ดาวหาง (Comets)

     กำเนิดและลักษณะทั่วไปของดาวหาง
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดาวหางเป็นซากวัตถุดั้งเดิม
ที่หลงเหลืออยู่จากสมัยเมื่อระบบสุริยะ
ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อหลายพันล้านปีมาแล้ว และเป็นบริวารอย่างหนึ่งในระบบสุริยะ
ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับดาวเคราะห์

ดาวหางแฮลลีย์ (Halley)
เข้าใกล้โลกล่าสุดปี พ.ศ.2529
ประวัติความเป็นมา
     ในปี พ.ศ.2493 นักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ แจน ออร์ด ( Jan Oort ) เป็นผู้เสนอทฤษฎีว่า
ต้องมีแหล่งที่อยู่ของดาวหางจำนวนหลาย ๆ ล้านดวงอยู่ไกลเลยจากดาวเคราะห์ดวงนอก ของระบบสุริยะออกไป โดยห่างจากดวงอาทิตย์ราว 30,000 หน่วยดาราศาสตร์ จนถึง 1 ปีแสง หรือไกลกว่านั้น จึงเรียกถิ่นที่อยู่ของดาวหางตามความคิดนี้ว่า ดงดาวหางออร์ด(The Oort Cloud)

ลักษณะทั่วไปของดาวหาง
     ขณะเมื่ออยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ดาวหางคล้ายก้อนน้ำแข็งสกปรกของหินและฝุ่นเกาะกัน อยู่ด้วยก๊าซและน้ำที่แข็งตัว โดยทั่วไปแล้วดาวหางมีขนาดใหญ่ไม่กี่กิโลเมตรเท่านั้น เมื่อดาวหางเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในระยะวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ดาวหางเริ่มอุ่นขึ้น น้ำแข็งรอบนอกระเหิดกลายเป็นก๊าซและฝุ่น เกิดกลุ่มเมฆก๊าซ เป็นบรรยากาศห่อหุ้มขนาดใหญ่ มากจนสามารถครอบคลุมโลกทั้งดวงได้ เรียกว่า โคมา หรือ หัวดาวหาง ล้อมรอบ นิวเคลียส หรือ ใจกลางหัวดาวหาง ซึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งในใจกลางและมีขนาดเล็กเพียงไม่กี่กิโลเมตรเท่านั้น
ดงดาวหางออร์ด
     นอกจากลมสุริยะและรังสีจากดวงอาทิตย์จะ
ทำให้เกิดโคมาขนาดใหญ่แล้วยังทำให้หางดาวหาง
พัดกระพือออกไปเป็นลำยาว ดวงหางบางดวง
อาจมีหางยาวเป็นหลายล้านกิโลเมตร และแม้ว่า
ดาวหางจะมีทิศทางเคลื่อนที่ไปอย่างไรก็ตาม แต่
หางของดาวหางจะหันหนีออกจากดวงอาทิตย์
เสมอ เราเห็นดาวหางสว่างขึ้นได้เพราะส่วนที่เป็น อนุภาคของแข็งและฝุ่นสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ กับทั้งอนุภาคก๊าซที่มีประจุไฟฟ้าในหางดาวหาง
ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์เรืองแสงขึ้น

โครงสร้างของดาวหาง
     - นิวเคลียส เป็นใจกลางหัวดาวหาง ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ จำพวก คาร์บอน ( C )ไฮโดรเจน (H) อ๊อกซิเจน (O ) และ ไนโตรเจน (N ) รวมตัวกัน โดยมีน้ำ เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนั้น ยังมีฝุ่นของซิลิกอน แมกนีเซียม และธาตุหนักอื่น ๆ ฝุ่นเหล่านี้รวมตัวกับน้ำแข็งอัดแน่นอยู่ด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นนิวเคลียสสีดำเหมือนถ่าน

     - โคมา เมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ รังสีความร้อนทำให้น้ำแข็งบริเวณผิวของนิวเคลียส ระเหิดเป็นไอ ก๊าซและฝุ่นผงจึงขยายตัวเป็นบรรยากาศห่อหุ้มนิวเคลียสไว้กลายเป็นหัวดาวหาง เรียกว่า โคมา

     - หางฝุ่น เป็นก๊าซและฝุ่นพัดกระพือออกจากหัวดาวหาง สะท้อนแสงให้เห็นเป็นหางชนิดสั้นและ มีลักษณะโค้ง มีความเป็นกลางทางประจุไฟฟ้า แรงดันจากรังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ผลัก ให้หางลู่ไปในแนวตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ

     - หางก๊าซ ก๊าซในหางดาวหางทำปฏิกิริยากับลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ ทำให้ก๊าซต่าง ๆ แตกตัว เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า หรือ ไอออน เช่น อนุภาคประจุคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO+) เปล่งแสง สีน้ำเงินในหางก๊าซเคลื่อนที่หนีออกจากดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อวินาที หางก๊าซ มีลักษณะเหยียดตรง และยืดยาวออกไปหลายล้านกิโลเมตร

ภาพถ่ายดาวหาง 2000WM1 ถ่ายโดย Martin George รัฐแทสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย

ภาพถ่ายใจกลางหัวดาวหาง
แฮลลีย์จากยานจอตโต
ขององค์การอวกาศยุโรป


วิถีโคจรของดาวหางลิเนียร์

วงโคจรของดาวหาง
     ดางหางส่วนใหญ่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีสูงและวงโคจรใหญ่มาก เรามีโอกาสเห็น ดาวหางได้เฉพาะเมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้ามาในเขตชั้นในของระบบสุริยะที่โลกอยู่เท่านั้น ดาวหางบางดวงมีวงโคจร ไม่ใหญ่มากนัก เราจึงเห็นดาวหางโคจรกลับมาอีก จัดว่าเป็น ดาวหางคาบโคจรสั้น ส่วนดาวหางที่มีคาบโคจร นานกว่า 200 ปี จัดให้เป็น ดาวหางคาบโคจรยาว

ตัวอย่างดาวหางดวงสำคัญ
     ดาวหางแฮลลีย์ (Halley) ดาวหางโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ครบหนึ่งรอบทุกคาบประมาณ 76 ปี จากบันทึกเก่าแก่พบว่า ชาวโลกมีโอกาสสังเกตดาวหางแฮลลีย์โคจรเข้ามาแล้ว 27 รอบ ครั้งหลังสุด คือเมื่อปี พ.ศ.2529 และดาวหางจะกลับมาอีกครั้งต่อไปในปี พ.ศ.2604-2605

 

ดาวหางอิเคยา-เซกิ ถ่ายเมื่อ
29 ตุลาคม พ.ศ.2508

ความสำคัญของดาวหาง
     นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ดาวหางเป็นซากวัตถุที่เหลือจากการก่อตัว
ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ มีอายุมากกว่า 4,500 ล้านปี เดินทางมาจากห้วงอวกาศแสนไกลและเย็นจัด ดาวหางจึงน่าจะ
ยังคงสภาพดั้งเดิมอยู่มาก อาจประกอบด้วยอินทรีย์สารที่จำเป็น
ต่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิต และบางที ดาวหางอาจเป็นตัวนำน้ำมายัง
โลกในยุคแรกเริ่มที่โลกก่อกำเนิดขึ้นก็เป็นได้

ค้นข้อมูลเพิ่มเติม :
http://www.seds.org/nineplanets/nineplanets/nineplanets.html
http://solarviews.com/eng/homepage.htm
http://www.planetscapes.com/solar/eng/history.htm
http://nssdc.gsfc.nasa.gov/planetary/chronology.html

ของ  นายอดิศักดิ์ มหาวรรณ
    โรงเรียน ดาราวิทยาลัย เชียงใหม่    ฟิสิกส์ราชมงคลขอขอบคุณครับ

กลับหลังหนึ่งหน้า กลับหน้าแรกบทความ

  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 

ฟิสิกส์ 1(ภาคกลศาสตร์) 

 ฟิสิกส์ 1 (ความร้อน)

ฟิสิกส์ 2  กลศาสตร์เวกเตอร์
โลหะวิทยาฟิสิกส์ เอกสารคำสอนฟิสิกส์ 1
ฟิสิกส์  2 (บรรยาย) แก้ปัญหาฟิสิกส์ด้วยภาษา c  
ฟิสิกส์พิศวง สอนฟิสิกส์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
ทดสอบออนไลน์ วีดีโอการเรียนการสอน
หน้าแรกในอดีต แผ่นใสการเรียนการสอน
เอกสารการสอน PDF

สุดยอดสิ่งประดิษฐ์

   การทดลองเสมือน 

บทความพิเศษ  ตารางธาตุ(ไทย1)   2  (Eng)
พจนานุกรมฟิสิกส์ 

 ลับสมองกับปัญหาฟิสิกส์

ธรรมชาติมหัศจรรย์ 

 สูตรพื้นฐานฟิสิกส์

การทดลองมหัศจรรย์  ดาราศาสตร์ราชมงคล

  แบบฝึกหัดกลาง 

แบบฝึกหัดโลหะวิทยา  

 แบบทดสอบ

ความรู้รอบตัวทั่วไป 

 อะไรเอ่ย ?

ทดสอบ(เกมเศรษฐี) 

คดีปริศนา

ข้อสอบเอนทรานซ์ เฉลยกลศาสตร์เวกเตอร์
คำศัพท์ประจำสัปดาห์  

  ความรู้รอบตัว

การประดิษฐ์แของโลก ผู้ได้รับโนเบลสาขาฟิสิกส์
นักวิทยาศาสตร์เทศ นักวิทยาศาสตร์ไทย
ดาราศาสตร์พิศวง  การทำงานของอุปกรณ์ทางฟิสิกส์
การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  

  การเรียนการสอนฟิสิกส์ 1  ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

1. การวัด 2. เวกเตอร์
3.  การเคลื่อนที่แบบหนึ่งมิติ 4.  การเคลื่อนที่บนระนาบ
5.  กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน 6. การประยุกต์กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
7.  งานและพลังงาน  8.  การดลและโมเมนตัม
9.  การหมุน   10.  สมดุลของวัตถุแข็งเกร็ง
11. การเคลื่อนที่แบบคาบ 12. ความยืดหยุ่น
13. กลศาสตร์ของไหล   14. ปริมาณความร้อน และ กลไกการถ่ายโอนความร้อน
15. กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก  16. คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
17.  คลื่น 18.การสั่น และคลื่นเสียง

   การเรียนการสอนฟิสิกส์ 2  ผ่านทางอินเตอร์เน็ต  

1. ไฟฟ้าสถิต 2.  สนามไฟฟ้า
3. ความกว้างของสายฟ้า  4.  ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน 
5. ศักย์ไฟฟ้า 6. กระแสไฟฟ้า 
7. สนามแม่เหล็ก  8.การเหนี่ยวนำ
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ  10. ทรานซิสเตอร์ 
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ 

12. แสงและการมองเห็น

13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 14. กลศาสตร์ควอนตัม
15. โครงสร้างของอะตอม 16. นิวเคลียร์ 

   การเรียนการสอนฟิสิกส์ทั่วไป  ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

1. จลศาสตร์ ( kinematic)

   2. จลพลศาสตร์ (kinetics) 

3. งานและโมเมนตัม 4. ซิมเปิลฮาร์โมนิก คลื่น และเสียง
5.  ของไหลกับความร้อน 6.ไฟฟ้าสถิตกับกระแสไฟฟ้า 
7. แม่เหล็กไฟฟ้า  8.    คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับแสง
9.  ทฤษฎีสัมพัทธภาพ อะตอม และนิวเคลียร์   

 

 

 

ครั้งที่

เซ็นสมุดเยี่ยม

ธรรมชาติมหัศจรรย์