|
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงไอซีที |
|
|
กรม อุตุนิยมวิทยา
|
สำนักงาน สถิติแห่งชาติ |
|
|
ทีโอที
|
กสท.
|
|
ไปรษณีย์ไทย
|
ซิป้า
|
|
|
<<
เชื่อมโยงเว็บไซต์ >> |
|
แผนที่การเดินทาง | |
|
หน้าแรก \ ศูนย์รวมความรู้
ศูนย์รวมความรู้
โดย สมคิด จรัสกิจวิกัยกุลคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 51
ถนนเชื่อมสัมพันธ์ เขตหนองจอก กรุงเทพ 10530 โทร 02-988-3655,
02-988-3666 โทรสาร 02-988-4040 E-mail: somkid@mut.ac.th
ดาวเนปจูน
(Neptune) |
|
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) |
4.5 พันล้านกิโลเมตร |
รัศมี (โดยเฉลี่ย) |
24766 กิโลเมตร (3.883 เท่าของโลก) |
มวล |
1.0243x1026 kg (17.147 เท่าของโลก) |
คาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ |
60190 วัน (164.79 ปี) |
คาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง |
16.11 ชั่วโมง |
จำนวนดาวบริวาร |
13 |
สัญลักษณ์ |
|
อุณหภูมิ |
-200 องศาเซลเซียส |
ดาวเนปจูน(หรือที่คนไทยเรียกดาวเกตุ)
เป็นดาวเคราะห์สุดท้ายคือลำดับที่ 8
ในระบบสุริยะที่มีขนาดเล็กที่สุดและหนาวเย็นที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ทั้งสี่
(ได้แก่ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน)
ดาวเนปจูนถูกค้นพบในปี 1846
ซึ่งถือว่าดาวเนปจูนเป็นดาวดวงแรกที่ถูกค้นพบได้ด้วยการคำนวนทางคณิตศาสตร์ต่างกับดาวเคราะห์ดวงอื่นที่ถูกค้นพบด้วยการสังเกตการณ์
เนื่องจากนักดาราศาสตร์ได้พบว่าวงโคจรของดาวยูเรนัสมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากอิทธิพลของแรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งซึ่งในขณะนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงใด
ดาวเนปจูนจึงถูกค้นพบหลังจากนั้นในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับที่นักดาราศาสตร์ได้คำนวนไว้
ภาพวาดยานวอยเอเจอร์ 2
ขณะเดินทางไปถึงดาวเนปจูนและดวงจันทร์ Triton ของดาวเนปจูน ภาพจาก
http://cache-media.britannica.com/eb-media/12/74312-004-0405861C.jpg
ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยเดินทางไปสำรวจดาวเนปจูนคือยานวอยเอเจอร์
2 (Voyager 2) ซึ่งได้เดินทางไปถึงดาวเนปจูนในปี 1989
พร้อมทั้งถ่ายภาพดาวเนปจูนในระยะใกล้เป็นภาพแรกกลับมายังโลก
นอกจากนั้นยังได้ถ่ายภาพยืนยันว่าดาวเนปจูนมีวงแหวนอีกด้วยหลังจากวงแหวนของดาวเนปจูนถูกค้นพบมาแล้วก่อนหน้านั้น
ทั้งนี้ยานวอยเอเจอร์ 2
ยังได้ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเนปจูนเพิ่มเติมจากเดิมอีก 6
ดวงด้วย
วงโคจร
วงโคจรของดาวเนปจูน
วงโคจรของดาวเนปจูนมีความรีน้อยมากเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ
(ยกเว้นดาวศุกร์) นั้นคือมีความกลมค่อนข้างมาก
โดยมีจุดไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด 4.54 พันล้านกิโลเมตร
และจุดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด 4.44 พันล้านกิโลเมตร
คือมีความแตกต่างกันเพียงประมาณ 100 ล้านกิโลเมตร
แกนหมุนของดาวเนปจูนมีความเอียง 28.3
องศาเมื่อเทียบกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์
(ซึ่งคล้ายกับแกนโลกที่มีความเอียง 23.5 องศา)
ซึ่งหมายความว่าบนดาวเนปจูนจะมีฤดูกาลเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับโลก
แต่เนื่องจากดาวเนปจูนมีคาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวนานถึง 164.8 ปี
ฤดูกาลแต่ละฤดูกาลจึงยาวนานถึงประมาณ 40 ปี
และเนื่องจากคาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 164.8 ปีนี่เอง
ทำให้ดาวเนปจูนยังโคจรไม่ครบ 1 รอบดีในปีนี้(ปี 2009)
ตั้งแต่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 1846 (จะโคจรครบ 1 รอบในปี
2011)
โครงสร้างของดาวเนปจูน
ดาวเนปจูนมีขนาดและโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับดาวยูเรนัสโดยมีแกนกลางเป็นหินและน้ำแข็ง
ซึ่งมีมวลประมาณ 1.2 เท่าของแกนของโลกเรา มีความดันประมาณ 7 ล้านบาร์
ซึ่งมากกว่าความดันบรรยากาศบนพื้นโลกกว่าล้านเท่าและคาดว่ามีอุณหภูมิสูงกว่า
5400 เคลวิน
โครงสร้างของดาวเนปจูน
ชั้นแมนเทิลของดาวเนปจูนประกอบด้วยน้ำ แอมโมเนีย
และมีเทนที่มีอุณหภูมิ 2000 ถึง 5000 เคลวินและมีมวลประมาณ 10 ถึง 15
เท่าของมวลของโลก โดยชั้นของแมนเทิลนี่เองที่สร้างสนามแม่เหล็กรอบๆ
ดาวเนปจูน
ส่วนชั้นนอกสุดของดาวเนปจูนเป็นชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยแก๊สไฮโดรเจน
ฮีเลียม และมีเทน
เนื่องจากดาวเนปจูนมีการโคจรรอบตัวเองที่รวดเร็วมากคือประมาณ 16.11
ชั่วโมง จึงทำให้ดาวเนปจูนมีลักษณะโป่งออกที่เส้นศูนย์สูตร
โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณเส้นศูนย์สูตรมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวขั้วเหนือ-ใต้ประมาณ
848 กิโลเมตร
ชั้นบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูนประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน 79 เปอร์เซนต์
ฮีเลียม 18 เปอร์เซนต์ แก๊สมีเทนและแก๊สอื่นๆอีก 3 เปอร์เซนต์
และแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศนี่เองที่เป็นตัวดูดกลืนแสงสีแดงพร้อมทั้งสะท้อนแสงสีน้ำเงินทำให้เราสังเกตุเห็นดาวเนปจูนปรากฏเป็นสีน้ำเงิน
ชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูนมีความแปรปรวนสูงมีพายุขนาดใหญ่และกระแสลมที่รุนแรงมาก
โดยอาจมีกระแสลมแรงถึง 2160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวเนปจูนมีความหนาวเย็นมากคือมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย
-200 องศาเซลเซียส เนื่องจากว่าดาวเนปจูนอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มาก
ความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงมีผลต่อดาวเนปจูนน้อยมาก
ความร้อนส่วนใหญ่ที่มีผลต่อบรรยากาศบนดาวเนปจูนจึงมาจากความร้อนภายในแกนของดาวเนปจูนเอง
ภาพ Great Dark Spot บนดาวเนปจูน
ถ่ายโดยยานสำรวจ Voyager 2
เป็นการเกิดพายุแบบหมุนทวนเข็มนาฬิกาบนดาวเนปจูน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
แก้ไขล่าสุด 25 กรกฎาคม
2552
กลับไปด้านบน |