มือ
Hand | |
---|---|
มือซ้ายของมนุษย์ | |
ละติน | manus |
หลอดเลือดดำ | ร่างแหหลอดเลือดดำหลังมือ (dorsal venous network of hand) |
เส้นประสาท | เส้นประสาทอัลนาร์, เส้นประสาทมีเดียน, เส้นประสาทเรเดียล |
MeSH | Hand |
มือ (อังกฤษ: Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ [1] หยิบ สิ่งของต่างๆ
เนื้อหา |
[แก้] กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์
มือของมนุษย์ประกอบด้วยฝ่ามือ (Palm) กับนิ้วมือ (Finger) ปลายแขนนั้นโดยร่วมกันเรียกว่าข้อมือ (Wrist) และหลังมือ (Back of the hand)
[แก้] นิ้วมือ
นิ้วมือนั้นอยู่นอกสุดของมือ สามารถขยับไปมาได้มากกว่าฝ่ามือ นิ้วมือนั้นมีทั้งหมดห้านิ้ว คือ
- นิ้วหัวแม่มือ หรือ นิ้วโป่ง (Thumb)
- นิ้วชี้ (Index finger)
- นิ้วกลาง (Middle finger)
- นิ้วนาง (Ring finger)
- นิ้วก้อย (Pinky)
[แก้] ลายนิ้วมือ
ลายนิ้วมือนั้นมีมาแต่กำเนิด และจะดำรงอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้ประชากรทั่วโลกจำนวนหลายพันล้านคนจะไม่มีใครที่มีลายนิ้วมือเหมือนกันเลย ดังนั้นการพิมพ์ลายนิ้วมือจึงเป็นสิ่งที่มีเฉพาะบุคคล และจำแนกบุคคล แต่ละบุคคลได้ชัดเจน ลายนิ้วมือนั้นสามารถแบ่งออกได้ 4 จำพวกใหญ่ ๆ คือ
โดยทั่วไปแล้วลายนิ้วมือแบบ 1-3 นั้นเป็นลายนิ้วมือปกติ แต่ถ้าเป็นลายนิ้วมือแบบที่ 4 ทางแพทย์จีนกล่าวว่า ผู้ที่ลายนิ้วมือดังกล่าวมักเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ โรคประสาท โรคเกี่ยวกับอัณฑะ แต่ถ้าเป็นสตรีมักตั้งครรภ์มาก หรือเป็นโรคเกี่ยวกับเต้านม สำหรับบุคคลที่มีลายนิ้วมือผิดปกติจาก 4 จำพวกข้างต้นมักเกิดขึ้น เนื่องจากประสาทเจริญเติบโตผิดปกติ หรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นขาดออกซิเจน หรือไม่เพียงพอ การกระจายหรือการเจริญเติบโตของต่อมเหงื่อไม่ดี เป็นต้น ถ้าลายนิ้วมือผิดปกติ และไม่ใช่นิ้วหัวแม่มือ จะไม่ค่อยมีความหมายมากนัก แต่หากเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ หรือเป็นที่นิ้วอื่นหลาย ๆ นิ้ว แสดงว่าร่างกายไม่แข็งแรง [2]
[แก้] กระดูก
โครงกระดูกของมือมนุษย์มีทั้งหมด 27 กระดูก
[แก้] กระดูกข้อมือ
โครงกระดูกตรงข้อมือมีทั้งหมด 8 กระดูกอยู่เรียงติวกันเป็นแถว ซึ่งเชื่องโยงกับกระดูกแขน (สแคฟฟอยด์ ,ลูเนท ,ไตรกีตรัล ,พิสิฟอร์ม ,ทราพีเซียม ,ทราพีซอยด์ ,แคปปิเตต และฮาเมต)
[แก้] กระดูกฝ่ามือ
โครงกระดูกตรงฝ่ามือมีทั้งหมด 5 กระดูก คือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือ ,กระดูกฝ่ามือของนิ้วชี้ ,กระดูกฝ่ามือของนิ้วกลาง ,กระดูกฝ่ามือของนิ้วนาง และกระดูกฝ่ามือของนิ้วก้อย
[แก้] กระดูกนิ้วมือ
โครงกระดูกตรงนิ้วมือมีทั้งหมด 3 กระดูก คือ กระดูกนิ้วมือท่อนต้น ,กระดูกนิ้วมือท่อนกลาง และกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย
[แก้] กล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อในมือมีทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มกล้ามเนื้อภายนอก
- กลุ่มกล้ามเนื้อภายใน
[แก้] ฝ่ามือด้านข้าง
[แก้] เนินโคนหัวแม่มือ
[แก้] ฝ่ามือด้านใกล้ลำตัว
กล้ามเนื้อ | จุดเกาะต้น | จุดเกาะปลาย | หลอดเลือดแดง | เส้นประสาท | หน้าที่ | กล้ามเนื้อต้าน |
palmaris brevis | flexor retinaculum (medial) , palmar aponeurosis | palm | superficial branch of ulnar nerve | wrinkle skin of palm |
เนินโคนนิ้วก้อย (Hypothenar eminence) :
-
กล้ามเนื้อ จุดเกาะต้น จุดเกาะปลาย หลอดเลือดแดง เส้นประสาท หน้าที่ กล้ามเนื้อต้าน abductor minimi digiti pisiform base of the proximal phalanx of the 5th digit on the ulnar or medial side ulnar artery deep branch of ulnar nerve Abduction of little finger flexor digiti minimi brevis hamate bone little finger ulnar artery deep branch of ulnar nerve flexes little finger Extensor digiti minimi muscle opponens digiti minimi Hook of hamate and flexor retinaculum Medial border of 5th metacarpal ulnar artery deep branch of ulnar nerve (C8 and T1) Draws 5th metacarpal anteriorly and rotates it, bringing little finger (5th digit) into opposition with thumb
[แก้] กลางมือ
[แก้] เส้นประสาท
มือ มีเส้นประสาทโดยรวมแล้วประมาณ 3 เส้นประสาท คือ เส้นประสาทอัลนาร์ ,เส้นประสาทมีเดียน และเส้นประสาทเรเดียล
[แก้] ความแตกต่างระหว่างเพศ
ความยาวเฉลี่ยของชายมือผู้ใหญ่เป็น 189 มม. ในขณะที่ความยาวเฉลี่ยของหญิงมือผู้ใหญ่เป็น 172 มม. ความกว้างมือโดยเฉลี่ยสำหรับผู้ใหญ่เพศชายและเพศหญิงคือ 84 และ 74 มม. ตามลำดับ
[แก้] ความผิดปกติและโรค
- ภาวะนิ้วเกิน
- ภาวะนิ้วติดกัน
- ภาวะมือติดเชื้อ
- ศัลยแพทย์ทางมือ
- ผังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ
- นิ้วล็อก
- อาการมือหงิก
- กระดูกสแคฟฟอยด์หัก
- กระดูกฝ่ามือของนิ้วก้อยหัก
- โรคมือ เท้า และปาก
- โรคมือชา
- โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ3
[แก้] ประโยชน์
[แก้] ด้านภาษา
-
ดูบทความหลักที่ ภาษามือ
- ภาษามือ = เป็นการ เป็นอวัจนภาษาอย่างหนึ่ง ที่ประกอบด้วย การสื่อสารด้วยมือ, การสื่อสารด้วยร่างกาย และการใช้ริมฝีปากในการสื่อความหมายแทนการใช้เสียงพูด การสื่อสารจะใช้ลักษณะของมือที่ทำเป็นสัญลักษณ์ การเคลื่อนไหวมือ แขนและร่างกาย และการแสดงความรู้สึกทางใบหน้าเพื่อช่วยในการสื่อสารความคิดของผู้สื่อ ภาษาสัญลักษณ์ส่วนใหญ่มักใช้ในกลุ่มผู้พิการทางหู ซึ่งรวมทั้งผู้พิการทางหูเอง ผู้ตีความหมาย (interpreter) ผู้ร่วมงาน เพื่อน และครอบครัวของผู้พิการทางหูซึ่งอาจจะพอได้ยินบ้างหรือไม่ได้ยินเลย
[แก้] ด้านการละเล่น
- เป่ายิ้งฉุบ = เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่นิยมกันมากในหมู่เด็กๆ หลายชาติหลายภาษาทั่วโลก อาศัยเพียงเสี่ยงมือระหว่างผู้เล่นสองฝ่าย เพื่อเอาชนะกัน การเสี่ยงมือทำได้ 3 แบบ คือ ค้อน (กำมือ) , กระดาษ (แบมือ) และกรรไกร (ยื่นเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลาง)
- จ้ำจี้ = เป็นการละเล่นของไทย โดยผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน คว่ำมือทั้งสองลงบนพื้น คนหนึ่งเป็นคนจี้ โดยใช้นิ้วชี้จิ้มไปที่นิ้วของผู้เล่นไล่ไปทีละนิ้วให้รอบวง พร้อมทั้งร้องเพลงไปด้วย เมื่อร้องจบแล้ว จิ้มอยู่ที่นิ้วใดคนนั้นต้องพับนิ้วนั้นเข้าไป ผู้จิ้มก็เริ่มเล่นใหม่ไปเรื่อยๆ ใครต้องพับนิ้วทั้งหมดเป็นคนแรกแพ้ [3]
- การเล่นละครหุ่นมือ = หุ่นที่ทำเป็นตัวอะไรก็ได้ที่มีอยู่ในบทละครที่แสดง เช่น คน สัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น ตัวหุ่นทำด้วยผ้าหรือกระดาษ เวลาแสดงใช้สวมที่มือ ใช้นิ้วชี้ทำหน้าที่ส่วนหัว ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางหรือนิ้วก้อยแสดงการเคลื่อนไหวของหุ่น [4]
[แก้] ด้านประเพณี
- การไหว้แบบไทย = เป็นมารยาทไทยที่เป็นสืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ หรือการกล่าวลา โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ คำที่มักจะกล่าวในขณะที่ไหว้เพื่อทักทายหรือกล่าวลานั้นคือ คำว่า สวัสดี มาจาก พระยาอุปกิตศิลปสาร หรือ นิ่ม กาญจนาชีวะ ซึ่ง"สวัส" แปลว่าก้าวหน้า รวมแล้วจึงแปลว่า "ขอให้เจริญรุ่งเรือง"
- การกราบ = การกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุด ต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด ซึ่งก็คือพระนั่นเอง เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า โดย เบญจ ซึ่งแปลว่า ๕ นั้น หมายถึง อวัยวะทั้ง ๕ อันได้แก่ หน้าผาก มือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง โดยอวัยวะที่ว่านั้น เวลากราบจะต้องจรดลงให้ติดกับพื้น ซึ่งท่านี้จะปฏิบัติแตกต่างกันใน หญิง และ ชาย [5]
[แก้] ด้านการใช้บำบัด
- การนวด = การนวด เป็นจัดระเบียบร่างกายรูปแบบหนึ่ง เพื่อการบำบัดและทำให้ร่างกายผ่อนคลาย โดยใช้ทักษะทางร่างกายและอุปกรณ์เสริมด้วยการ บีบ จับ คลึง รีดเส้น เหยียบ ยัน กดจุด ดัด หรือกระตุ้นด้วยการสั่น เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและต่อมต่างๆ ในบริเวณนั้นๆ ทำงานดีขึ้น เช่น การนวดแผนไทย
- กายภาพบำบัดมือ = เป็นวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ ที่เกิดขึ้นจากสภาพและภาวะของโรค ที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของชีวิต การบำบัดมือช่วยให้กันโรคนิ้วล็อก และช่วยให้ผ่อนคลาย
[แก้] ด้านการบอกตำแหน่งทิศทาง
มือนั้นมีสองข้าง คือ มือซ้าย และมือขวา ซึ่งสามารถบอกตำแหน่งซ้าย-ขวาได้ มีความสัมพันธุ์ของการหาตำแหน่งและทิศทางได้ 2 วิธี คือ
- ความสัมพันธ์ระหว่างด้านหมุนและด้านตรง
- ความสัมพันธ์ของเส้นตรงสามเส้น
[แก้] ด้านคณิตศาสตร์
- การหาค่าฟังก์ชันตรีโกณมิติโดยใช้มือ = คือ ฟังก์ชันของมุม ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษารูปสามเหลี่ยมและปรากฏการณ์ในลักษณะเป็นคาบ ฟังก์ชันอาจนิยามด้วยอัตราส่วนของด้าน 2 ด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก หรืออัตราส่วนของพิกัดของจุดบนวงกลมหนึ่งหน่วย หรือนิยามในรูปทั่วไปเช่น อนุกรมอนันต์ หรือสมการเชิงอนุพันธ์ รูปสามเหลี่ยมที่นำมาใช้จะอยู่ในระนาบแบบยุคลิด ดังนั้น ผลรวมของมุมทุกมุมจึงเท่ากับ 180° เสมอ[6]
[แก้] อ้างอิง
[แก้] ดูเพิ่มเติม
|
|