|
การกลมกลืนเสียง (Assimilation)
การกลมกลืนเสียง (Assimilation)
การกลมกลืนเสียง คือเสียงสองเสียงอยู่ใกล้กัน เสียงหนึ่งจะกลายเป็นมีเสียงคล้าย หรือเหมือนกันกับอีกเสียงหนึ่ง
1. ถ้าเสียงหน้าเหนี่ยวเอาเสียงหลังไป เช่น สิบเอ็ด เป็น สิบเบ็ด เรียกว่า เสียงกลมกลืนกันไปข้างหน้า (Progressive assimilation)
ในไวยากรณ์ภาษาบาลีเรียกลักษณะการกลมกลืนเสียงเช่นนี้ว่า บุพอาเทศ เช่น พุธต เป็น พุทฺธ ลคฺน เป็น ลคฺค
2. ถ้าเสียงหลังเหนี่ยวเอาเสียงหน้ามา เช่น มลิลา เป็น มลิลา เรียกว่า เสียงกลมกลืนกันไปข้างหลัง (Regressive assimilation)
ในไวยากรร์ภาษาบาลีเรียกว่า ปรอาเทศ เช่น นิรุกฺต เป็น นิรุตฺต ยุกฺต เป็น ยุตฺต
3. ถ้าเสียงหน้าและเสียงหลัง ต่างเหนี่ยวรั้งกัน เช่น ทีเดียว เป็น เทียว เรียกว่า เสียงกลมกลืนร่วมกัน (Reciprocal assimilation)
เสียงสระสังโยค หรือสระควบ ก็อยู่ในลักษณะนี้ เช่น อา + อี เป็น อาย อู + อี เป็น อูย
4. ถ้าเสียงที่กลมกลืนกัน เป็นเพียงทำให้เสียงหนึ่งเป็นเสียงอยู่ในพวกมีฐานกรณ์เดียวกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มีเสียงอยู่ใน
พยัญชนะวรรคเดียวกัน เช่น บํเกิด เป็น บังเกิด สํจร เป็น สัณจร บํดาล เป็น บันดาล อมาตย เป็น อำมาตย์ เรียกว่า เสียงกลมกลืนกันลางส่วน
(Partial assimilation)
การกลมกลืนเสียงใน 4 ลักษณะที่กล่าวนี้ ถ้าเป็นไปใน 3 ลักษณะแรก เรียกรวมกันเป็นอีกชื่อหนึ่งว่า เสียงกลมกลืนกันหมด
(Total assimilation)
ที่มา
อนุมานราชธน, พระยา.(ม.ป.ป.). การกลมกลืนเสียง (Assimilation).
กรุงเทพฯ: ศูนย์การทหารราบ.
|
|