ดาวเนปจูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาวเนปจูน  Neptune symbol.svg
Neptune.jpg
ภาพดาวเนปจูนจากยานวอยเอเจอร์ 2
ถ่ายเมื่อ 16-17 สิงหาคม พ.ศ. 2532
ลักษณะของวงโคจร
จุดเริ่มยุค J2000
ระยะจุด
ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด
:
4,536,874,325 กม.
(30.32713169 หน่วยดาราศาสตร์)
ระยะจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
4,459,631,496 กม.
(29.81079527 หน่วยดาราศาสตร์)
กึ่งแกนเอก: 4,498,252,900 กม.
(30.06896348 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวง
ของวงโคจร:
28.263 เทระเมตร
(188.925 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.00858587
คาบดาราคติ: 60,224.9036 วัน
(164.89 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก: 367.49 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
5.432 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร:
5.479 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร:
5.385 กม./วินาที
ความเอียง: 1.76917°
(6.43° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
131.72169°
ระยะมุมจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
273.24966°
จำนวนดาวบริวาร: 13
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
49,528 กม.
(3.883×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวขั้ว:
48,681 กม.
(3.829×โลก)
ความแป้น: 0.0171
พื้นที่ผิว: 7.619×109 กม.²
(14.937×โลก)
ปริมาตร: 6.2526×1013 กม.³
(57.723×โลก)
มวล: 1.0243×1026กก.
(17.147×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 1.638 กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
11.00 เมตร/วินาที²
(1.122 จี)
ความเร็วหลุดพ้น: 23.5 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
0.67125000 วัน
(16 ชม. 6 นาที 36.00000 วินาที)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง:
2.68 กม./วินาที
(9,660 กม./ชม.)
ความเอียงของแกน: 28.32°
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ:
299.33°
(19 ชม. 57 นาที 20 วินาที)
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ:
42.95°
อัตราส่วนสะท้อน: 0.41
อุณหภูมิพื้นผิว:
   อุณหภูมิเฉลี่ยที่ยอดเมฆ
ต่ำสุด เฉลี่ย สูงสุด
50 K 53 K
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
100-300 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ: >84% ไฮโดรเจน
>12% ฮีเลียม
2% มีเทน
0.01% แอมโมเนีย
0.00025% อีเทน
0.00001% อะเซทิลีน

ดาวเนปจูน (อังกฤษ: Neptune) หรือชื่อไทยว่า ดาวสมุทร[1] หรือ ดาวเกตุ คือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับที่ 8 หรือลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับการโคจรของดาวพลูโต ซึ่งบางครั้งจะเข้ามาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า) ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมัน (กรีก : โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆)

ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เสียอีก

ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัส) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan)

ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 13 ดวง และดวงใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน

ภาพจาก ยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวเนปจูนและดวงจันทร์บริวาร ชื่อ ไทรทัน

[แก้] ประวัติการค้นพบ

ในปี พ.ศ. 2389 เออร์เบียง เลอ เวอร์ริเยร์ (Urbain Le Verrier) คำนวณว่า ต้องมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งรบกวนการโคจรของดาวยูเรนัส จนเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2389 โจฮันน์ จี. กาลเล (Johann G. Galle) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันแห่งหอดูดาวเบอร์ลิน ได้ค้นพบดาวเนปจูน ในตำแหน่งใกล้เคียงกับผลการคำนวณดังกล่าว

นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เออร์เบียง เลอ เวอริเยร์

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ราชบัณฑิตยสถาน 2546. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
ดาวเนปจูน

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น