Eumyias thalassina | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกนิลตวาใหญ่ | Niltava grandis | |
นกนิลตวาเล็ก | Niltava macgrigoriae | |
นกนิลตวาท้องสีส้มพันธุ์จีน | Niltava davidi | นกอพยพ หายาก |
นกนิลตวาท้องสีส้มคอดำ | Niltava sundara | นกอพยพ |
นกนิลตวาท้องสีส้ม | Niltava vivida | นกอพยพ |
นกจับแมลงสีคล้ำหางแถบขาว | Cyornis concretus | หายาก |
นกจับแมลงอกสีฟ้า | Cyornis hainanus | |
นกจับแมลงสีฟ้าอ่อน | Cyornis unicolor | |
นกจับแมลงคอสีน้ำเงินเข้ม | Cyornis rubeculoides | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกจับแมลงคอน้ำตาลแดง | Cyornis banyumas | |
นกจับแมลงป่าพรุ | Cyornis turcosus | |
นกจับแมลงอกส้มท้องขาว | Cyornis tickelliae | |
นกจับแมลงป่าโกงกาง | Cyornis rufigastra | |
นกจับแมลงสีฟ้าจิ๋ว | Muscicapella hodgsoni | นกอพยพ หายาก |
นกจับแมลงหัวเทา | Culicicapa ceylonensis | |
นกเขนน้อยพันธุ์ญี่ปุ่น | Erithacus akahige | หายากมาก |
นกเขนน้อยหางแดง | Luscinia sibilans | นกอพยพ หายาก |
นกคอทับทิม | Luscinia calliope | นกอพยพ |
นกคอทับทิมอกดำ | Luscinia pectoralis | หายากมาก |
นกคอมรกต | Luscinia svecica | นกอพยพ |
นกเขนน้อยอกดำ | Luscinia obscura | นกอพยพ หายากมาก |
นกเขนน้อยไซบีเรีย | Luscinia cyane | นกอพยพ |
นกเขนน้อยข้างสีส้ม | Tarsiger cyanurus | นกอพยพ |
นกเขนน้อยสีทอง | Tarsiger chrysaeus | นกอพยพ หายาก |
นกกางเขนบ้าน | Copsychus saularis | |
นกกางเขนดง | Copsychus malabaricus | |
นกกางเขนดงหางแดง | Trichixos pyrropyga | หายาก |
นกเขนท้องแดง | Phoenicurus auroreus | นกอพยพ |
นกเขนสีฟ้าท้ายสีน้ำตาล | Phoenicurus frontalis | นกอพยพ หายาก |
นกเขนหัวขาวท้ายแดง | Chaimarrornis leucocephalus | นกอพยพ |
นกเขนเทาหางแดง | Rhyacornis fuliginosus | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกเขนแปลง | Hodgsonius phaenicuroides | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกยอดหญ้าหัวดำ | Saxicola maura | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
นกเขนสีฟ้าหางขาว | Cinclidium leucurum | |
นกเขนน้ำเงิน | Cinclidium frontale | สถานะไม่แน่นอน |
นกกางเขนน้ำหลังแดง | Enicurus ruficapillus | |
นกกางเขนน้ำหลังดำ | Enicurus immaculatus | |
นกกางเขนน้ำหลังเทา | Enicurus schistaceus | |
นกกางเขนน้ำหัวขาว | Enicurus leschenaulti | |
นกปีกแพรสีม่วง | Cochoa purpurea | หายาก |
นกปีกแพรสีเขียว | Cochoa viridis | |
นกยอดหญ้าสีดำ | Saxicola caprata | |
นกยอดหญ้าหลังดำ | Saxicola jerdoni | หายาก |
นกยอดหญ้าสีเทา | Saxicola ferrea | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
[แก้] นกอีแพรด
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Rhipiduridae
นกอีแพรดเป็นนกกินแมลงขนาดเล็ก มีหางแพนค่อนข้างยาว มี 44 ชนิดทั่วโลก พบ 5 ชนิดในประเทศไทย[66]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกอีแพรดท้องเหลือง | Rhipidura hypoxantha | |
นกอีแพรดคอขาว | Rhipidura albicollis | |
นกอีแพรดคิ้วขาว | Rhipidura aureola | |
นกอีแพรดแถบอกดำ | Rhipidura javanica | |
นกอีแพรดดอกลาย | Rhipidura perlata | หายาก |
[แก้] นกแซวสวรรค์
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Monarchidae
นกแซวสวรรค์เป็นนกจับคอนกินแมลงขนาดเล็กถึงกลาง มี 99 ชนิดทั่วโลก พบ 3 ชนิดในประเทศไทย[67]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกจับแมลงจุกดำ | Hypothymis azurea | |
นกแซวสวรรค์หางดำ | Terpsiphone atrocaudata | นกอพยพ นกอพยพผ่าน |
นกแซวสวรรค์ | Terpsiphone paradisi | นกประจำถิ่น นกอพยพ |
[แก้] นกหัวโตป่าโกงกาง
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Pachycephalidae
มี 57 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกโกงกางหัวโต | Pachycephala grisola |
[แก้] นกกินแมลงและนกกะราง
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Timaliidae
นกกินแมลงและนกกะรางแต่ละชนิดจะแตกต่างกันในสีและขนาด แต่มีขนอ่อนนุ่มเหมือนกัน มี 270 ชนิดทั่วโลก พบ 76 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกะรางหัวหงอก | Garrulax leucolophus | |
นกกะรางสร้อยคอเล็ก | Garrulax monileger | |
นกกะรางสร้อยคอใหญ่ | Garrulax pectoralis | |
นกกะรางสีดำ | Garrulax lugubris | หายาก |
นกกะรางอกสีน้ำตาลไหม้ | Garrulax strepitans | |
นกกะรางคอดำ | Garrulax chinensis | |
นกกะรางวงตาขาว | Garrulax mitratus | หายาก |
นกกะรางอกลาย | Garrulax merulinus | หายากมาก |
นกกะรางคิ้วขาว | Garrulax sannio | |
นกกะรางหัวแดง | Garrulax erythrocephalus | |
นกกะรางหางแดง | Garrulax milnei | หายาก |
นกกะรางแก้มแดง | Liocichla phoenicea | |
นกกินแมลงป่าชายเลน | Trichastoma rostratum | |
นกกินแมลงสีน้ำตาลแดง | Trichastoma bicolor | |
นกกินแมลงป่าฝน | Malacocincla abbotti | |
นกกินแมลงปากหนา | Malacocincla sepiarium | |
นกกินแมลงป่าหางสั้น | Malacocincla malaccensis | |
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล | Pellorneum tickelli | |
นกจาบดินสีน้ำตาลคอลาย | Pellorneum albiventre | |
นกจาบดินอกลาย | Pellorneum ruficeps | |
นกจาบดินหัวดำ | Pellorneum capistratum | |
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล | Malacopteron magnirostre | |
นกกินแมลงหัวสีคล้ำ | Malacopteron affine | หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[68] |
นกกินแมลงหัวแดงเล็ก | Malacopteron cinereum | |
นกกินแมลงหัวแดงใหญ่ | Malacopteron magnum | |
นกระวังไพรปากยาว | Pomatorhinus hypoleucos | |
นกระวังไพรแก้มสีน้ำตาล | Pomatorhinus erythrogenys | |
นกระวังไพรปากเหลือง | Pomatorhinus schisticeps | |
นกระวังไพรปากแดงยาว | Pomatorhinus ochraceiceps | |
นกระวังไพรปากแดงสั้น | Pomatorhinus ferruginosus | หายาก |
นกจู๋เต้นลาย | Kenopia striata | หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[69] |
นกจู๋เต้นใหญ่ | Napothera macrodactyla | |
นกจู๋เต้นเขาหินปูน | Napothera crispifrons | |
นกจู๋เต้นหางสั้น | Napothera brevicaudata | |
นกจู๋เต้นคิ้วยาว | Napothera epilepidota | |
นกจู๋เต้นจิ๋ว | Pnoepyga pusilla | |
นกกินแมลงเด็กแนน | Stachyris rodolphei | นกถิ่นเดียว ถ้ายอมรับเป็นสปีชีส์[70] |
นกกินแมลงหน้าผากน้ำตาล | Stachyris ambigua | ผู้แต่งบางคนถือเป็นชนิดเดียวกับ Stachyris rufifrons[71] |
นกกินแมลงหน้าผากน้ำตาล | Stachyris rufifrons | |
นกกินแมลงหัวสีทอง | Stachyris chrysaea | |
นกกินแมลงคอเทา | Stachyris nigriceps | |
นกกินแมลงตาขาว | Stachyris poliocephala | |
นกกินแมลงคอลาย | Stachyris striolata | |
นกกินแมลงหูขาว | Stachyris leucotis | หายาก |
นกกินแมลงคอดำ | Stachyris nigricollis | |
นกกินแมลงตะโพกแดง | Stachyris maculata | |
นกกินแมลงปีกแดง | Stachyris erythroptera | |
นกกินแมลงอกเหลือง | Macronous gularis | |
นกกินแมลงหลังฟู | Macronous ptilosus | หายาก มีแนวโน้มลดลง |
นกกินแมลงกระหม่อมแดง | Timalia pileata | |
นกกินแมลงตาเหลือง | Chrysomma sinense | |
นกกะรองทองแก้มขาว | Leiothrix argentauris | |
นกขัติยา | Cutia nipalensis | หายาก |
นกเสือแมลงปีกแดง | Pteruthius flaviscapis | |
นกเสือแมลงคอสีน้ำตาล | Pteruthius melanotis | |
นกเสือแมลงหน้าสีตาล | Pteruthius aenobarbus | |
นกเสือแมลงหัวขาว | Gampsorhynchus rufulus | |
นกปีกลายตาขาว | Actinodura ramsayi | |
นกศิวะปีกสีฟ้า | Minla cyanouroptera | |
นกศิวะหางสีตาล | Minla strigula | |
นกมุ่นรกหัวน้ำตาลแดง | Alcippe castaneceps | |
นกมุ่นรกคอแดง | Alcippe rufogularis | หายาก |
นกมุ่นรกสีน้ำตาล | Alcippe brunneicauda | |
นกมุ่นรกตาขาว | Alcippe poioicephala | |
นกมุ่นรกตาแดง | Alcippe morrisonia | |
นกมุ่นรกภูเขา | Alcippe peracensis | |
นกหางรำหลังแดง | Heterophasia annectens | |
นกหางรำดำ | Heterophasia melanoleuca | |
นกหางรำหางยาว | Heterophasia picaoides | |
นกภูหงอนหัวน้ำตาลแดง | Yuhina castaniceps | |
นกภูหงอนวงตาขาว | Yuhina flavicollis | |
นกภูหงอนพม่า | Yuhina humilis | |
นกภูหงอนท้องขาว | Yuhina zantholeuca |
[แก้] นกปากนกแก้ว
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Paradoxornithidae
นกปากนกแก้วเป็นนกพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีขนาดเล็ก หางยาว มี 20 ชนิดทั่วโลก พบ 5 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกปากนกแก้วหัวเทา | Paradoxornis gularis | |
นกปากนกแก้วอกลาย | Paradoxornis guttaticollis | |
นกปากนกแก้วหูเทา | Paradoxornis nipalensis | |
นกปากนกแก้วหางสั้น | Paradoxornis davidianus | หายาก |
นกปากนกแก้วคิ้วดำ | Paradoxornis atrosuperciliaris | หายาก |
[แก้] นกติตหางยาว
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Aegithalidae
นกติตหางยาวเป็นนกจับคอนขนาดเล็กมีหางยาว กินแมลงและเมล็ดพืชเป็นอาหาร มี 9 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[72]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกติตหัวแดง | Aegithalos concinnus |
[แก้] นกปากหนาม
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Pardalotidae
นกปากหนามเป็นนกจับคอนที่มีขนาดเล็กมากถึงขนาดกลาง มี 65 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[73]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระจ้อยป่าโกงกาง | Gerygone sulphurea |
[แก้] นกติต
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Paridae
นกติตส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ปากอ้วนสั้น เป็นนกที่ปรับตัวเก่ง กินเมล็ดพืชและแมลงเป็นอาหาร มี 59 ชนิดทั่วโลก พบ 4 ชนิดในประเทศไทย[72]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกติตใหญ่ | Parus major | |
นกติตแก้มเหลือง | Parus spilonotus | |
นกติตคิ้วเหลือง | Sylviparus modestus | |
นกติตสุลต่าน | Melanochlora sultanea |
[แก้] นกไต่ไม้
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Sittidae
นกไต่ไม้เป็นนกขนาดเล็ก มีหัวขนาดใหญ่ หางสั้น ปากและขาแข็งแรง มี 24 ชนิดทั่วโลก พบ 6 ชนิดในประเทศไทย[72]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม | Sitta castanea | |
นกไต่ไม้โคนหางสีน้ำตาล | Sitta nagaensis | |
นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ | Sitta frontalis | |
นกไต่ไม้สีน้ำเงิน | Sitta azurea | นกพลัดหลง |
นกไต่ไม้ใหญ่ | Sitta magna | |
นกไต่ไม้สีสวย | Sitta formosa | ใกล้สูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง |
[แก้] นกเปลือกไม้
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Certhiidae
นกเปลือกไม้เป็นนกป่าขนาดเล็ก ด้านบนมีสีน้ำตาลและด้านล่างสีขาว มีปากบางโค้งลง ใช้สำหรับจับแมลงออกจากเปลือกไม้ มีขนหางแข็งคล้ายนกหัวขวาน มี 6 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[72]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกเปลือกไม้ | Certhia discolor |
[แก้] นกติตหน้าแดง
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Remizidae
นกติตหน้าแดงเป็นนกจับคอนกินแมลงขนาดเล็ก เป็นญาติกับนกติต มี 13 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[72]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกติตหน้าแดง | Cephalopyrus flammiceps | นกอพยพ หายาก |
[แก้] นกกินปลีและนกปลีกล้วย
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Nectariniidae
นกกินปลีและนกปลีกล้วยเป็นนกจับคอนขนาดเล็กมาก ส่วนมากกินน้ำต้อยเป็นอาหาร แม้บางครั้งจะกินแมลงบ้างโดยเฉพาะนำไปเลี้ยงลูกอ่อน มี 131 ชนิดทั่วโลก พบ 22 ชนิดในประเทศไทย[74]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกินปลีแก้มสีทับทิม | Chalcoparia singalensis | |
นกกินปลีสีเรียบ | Anthreptes simplex | |
นกกินปลีคอสีน้ำตาล | Anthreptes malacensis | |
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง | Anthreptes rhodolaema | หายาก |
นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน | Hypogramma hypogrammicum | |
นกกินปลีคอสีทองแดง | Leptocoma calcostetha | |
นกกินปลีคอสีม่วง | Leptocoma sperata | |
นกกินปลีดำม่วง | Cinnyris asiaticus | |
นกกินปลีอกเหลือง | Cinnyris jugularis | |
นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า | Aethopyga gouldiae | นกอพยพ |
นกกินปลีหางยาวเขียว | Aethopyga nipalensis | นกประจำถิ่นในภูเขา |
นกกินปลีหางยาวคอดำ | Aethopyga saturata | |
นกกินปลีคอแดง | Aethopyga siparaja | |
นกกินปลีแดง | Aethopyga temminckii | หายาก |
นกกินปลีแดงหัวไพลิน | Aethopyga ignicauda | นกพลัดหลง |
นกปลีกล้วยปากหนา | Arachnothera crassirostris | |
นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่ | Arachnothera flavigaster | |
นกปลีกล้วยปากยาว | Arachnothera robusta | หายาก |
นกปลีกล้วยเล็ก | Arachnothera longirostra | |
นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก | Arachnothera chrysogenys | |
นกปลีกล้วยท้องเทา | Arachnothera modesta | |
นกปลีกล้วยลาย | Arachnothera magna |
[แก้] นกกาฝาก
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Dicaeidae
นกกาฝากเป็นนกขนาดเล็ก ตัวกลม มีสีสันสดใส หางสั้น ปากสั้นหนา และลิ้นเป็นหลอด มี 44 ชนิดทั่วโลก พบ 10 ชนิดในประเทศไทย[74]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกาฝากอกเหลือง | Prionochilus maculatus | |
นกกาฝากอกสีเลือดหมู | Prionochilus percussus | |
นกกาฝากอกแดง | Prionochilus thoracicus | |
นกกาฝากปากหนา | Dicaeum agile | |
นกกาฝากก้นเหลือง | Dicaeum chrysorrheum | |
นกกาฝากท้องเหลือง | Dicaeum melanoxanthum | อาจเป็นนกประจำถิ่น |
นกกาฝากท้องสีส้ม | Dicaeum trigonostigma | |
นกกาฝากสีเรียบ | Dicaeum concolor | |
นกกาฝากอกเพลิง | Dicaeum ignipectus | |
นกสีชมพูสวน | Dicaeum cruentatum | นกประจำถิ่น หายาก |
[แก้] นกแว่นตาขาว
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Zosteropidae
นกแว่นตาขาวส่วนมากมีสีจืดชืด โดยทั่วไปมีขนสีเขียวมะกอกในส่วนบน แต่บางชนิดมีสีขาวหรือเหลืองสดบริเวณท้อง อก หรือส่วนล่าง และ หลายชนิดมีปีกสีน้ำตาลอมเหลือง หลายชนิดมีวงแหวนสีขาวรอบดวงตา มี 96 ชนิดทั่วโลก พบ 4 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกแว่นตาขาวสีข้างแดง | Zosterops erythropleurus | นกอพยพ |
นกแว่นตาขาวสีทอง | Zosterops palpebrosus | |
นกแว่นตาขาวหลังเขียว | Zosterops japonicus | นกอพยพ |
นกแว่นตาขาวสีเหลืองปักษ์ใต้ | Zosterops everetti |
[แก้] นกขมิ้น
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Oriolidae
นกขมิ้นเป็นนกจับคอนที่มีสีสันสดใส มี 29 ชนิดทั่วโลก พบในประเทศไทย 6 ชนิด[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกขมิ้นหัวดำเล็ก | Oriolus xanthonotus | |
นกขมิ้นท้ายทอยดำ | Oriolus chinensis | นกอพยพ |
นกขมิ้นปากเรียว | Oriolus tenuirostris | นกอพยพ |
นกขมิ้นหัวดำใหญ่ | Oriolus xanthornus | |
นกขมิ้นแดง | Oriolus traillii | |
นกขมิ้นขาว | Oriolus mellianus | นกอพยพ หายาก |
[แก้] นกเขียวคราม
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Irenidae
นกเขียวครามเพศผู้มีสีน้ำเงินเข้ม เพศเมียมีสีเขียวมัวๆ มี 2 ชนิดทั่วโลก พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[75]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกเขียวคราม | Irena puella |
[แก้] นกอีเสือ
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Laniidae
นกอีเสือเป็นนกจับคอน ซึ่งนกอีเสือบางชนิดจะจับนกชนิดอื่นหรือสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่ได้กินเสียบไว้กับหนาม มีทั้งสิ้น 31 ชนิดทั่วโลก พบ 5 ชนิดในประเทศไทย[76]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกอีเสือลาย | Lanius tigrinus | นกอพยพผ่าน |
นกอีเสือสีน้ำตาล | Lanius cristatus | นกอพยพ |
นกอีเสือหลังแดง | Lanius collurioides | นกอพยพ |
นกอีเสือหัวดำ | Lanius schach | นกอพยพผ่าน |
นกอีเสือหลังเทา | Lanius tephronotus | นกอพยพ |
[แก้] นกเฉี่ยวดง
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Prionopidae
นกเฉี่ยวดงมีลักษณะคล้ายนกอีเสือ แต่มักมีสีสันสดใสกว่าที่บริเวณหงอนหรือหัว มี 12 ชนิดทั่วโลก พบ 4 ชนิดในประเทศไทย[76]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกเฉี่ยวดงหางสีน้ำตาล | Tephrodornis gularis | |
นกเฉี่ยวดงธรรมดา | Tephrodornis pondicerianus | |
นกจับแมลงปีกน้ำตาลแดง | Philentoma pyrhopterum | |
นกจับแมลงอกแดง | Philentoma velatum |
[แก้] นกแซงแซว
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Dicruridae
นกแซงแซวส่วนมากมีสีดำหรือเทาเข้ม บางครั้งแต้มด้วยสีเหลือบ มีหางเป็นง่ามยาว ขาสั้น มี 24 ชนิดทั่วโลก พบ 7 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกแซงแซวหางปลา | Dicrurus macrocercus | นกประจำถิ่น, นกอพยพ |
นกแซงแซวสีเทา | Dicrurus leucophaeus | นกประจำถิ่น, นกอพยพ |
นกแซงแซวปากกา | Dicrurus annectans | นกอพยพ, นกอพยพผ่าน |
นกแซงแซวเล็กเหลือบ | Dicrurus aeneus | |
นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก | Dicrurus remifer | |
นกแซงแซวหงอนขน | Dicrurus hottentottus | นกประจำถิ่น, นกอพยพ |
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ | Dicrurus paradiseus |
[แก้] นกแอ่นพง
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Artamidae
นกแอ่นพงเป็นนกจับคอนขนนุ่มสีมืด ขณะบินปีกเป็นรูปสามเหลี่ยม มี 11 ชนิดทั่วโลกพบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกแอ่นพง | Artamus fuscus |
[แก้] นกกา
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Corvidae
วงศ์ Corvidae ประกอบไปด้วย นกกา, นกเรเวน, นกกาน้อย, นกกาภูเขา, นกสาลิกา และ นกกะลิงเขียด นกกาเป็นนกขนาดกลาง บางชนิดมีพฤติกรรมการเรียนรู้สูง มี 120 ชนิดทั่วโลก พบ 13 ชนิดในประเทศไทย[77]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกาน้อยหงอนยาว | Platylophus galericulatus | นกประจำถิ่น หายากหรือพบบ่อยบางพื้นที่ |
นกกาน้อยแถบปีกขาว | Platysmurus leucopterus | นกประจำถิ่น หายาก |
นกปีกลายสก็อต | Garrulus glandarius | นกประจำถิ่น พบค่อนข้างบ่อย |
นกขุนแผน | Urocissa erythrorhyncha | นกประจำถิ่น พบค่อนข้างบ่อย |
นกสาลิกาเขียว | Cissa chinensis | นกประจำถิ่น พบบ่อย |
นกสาลิกาเขียวหางสั้น | Cissa hypoleuca | นกประจำถิ่น พบไม่บ่อย |
นกกะลิงเขียด | Dendrocitta vagabunda | นกประจำถิ่น พบค่อนข้างบ่อย |
นกกะลิงเขียดสีเทา | Dendrocitta formosae | นกประจำถิ่น พบค่อนข้างบ่อย |
นกกาแวน | Crypsirina temia | นกประจำถิ่น พบบ่อย |
นกกะลิงเขียดหางหนาม | Temnurus temnurus | นกพลัดหลง |
นกสาลิกาปากดำ | Pica pica | นกพลัดหลง |
อีแก | Corvus splendens | นกประจำถิ่น อาจสูญพันธุ์แล้ว |
อีกา | Corvus macrorhynchos | นกประจำถิ่น พบบ่อยมาก |
[แก้] นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Sturnidae
นกเอี้ยงเป็นนกเกาะคอนขนาดเล็กถึงกลาง อยู่กันเป็นสังคม ชอบที่โล่งเปิดกว้าง กินแมลงและผลไม้ ขนมีสีเข้ม มี 125 ชนิดทั่วโลก พบ 19 ชนิดในประเทศไทย[78]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้ | Aplonis panayensis | |
นกกิ้งโครงปีกลายจุด | Saroglossa spiloptera | นกอพยพ หายาก |
นกเอี้ยงหัวสีทอง | Ampeliceps coronatus | |
นกขุนทอง | Gracula religiosa | |
นกเอี้ยงหงอน | Acridotheres grandis | |
นกเอี้ยงก้นลาย | Acridotheres cristatellus | |
นกเอี้ยงควาย | Acridotheres fuscus | |
นกเอี้ยงสาริกา | Acridotheres tristis | กำลังขยายถิ่นจากการนำเข้ามา[41] |
นกกิ้งโครงหัวสีนวล | Acridotheres burmannicus | |
นกกิ้งโครงคอดำ | Gracupica nigricollis | |
นกเอี้ยงด่าง | Gracupica contra | |
นกกิ้งโครงแกลบหลังม่วงดำ | Sturnia sturnina | นกประจำถิ่น, นกอพยพผ่าน |
นกกิ้งโครงแกลบแก้มสีน้ำตาลแดง | Sturnia philippensis | นกพลัดหลง |
นกกิ้งโครงแกลบปีกขาว | Sturnia sinensis | นกอพยพ |
นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา | Sturnia malabarica | นกประจำถิ่น, นกอพยพ |
นกเอี้ยงพราหมณ์ | Temenuchus pagodarum | นกพลัดหลง |
นกกิ้งโครงสีกุหลาบ | Pastor roseus | นกอพยพ หายากมาก |
นกกิ้งโครงแก้มขาว | Sturnus cineraceus | นกพลัดหลง |
นกกิ้งโครงพันธุ์ยุโรป | Sturnus vulgaris | นกอพยพ หายาก |
[แก้] นกจาบ
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Ploceidae
นกจาบเป็นนกเกาะคอนขนาดเล็กที่เป็นญาติกับนกจาบปีกอ่อน ปากทรงกรวยกลม กินเมล็ดพืชเป็นอาหาร ในหลายๆชนิด เพศผู้มักมีสีสันสดใส เช่น แดง หรือเหลือง และ ดำ บางชนิดจะเปลี่ยนสีเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ มี 116 ชนิดทั่วโลก พบ 3 ชนิดในประเทศไทย[15]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกจาบอกลาย | Ploceus manyar | |
นกจาบธรรมดา | Ploceus philippinus | |
นกจาบทอง | Ploceus hypoxanthus |
[แก้] นกกระติ๊ด
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Estrildidae
นกกระติ๊ดเป็นนกเกาะคอนขนาดเล็กของโลกเก่าเขตร้อนและประเทศออสเตรเลีย ชอบอยู่เป็นฝูง มีปากสั้นหนาแต่แหลม กินเมล็ดพืชเป็นอาหาร มีโครงสร้างและพฤติกรรมคล้ายกัน แต่มีสีและรูปแบบขนต่างกันไป มี 141 ชนิดทั่วโลก ในประเทศไทยพบ 8 ชนิด[79]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระติ๊ดแดง | Amandava amandava | |
นกกระติ๊ดเขียว | Erythrura prasina | |
นกกระติ๊ดตะโพกขาว | Lonchura striata | |
นกกระติ๊ดขี้หมู | Lonchura punctulata | |
นกกระติ๊ดท้องขาว | Lonchura leucogastra | |
นกกระติ๊ดสีอิฐ | Lonchura atricapilla | |
นกกระติ๊ดหัวขาว | Lonchura maja | |
นกกระจอกชวา | Padda oryzivora | ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น[41] |
[แก้] นกจาบปีกอ่อนเล็ก
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Emberizidae
นกจาบปีกอ่อนเล็กเป็นวงศ์ขนาดใหญ่ของนกเกาะคอนกินเมล็ดพืชที่มีรูปจงอยปากเฉพาะ มี 275 ชนิดทั่วโลก ในประเทศไทยพบ 8 ชนิด[80]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกจาบปีกอ่อนหงอน | Melophus lathami | นกอพยพ |
นกจาบปีกอ่อนหัวดำขาว | Emberiza tristrami | นกพลัดหลง |
นกจาบปีกอ่อนหัวเทา | Emberiza fucata | นกอพยพ |
นกจาบปีกอ่อนเล็ก | Emberiza pusilla | นกอพยพ |
นกจาบปีกอ่อนอกเหลือง | Emberiza aureola | นกอพยพ |
นกจาบปีกอ่อนสีตาล | Emberiza rutila | นกอพยพ |
นกจาบปีกอ่อนหัวดำ | Emberiza melanocephala | นกพลัดหลง |
นกจาบปีกอ่อนหน้าดำ | Emberiza spodocephala | นกอพยพ หายาก |
[แก้] นกจาบปีกอ่อน
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Fringillidae
นกจาบปีกอ่อนเป็นนกเกาะคอนกินเมล็ดพืชขนาดเล็กถึงกลาง จงอยปากหนา ปกติเป็นรูปกรวยและในบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก ทุกชนิดมีขนหาง 12 เส้นขนปลายปีก 9 เส้น มี 137 ชนิดทั่วโลก พบ 10 ชนิดในประเทศไทย[79]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกจาบปีกอ่อนหัวเทาอกชมพู | Fringilla coelebs | นกพลัดหลง |
นกจาบปีกอ่อนอกสีส้ม | Fringilla montifringilla | นกพลัดหลง |
นกจาบปีกอ่อนสีชมพูคล้ำ | Carpodacus nipalensis | นกอพยพ |
นกจาบปีกอ่อนสีกุหลาบ | Carpodacus erythrinus | นกอพยพ |
นกจาบปีกอ่อนตะโพกชมพู | Carpodacus eos | นกพลัดหลง |
นกจาบปีกอ่อนเขียว | Carduelis ambigua | นกอพยพ หายาก |
นกกระติ๊ดใหญ่ปากเหลือง | Eophona migratoria | นกพลัดหลง |
นกกระติ๊ดใหญ่สร้อยคอเหลือง | Mycerobas affinis | นกพลัดหลง |
นกกระติ๊ดใหญ่ปีกลาย | Mycerobas melanozanthos | |
นกจาบปีกอ่อนสีแดง | Haematospiza sipahi |
[แก้] นกกระจอก
- อันดับ: Passeriformes วงศ์: Passeridae
นกกระจอกเป็นนกเกาะคอนขนาดเล็ก ตัวกลม มีสีน้ำตาลหรือเทา หางสั้น และจงอยปากที่หนา กินเมล็ดพืชและแมลงขนาดเล็กเป็นอาหาร มี 35 ชนิดทั่วโลก พบ 4 ชนิดในประเทศไทย[79]
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระจอกใหญ่ | Passer domesticus | กำลังขยายถิ่น[5] |
นกกระจอกป่าท้องเหลือง | Passer rutilans | นกอพยพ หายาก |
นกกระจอกตาล | Passer flaveolus | |
นกกระจอกบ้าน | Passer montanus |
[แก้] อ้างอิง
- ^ Lepage, Denis. "Checklist of birds of Thailand". Bird Checklists of the World. Avibase. http://www.bsc-eoc.org/avibase/avibase.jsp?region=th&pg=checklist&list=clements. เรียกข้อมูลเมื่อ 27 April 2007.
- ^ Clements, James F. (2000). Birds of the World: a Checklist. Cornell University Press. pp. 880. ISBN 0934797161.
- ^ 3.0 3.1 3.2 Robson, Craig (2004). A Field Guide to the Birds of Thailand. New Holland. ISBN 1843309211.
- ^ นกเมืองไทย, หมอบุญส่ง เลขะกุล, คู่มือดูนก ISBN 978-974-619-181-4
- ^ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Lekagul, Boonsong; Round, Philip (1991) A Guide to the Birds of Thailand 7-19 ISBN 9748567362
- ^ Bakewell, David N; Kennerley Peter R.. "Malaysia’s “mystery” plover". Surfbirds. http://www.surfbirds.com/Features/plovers1108/malayplovers.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-05-12.
- ^ 7.0 7.1 Turner, Angela K; Rose, Chris (1989). A handbook to the Swallows and Martins of the World. Bromley: Christopher Helm. pp. 86-88. ISBN 0-7470-3202-5.
- ^ Kitti, Thonglongya (1968). "A new martin of the genus Pseudochelidon from Thailand". Thai National Scientific Papers, Fauna Series no. 1 (ฉบับที่).
- ^ Ogilvie, Malcolm; Chris Rose (2003). Grebes of the World. Uxbridge, UK: Bruce Coleman. ISBN 1-872842-03-8
- ^ 10.0 10.1 Onley, Derek; Scofield, Paul (2007). Albatrosses, Petrels and Shearwaters of the World (Helm Field Guides). Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 0713643323.
- ^ "Short-tailed Shearwaters Puffinus tenuirostris in the Andaman Sea area, Indian Ocean" (PDF). Emu 78 (ฉบับที่): 95-97.
- ^ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 12.8 12.9 Harrison, Peter; Peterson, Roger Tory (1991). Seabirds: A Complete Guide to the Seabirds of the World (Helm Identification Guides). Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 071363510X.
- ^ BirdLife International (2004). Pelecanus philippensis. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 10 May 2006.
- ^ BirdLife International (2006). Anhinga melanogaster. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ 15.00 15.01 15.02 15.03 15.04 15.05 15.06 15.07 15.08 15.09 15.10 15.11 15.12 15.13 15.14 15.15 15.16 15.17 15.18 15.19 15.20 15.21 15.22 15.23 15.24 15.25 15.26 15.27 15.28 Walters, Michael P. (1980). Complete Birds of the World. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.
- ^ BirdLife International (2004). Egretta eulophotes. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a brief justification of why this species is vulnerable
- ^ BirdLife International (2006). Mycteria cinerea. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a range map, a brief justification of why this species is vulnerable, and the criteria used
- ^ BirdLife International (2006). Ephippiorhynchus asiaticus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ BirdLife International (2006). Leptoptilos dubius. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a range map and justification for why this species is endangered
- ^ BirdLife International (2006). Threskiornis melanocephalus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ BirdLife International (2004). Pseudibis davisoni. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a range map, a brief justification of why this species is critically endangered, and the criteria used
- ^ BirdLife International (2004). Thaumatibis gigantea. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a brief justification of why this species is critically endangered and the criteria used
- ^ BirdLife International (2006). Platalea minor. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 9 May 2006. Database entry includes a range map and justification for why this species is endangered
- ^ Madge, Steve; Burn, Hilary (1988). Wildfowl: An Identification Guide to the Ducks, Geese and Swans of the World (Helm Identification Guides). Christopher Helm. ISBN 0-7470-2201-1.
- ^ BirdLife International (2006). Cairina scutulata. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a justification of why this species is endangered
- ^ Forsman, Dick (2008). The Raptors of Europe & the Middle East A Handbook of Field Identification. Princeton University Press. pp. 21–25. ISBN 0856610984.
- ^ 27.0 27.1 Ferguson-Lees, James; Christie, David (2005). Raptors of the World: A Field Guide (Helm Field Guides). Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 0713669578.
- ^ BirdLife International (2004). Ichthyophaga ichthyaetus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ 29.0 29.1 Madge, Steve; McGowan, Phil (2002). Pheasants, Partridges and Grouse. Christopher Helm. ISBN 0-7136-3966-0.
- ^ BirdLife International (2006). Arborophila charltonii. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 10 July 2007. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ BirdLife International (2004). Rollulus rouloul. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 29 December 2006. Database entry includes justification for why this species is near threatened
- ^ BirdLife International (2004). Lophura ignita. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 30 October 2006. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ BirdLife International (2006). Grus antigone. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 18 May 2008. Database entry includes a range map and justification for why this species is vulnerable
- ^ Taylor, Barry; van Perlo, Ber (2000). Rails. Pica / Christopher Helm. ISBN 1873403593.
- ^ BirdLife International (2004). Heliopais personatus. 2007 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2007. Retrieved on 17 April 2008. Database entry includes justification for why this species is vulnerable
- ^ 36.0 36.1 36.2 36.3 36.4 36.5 36.6 36.7 Hayman, Peter; Marchant, John; Prater, Tony (1991). Shorebirds: An Identification Guide to the Waders of the World. Houghton Mifflin. ISBN 0395602378.
- ^ BirdLife International (2004). Eurynorhynchus pygmeus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes justification for why this species is endangered
- ^ "Spoon-billed Sandpiper Eurynorhynchus pygmeus". Species factsheet. BirdLife International. http://www.birdlife.org/datazone/species/index.html?action=SpcHTMDetails.asp&sid=3060&m=0. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-03-06.
- ^ Upton, Nick. "Slaty-backed Gull, A new species for Thailand". thaibirding.com. http://www.thaibirding.com/news/slatybackedgull.htm. Retrieved 23 November 2009
- ^ Gibbs, David; Barnes, Eustace; Cox, John (2001). Pigeons and Doves. Pica Press. ISBN 1873403607.
- ^ 41.0 41.1 41.2 YAP, Charlotte A. M.; Sodhi, Navjot S. (2004). "Southeast Asian invasive birds: ecology, impact and Management" (PDF). Ornithological Science 3 (ฉบับที่): 57-67. doi:10.2326/osj.3.57.
- ^ BirdLife International (2004). Caloenas nicobarica. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ BirdLife International (2006). Treron fulvicollis. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 19 May 2008. Database entry includes a range map and justification for why this species is threatened
- ^ BirdLife International (2006). Treron capellei. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 24 July 2007. Database entry includes a brief justification of why this species is vulnerable
- ^ BirdLife International (2006). Otus sagittatus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is vulnerable
- ^ BirdLife International (2006). Otus rufescens. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ 47.0 47.1 Cleere, Nigel; Nurney, David (2000). Nightjars: A Guide to the Nightjars, Frogmouths, Potoos, Oilbird and Owlet-nightjars of the World. Pica / Christopher Helm. ISBN 1873403488.
- ^ 48.0 48.1 Chantler, Phil; Driessens, Gerald (illustrator (2000). Swifts. Pica / Christopher Helm. ISBN 1873403836.
- ^ 49.0 49.1 49.2 Fry, C. Hilary; Fry, Kathie and Harris, Alan (1992). Kingfishers, Bee-eaters and Rollers. London: Christopher Helm. ISBN 0-7136-1410-8.
- ^ "Hoopoe". Birdguide. Royal Society for the Protection of Birds (RSPB). http://www.rspb.org.uk/wildlife/birdguide/name/h/hoopoe/index.asp. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-04-17.
- ^ Short, L. L. Horne J. F. M. (2002) "วงศ์ Capitonidae (barbets)" in del Hoyo J., Elliott A. & Christie D.A. (2004) Handbook of the Birds of the World. Volume 7. Jamacars to Woodpeckers Lynx Edicions, Barcelona ISBN 84-87334-37-7
- ^ BirdLife International (2007). Megalaima rafflesii. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is vulnerable
- ^ BirdLife International (2006). Pitta caerulea. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ BirdLife International (2006). Pitta elliotii. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ "Gurney's Pitta - BirdLife Species Factsheet". BirdLife International. http://www.birdlife.org/datazone/species/index.html?action=SpcHTMDetails.asp&sid=4003&m=0. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-05-14.
- ^ BirdLife International (2006). Pitta granatina. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ BirdLife International (2004). Eurochelidon sirintarae. 2007 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2007. Retrieved on 3 January 2008. Database entry includes justification for why this species is critically endangered
- ^ Humphrey, Stephen R.; Bain, James R. (1990). Endangered Animals of Thailand. CRC Press. pp. 228–9. ISBN 1877743070.
- ^ Jønsson, K.A., J. Fjeldså, P.G.P. Ericson, and M. Irestedt (2007) "Systematic placement of an enigmatic Southeast Asian taxon Eupetes macrocerus and implications for the biogeography of a main songbird radiation, the Passerida" Biology Letters 3 (3) : 323-326
- ^ BirdLife International (2006). Pycnonotus zeylanicus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is vulnerable
- ^ Dickinson, E. C.; Dekker, R. W. R. J; Eck, S; Somadikarta, S. (2003). "Systematic notes on Asian birds. 35. Types of the Aegithinidae". Zoologische Verhandelingen, Leiden 344 (ฉบับที่): 17-24.
- ^ Brewer, David; Mackay, Barry Kent (2001). Wrens, Dippers and Thrashers (Helm Identification Guides). Pica / Christopher Helm. ISBN 187340395X.
- ^ Clement, Peter; Hathway, Ren; Wilczur, Jan (2000). Thrushes (Helm Identification Guides). Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 0713639407.
- ^ 64.0 64.1 Baker, Kevin; Baker, (1997). Warblers of Europe Asia and North Africa Jeff. Princeton University Press. ISBN 0691011699.
- ^ Round, Philip D.; Hansson, Bengt; Pearson, David J; Kennerley, Peter R; Bensch, Staffan (2007). "Lost and found: the enigmatic large-billed reed warbler Acrocephalus orinus rediscovered after 139 years" (Abstract). Journal of Avian Biology 38 (ฉบับที่ 2): 133. doi:10.1111/j.1474-919X.2005.00467.x.
- ^ Boles, W.E. (2006). "วงศ์ Rhipiduridae (Fantails)" 200-244 in: del Hoyo, J., Elliott, A. & Christie, D.A. eds (2006) Handbook of the Birds of the World. Vol. 11. Old World Flycatchers to Old World Warblers. Lynx Edicions, Barcelona. ISBN 978-84-96553-06-4
- ^ Hall, Michelle; Ford, Hugh A. (2003). "Monarch Flycatchers". In Perrins, Christopher. The Firefly Encyclopedia of Birds. Firefly Books. pp. 504–505. ISBN 1-55297-777-3.
- ^ BirdLife International (2006). Malacopteron affine. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ BirdLife International (2006). Kenopia striata. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is near threatened
- ^ Collar, N. J. & Robson, C. (2007) วงศ์ Timaliidae (Babblers) 70-291 in; del Hoyo, J., Elliott, A. & Christie, D.A. eds. Handbook of the Birds of the World |, Vol. 12. Picathartes to Tits and Chickadees. Lynx Edicions, Barcelona.
- ^ Stachyris ambigua Avibase สืบค้นวันที่ 26-05-2010
- ^ 72.0 72.1 72.2 72.3 72.4 Harrap, Simon; Quinn, David (1996). Tits, Nuthatches and Treecreepers. Christopher Helm. ISBN 0-7136-3964-4.
- ^ Magrath, Robert (2003). "Australian Warblers". In Perrins, Christopher. The Firefly Encyclopedia of Birds. Firefly Books. pp. 470–471. ISBN 1-55297-777-3.
- ^ 74.0 74.1 Cheke, Robert A; Mann, Clive; Allen, Ricard (2001). Sunbirds: A Guide to the Sunbirds, Spiderhunters, Sugarbirds and Flowerpeckers of the World (Helm Identification Guides). Pica / Christopher Helm. ISBN 1873403801.
- ^ LeCroy, Mary (September 2003). "Type specimens of birds in the American Museum of Natural History. Part 5. Passeriformes: Alaudidae, Hirundinidae, Motacillidae, Campephagidae, Pycnonotidae, Irenidae, Laniidae, Vangidae, Bombycillidae, Dulidae, Cinclidae, Troglodytidae, and Mimidae". Bulletin of the American Museum of Natural History 278 (ฉบับที่ 1): 1-156. doi:10.1206/0003-0090 (2003) 278<0001:TSOBIT>2.0.CO;2.
- ^ 76.0 76.1 Harris, Tony; Franklin, Kim (2000). Shrikes and Bush-shrikes: Including Wood-shrikes, Helmet-shrikes, Shrike Flycatchers, Philentomas, Batises and Wattle-eyes (Helm Identification Guides). Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 0691070369.
- ^ Madge, Steve; Burn, Hilary (1994). Crows and jays: a guide to the crows, jays and magpies of the world. A&C Black. ISBN 0-7136-3999-7.
- ^ Feare, Chris; Craig, Adrian (1999). Starlings and Mynas. Princeton University Press. ISBN 0-7136-3961-X.
- ^ 79.0 79.1 79.2 Clement, Peter; Harris, Alan; Davis, John (1999). Finches and Sparrows: An Identification Guide (Helm Identification Guides). Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 0713652039.
- ^ Byers, Clive; Curson, Jon; Olsson, Urban (1996). Sparrows and Buntings: A Guide to the Sparrows and Buntings of North America and the World. Houghton Mifflin. ISBN 0395738733.
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Birdwatching in Thailand
- Waders of Thailand (photos)
- Herbert G Deignan 1963 Checklist of the birds of Thailand. US National Museum bulletin 226