นกกระทุง
นกกระทุง | |
---|---|
Pink-backed Pelican (Pelecanus rufescens). | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Pelecaniformes |
วงศ์: | Pelecanidae Rafinesque, 1815 |
สกุล: | Pelecanus Linnaeus, 1758 |
สปีชีส์ | |
เนื้อหา |
[แก้] ลักษณะทั่วไป
นกกระทุงเป็นนกขนาดใหญ่ มีความยาวจากปากถึงปลายหางประมาณ 52 - 60 นิ้ว เป็นนกน้ำ ขาสั้นใหญ่ ปากยาวแบนข้างใต้มี ถุงสีออกม่วงขนาดใหญ่ บริเวณขอบปากบนมีจุดสีน้ำเงินเข้มอยู่เป็นระยะตามความยาวของจงอยปาก ตีนมีพังผืดสี เหลืองขึงเต็มระหว่างนิ้วทุกนิ้วคล้ายเป็ด ม่านตาสีแดง แข้งและเท้าสีเนื้อ สามารถว่ายน้ำได้ดี บินได้สูง ในฤดูผสมพันธุ์ ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินในช่วงบนของลำตัว ส่วนช่วงล่างจะเป็นสีขาว แต่ถ้าไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ปีก หางและส่วนใต้ลำตัว จะมีสีน้ำตาลเช่นเดียวกับนกกระทุงที่ยังไม่โตเต็มที่ ทั้งตัวผู้และตัวเมียรูปร่างและสีสันเหมือนกัน นกกระทุงชอบอยู่เป็นฝูง กินปลา กุ้ง กบ สัตว์เลื้อยคลานเล็กๆเป็นอาหารและหาอาหารด้วยกัน ถ้าตัวใดตัวหนึ่งทำอะไรตัวอื่นจะทำตาม เวลาที่มั นอยู่เฉยๆจะหันหน้าไปทางเดียวกันหมด เวลาบินจะหดคอเข้ามา บินกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง บางครั้งบินเป็นรูปตัว "วี" (V) ส่วนใหญ่จะบินเป็นรูปขั้นบันไดกว้างๆ รังสร้างด้วยกิ่งไม้ใหญ่ๆวางสานกันบนต้นไม้สูงๆ ขนาดของรังมีเส้นผ่าศูนย์ กลาง 2 ฟุต วางไข่ครั้งละประมาณ 3 ฟอง ไข่มีสีขาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันกกไข่ประมาณ 4 - 5 อาทิตย์ จึงฟักเป็นตัว คนยุโรปในยุคกลางเชื่อกันว่านกกระทุงเลี้ยงลูกอ่อนด้วยเลือดของมันเองโดยใช้ปากเจาะเลือดจากอกของมัน
[แก้] ถิ่นที่อยู่อาศัย
อินเดีย, จีน, ไหหลำ, ไต้หวัน, ซุนดา, ออสเตรเลีย, โซโลมอน, อินโดจีน, ฟิลิปปินส์, แหลมมลายูและไทย ประเทศไทย มีอยู่ทั่วไปทุกภาค ปัจจุบันเป็นนกที่ค่อนข้างพบเห็นยากมาก เคยพบปนอยู่กับฝูงนกปากห่างที่วัดไผ่ล้อม จ.ปทุมธานี ตั้งแต่ ปี 2545 ได้มีการพบเห็นฝูงนกกระทุงที่บินผ่านประเทศไทยและแวะพักหากินที่บ่อปลาของชาวบ้านใน หมู่ 7 ต.หน้าโคก อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีบ่อปลาอยู่ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ปีละ 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และสามารถมองเห็นได้บนเสาไฟฟ้าแรงสูงจากถนนเสนทางสายป่าโมก-สุพรรณ ช่วงหน้าโคก
[แก้] พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงทั้งช่วงเวลาหากินและทำรัง ขณะหาอาหารจะใช้ถุงใต้คอทำหน้าที่คล้ายสวิงช้อนปลาลงในลำคอ นกกระทุงทำรังอยู่บนต้นไม้รวมกันเป็นฝูง วางไข่คราวละ 1-5 ฟอง และใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 30 วัน โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียผลัดกันทำหน้าที่
[แก้] สถานภาพปัจจุบัน
ใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 บัญญัติไว้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง