Dialect SpeechStyles Regional Folktales Poetry |
ลักษณะของภาษาไทยถิ่น |
|
คัดจาก: กัลยา
ติงศภัทิย์ (๒๕๒๕).
ภาษาและภาษาย่อยในประเทศไทย. เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๓
หน่วยที่ ๑๕. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
|
|
|
|
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ
ภาษาไทยถิ่นกลาง
ภาษาไทยถิ่นอีสาน
และภาษาไทยถิ่นใต้
มีลักษณะที่เหมือนกันมาก ในเรื่องของ ระบบพยัญชนะ ระบบสระ
และโครงสร้างประโยค แต่ในเรื่องของ ระบบวรรณยุกต์ และศัพท์
ภาษาไทยถิ่นทั้งสี่ มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ในที่นี้ จะมุ่งบรรยาย
ลักษณะทางเสียงของภาษาไทยถิ่น แต่ละภาษา เรื่องสำคัญ ที่จะต้องกล่าวถึง
ก่อนที่จะบรรยายลักษณะดังกล่าว ได้แก่ การใช้กล่องวรรณยุกต์ ในการศึกษา
ระบบวรรณยุกต์ ในภาษาไทยถิ่น นักภาษาศาสตร์ที่ศึกษาประวัติของภาษาตระกูลไท
ได้สร้างเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ ระบบวรรณยุกต์ของภาษา ในตระกูลนี้ขึ้น
เครื่องมือดังกล่าว มีชื่อเรียกว่า กล่องวรรณยุกต์
นักภาษาศาสตร์ที่สนใจศึกษาภาษาไทยถิ่น พบว่า กล่องวรรณยุกต์
สามารถช่วยการวิเคราะห์ ระบบวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นต่างๆ ได้อย่างดี
เวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ แทนที่จะเป็นวัน กลับเป็นเพียง ไม่ถึงชั่วโมง
ในปัจจุบัน กล่องวรรณยุกต์ จึงเป็นเครื่องมือ ที่มีผู้นิยมใช้ศึกษา
ระบบวรรณยุกต์ ของภาษาไทยถิ่นมาก วิธีการใช้กล่องวรรณยุกต์
เพื่อศึกษาระบบวรรณยุกต์ มีดังนี้
- ใช้รายการคำ ซึ่งได้ให้ตัวอย่างไว้ข้างล่าง เก็บข้อมูล จากผู้บอกภาษา
|
A |
B |
C |
DL |
DS |
1 |
1
หู |
13
ไข่ |
25
ข้าว |
37
ขาด |
49
หมัด |
2
ขา |
14
ผ่า |
26
เสื้อ |
38
เหงือก |
50
สุก |
3
หัว |
15
เข่า |
27
ห้า |
39 หาม
|
51
ผัก |
2 |
4
ปี |
16
ป่า |
28
ป้า |
40
ปอด |
52
กบ |
5
ตา |
17
ไก่ |
29
กล้า |
41
ปีก |
53
ต้ม |
6
กิน |
18
แก่ |
30
ต้ม |
42
ตอก |
54
เจ็บ |
3 |
7
บิน |
19
บ่า |
31
บ้า |
43
แดด |
55
เบ็ด |
8
แดง |
20
บ่าว |
32
บ้าน |
44
อาบ |
56
ดิบ |
9
ดาว |
21
ด่า |
33
อ้า |
45
ดอก |
57
อก |
4 |
10
มือ |
22
พ่อ |
34
น้ำ |
46
มีด |
58
นก |
11
งู |
23
แม่ |
35
น้อง |
47
ลูก |
59
มด |
12
นา |
24
ไร่ |
36
ม้า |
48
เลือด |
60
เล็ก |
- วิเคราะห์ดูว่า เสียงวรรณยุกต์ ในช่องที่อยู่ติดกัน ทั้งแนวตั้ง
และแนวนอน ทุกช่อง เหมือนกันหรือต่างกัน ถ้าเสียงวรรณยุกต์
ที่อยู่ติดกันสองช่อง เป็นเสียงเดียวกัน เรียกว่า
ไม่มีการแยกเสียงวรรณยุกต์ แต่ถ้าเสียงวรรณยุกต์
ในช่องที่อยู่ติดกันสองช่อง เป็นเสียงวรรณยุกต์ คนละเสียง เรียกว่า
มีการแยกเสียงวรรณยุกต์
-
ขีดเส้นหนา แบ่งกล่องวรรณยุกต์ทุกแห่ง
ที่มีการแยกเสียงวรรณยุกต์
ตัวอย่าง
การแยกเสียงวรรณยุกต์ และการเรียงอันดับหน่วยเสียงวรรณยุกต์
ภาษาไทยมาตรฐาน
|
A |
B |
C |
DL |
DS |
1 |
ว. 1 |
ว. 3 |
ว. 4 |
ว. 3 |
2 |
ว. 2 |
3 |
4 |
ว. 4 |
ว. 5 |
ว. 4 |
- ตัดสินว่า ในภาษาไทยถิ่น ที่กำลังศึกษา มีวรรณยุกต์กี่หน่วยเสียง
หากเสียงวรรณยุกต์ในช่อง ซึ่งอยู่ห่างจากกัน มีสัทลักษณะเหมือนกัน
ให้จัดเป็นหน่วยเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน หากเสียงวรรณยุกต์ ในช่องสองช่อง
มีสัทลักษณะที่คล้ายคลึงกัน และสัทปริบท ของเสียงวรรณยุกต์แต่ละเสียง
แตกต่างกัน เราสามารถจัดเสียงวรรณยุกต์ สองเสียงนั้น
เป็นหน่วยเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ตามหลักเกณฑ์ การแจกแจงแบบสับหลีก เช่น
เสียงวรรณยุกต์ ที่ปรากฏเฉพาะ ในพยางค์เป็น กับเสียงวรรณยุกต์
ที่ปรากฏเฉพาะ ในพยางค์ตาย เป็นต้น
อนึ่ง การเรียงอันดับ
หน่วยเสียงวรรณยุกต์ มักจะทำจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา
|
|
|
ตัวอย่างเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นต่างๆ (Voice Samples of Thai
Dialect) |
|
|
|
|
Click to Play | |
This sample is currently under
construction. Some voice samples
are unavailable (present with a beep sound).
|
Statistics: (as
current published wav files) total = 78 x 12 x 5 = 4,680
wav files, size vary from 10 - 100 KB with average of 29 KB
per file | | |
|
|
|
ตัวอย่างเสียงการนับเลขของภาษาไทยถิ่นต่างๆ |
|
|
|
การเก็บข้อมูลภาษาศาสตร์ภาคสนาม |
| Return to ThaiARC
|
since 2001-09-12
Rev.@ 2002-04-02 17:06
|