ยีราฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยีราฟ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์ (Animalia)
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง (Chordata)
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammalia)
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Giraffidae
สกุล: ยีราฟ (Giraffa)
สปีชีส์: G. camelopardalis
ชื่อวิทยาศาสตร์
Giraffa camelopardalis
ลินเนอัส, ค.ศ. 1758

ยีราฟ (Giraffa camelopardalis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง คอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวสีเหลืองและน้ำตาลเข้มเป็นลาย อยู่รวมกันเป็นฝูง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16 - 18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย

คำว่า "camelopardalis" เป็นศัพท์ภาษาละติน (ที่มีต้นเค้าจากคำศัพท์ใน ภาษากรีก) จากคำว่า "camelos" (อูฐ) กับ "pardalis" (เสือดาว) เนื่องจากลักษณะยีราฟคล้ายกับสัตว์ทั้งสองชนิดดังกล่าว ส่วนในภาษาอังกฤษสมัยกลาง เคยใช้คำว่า "camelopard" เรียก ยีราฟ

ส่วนคำว่า ยีราฟ (giraffe) ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ zarafa

อนึ่ง ยีราฟ ยังถูกใช้เป็นชื่อเรียกกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่งด้วย

เนื้อหา

[แก้] ความสัมพันธ์กับมนุษย์

[แก้] นัยสำคัญทางวัฒนธรรม

ยีราฟยังได้ปรากฏตัวในแอนิเมชัน โดยรับบทเป็นตัวประกอบใน เดอะ ไลอ้อน คิง และ ดัมโบ้ รวมถึงมีบทบาทที่โดดเด่นในภาพยนตร์ เดอะ ไวล์ด แก็งค์เขาดินซิ่งป่วนป่า และ มาดากัสการ์ ส่วนยีราฟโซฟี เป็นยางกัดที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 และตัวละครที่เป็นยีราฟที่มีชื่อเสียงอื่นๆเป็นตัวนำโชคของ ทอยส์ "อาร์" อัส ที่มีชื่อว่า ยีราฟเจฟฟรีย์[1] นอกจากนี้ ยีราฟยังเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศแทนซาเนีย[2]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Williams, E. (2011). Giraffe. Reaktion Books. ISBN 1-86189-764-2.
  2. ^ Knappert, J (1987). East Africa: Kenya, Tanzania & Uganda. Vikas Publishing House. p. 57. ISBN 0-7069-2822-9. 
  • Wilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds), ed (2005). Mammal Species of the World (3rd edition ed.). Johns Hopkins University Press. ISBN 0-8018-8221-4.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น