|
ปฏิกิริยาเคมีคุณภาพวิเคราะห์
543
ปฏิกิริยาเคมีคุณภาพวิเคราะห์
ผู้แต่ง: สุรางค์ อนุกูล
ชื่อเรื่อง: ปฏิกิริยาเคมีคุณภาพวิเคราะห์
สรุปเนื้อหา
การตรวจและการวิเคราะห์โลหะในหมู่เหล็ก (หมู่ III ก ) การวิเคราะห์ โลหะของหมู่ II อยู่ด้วยจะต้องแยกออกเสียก่อนตามวิธี
แต่โลหะของหมู่ III ก ก็ทำการวิเคราะห์ได้เลย แต่ถ้าเป็นการทำต่อจากการแยกหมู่ I และหมู่ II ออกไปแล้ว จำเป็นต้องต้มสารละลายให้เดือดเพื่อไล่ H2S การวิเคราะห์นี้ทำได้ในกรณีที่ไม่มีฟอสเฟต,โบเรต, ซิลิเคตและกรดอินทรีย์อื่นๆ และเพื่อให้การตกตะกอนด้วยสารละลายแอมโมเนียและNH4CI ซึ่งเป็นรีเอเจนต์สำหรับหมู่นี้ได้ผลดี โลหะทั้งสามชนิดนี้ของหมู่นี้จะต้องเป็นไตรเวเลนต์แคทไอออนดังนั้นจึงจำเป็นต้องทดสอบว่ามี
เฟอร์รัสไอออนอยู่ในสารละลายหรือไม่ โดยใช้สารละลายโพแทสเซียมเฟอร์ไรยาไนด์ ถ้ามีเฟอร์รัสอยู่จะต้องออกซิไดร์ให้เป็นเฟอร์ริกเสียก่อนโดยการเติม HNO3 เข้มข้นและต้มให้เดือด แมงกานีส เมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นแมงกานีสจะไม่ตกตะกอนจะถูกออกซิไดซ์เล็กน้อยเมื่อวางสารละลายทิ้งไว้ในอวกาศ ซึ่งอาจทำให้แมงกานีสตกตะตอนเป็นไฮเดรตไดออกไซด์ ออกมาในหมู่ III ก โดยเหตุนี้จึงควรตรวจสอบแมงกานีสทั้ง
ในหมู่ III ก และหมู่ IIIข หมู่แอลคา (หมู่ v ) แมกนีเซียม, โซเดียม, โพแทสเซียมและแอมโมเนียม โลหะในหมู่นี้ไม่ตกตะกอนกับรีเอเจนต์ที่ใช้สำหรับหมู่ต้นๆ โซเดียมและโพแทสเซียมจัดอยู่ในหมู่โลหะแอลคาไล ส่วนแอมโมเนียมที่ถูกนับรวมเข้าในหมู่นี้ด้วย ก็เนื่องจากสารประกอบของแอมโมเนียมมีความคล้ายคลึงกับสารประกอบของโลหะแอลคาไลโดยเฉพาะคล้ายคลึงกับสารประกอบของโพแทสเซียมส่วนแมกนีเซียม แม้ว่าจะถูกจำแนกเป็นแอลคาไลน์เอิร์ทแต่ก็จัดอยู่ในหมู่นี้ด้วยก็เพราะเหตุที่แมกนีเซียมไม่ตกตะกอนเป็นคาร์บอเนตด้วยสารละลายของแอมโมเนียมคาร์บอเนตเมื่อมีแอมโมเนียมคลอไรด์อยู่ด้วย
ที่มา : หนังสือปฏิกิริยาเคมีคุณภาพวิเคราะห์
สุรางค์ อนุกูล. (2542). ปฏิกิริยาเคมีคุณภาพวิเคราะห์.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
|
|