ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

นิรุกติศาสตร์

412
นิรุกติศาสตร์

ผู้แต่ง: พระยาอนุมานราชธน
ชื่อเรื่อง: นิรุกติศาสตร์

สรุปเนื้อหา

นิรุกติศาสตร์ เป็นวิชาว่าด้วยภาษา แบ่งโดยประสงค์เป็นหมวดใหญ่ คือ
1. ตำนานของนิรุกติศาสตร์
2. กำเนิดของคำในภาษา
3. ภาษาและรูปคำของภาษา
4. การแบ่งภาษา
5. เสียงและการกลายเสียงของคำในภาษา
6. แนวเทียบ
7. ความหมายและการกลายความหมายของคำในภาษา
ตำนานของนิรุกติศาสตร์
นิรุกติศาสตร์ เป็นวิชามีขึ้นในยุโรป ราวราวร้อยปี การศึกษาภาษาของชาวยุโรป มุ่งศึกษาไปในทางไวยากรณ์ ซึ่งมีกำเนิดมาจากตำรา ไวยากรณ์ของภาษากรีกและภาษาละติน ไม่มีการวิจัยไปถึงภาษาอื่น ว่ามีรูปและลักษณะของภาษาแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพราะไปเชื่อถือกันเสียว่า ภาษาต่างๆ สืบมาจากภาษากรีกและภาษาละติน และภาษาทั้งสองนี้สืบมาจากภาษาเฮบรูอีกต่อหนึ่ง กำเนิดของคำในภาษา เมื่อมาอยู่ร่วมกันก็เกิดความจำเป็นจะต้องใช้ภาษา ภาษาในครั้งแรกคงเป็นภาษาใบ้ คือทำไม้ทำมือร้องอืออา ไปตามเรื่องอย่างคนใบ้ใช้ อยู่เวลานี้ แต่ภาษาใบ้ใช้ไม่ได้สะดวกตลอดไป คำพูดซึ่งเกิดขึ้นในชั้นแรก อาจเลียนจากเสียงสัตว์ร้องหรือเสียงที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เหตุนี้คำพูด บางคำในภาษาต่างๆ จึงมีเสียงคล้ายคลึงกัน เช่น แมว กา ซึ่งคงตั้งชื่อเอาตามเสียงที่มันร้องหรือคำเช่นฮือๆ เป็นเสียงลมพัดกระทืบสิ่งต่างๆ ปังก็เป็นเสียงระเบิดตูมก็เป็นเสียงทุ่มทิ้งของหนัก เหล่านี้เป็นต้น อาจตั้งเอาตามเสียงที่มนุษย์ได้ยิน คำชนิดนี้ย่อมมีแทรกอยู่ในภาษามากมาย เรียก ว่าภาษาเลียนเสียง (Onomatopoeio Language)
ภาษาและรูปคำของภาษา
ภาษาตามความหมายในนิรุกติศาสตร์ คือวิธีที่มนุษย์แสดงความในใจ เพื่อให้ผู้ที่ตนต้องการให้รู้ได้รู้ จะเป็นเพราะต้องการบอกความในใจ ที่นึกไว้ หรือเพื่อระบายความในใจที่อัดอั้นอยู่ ให้ปรากฏออกมาภายนอกโดยใช้เสียงพูดที่มีความหมายตามที่ได้ตกลงรับรู้กัน ซึ่งมีผู้ได้ยินรับรู้และเข้าใจ เพราะฉะนั้นภาษาจึงต้องมี 2 องค์ประกอบนี้ คือ
1. เสียงพูดที่นึกไว้แล้วพูดออกมา แต่เสียงที่หลุดปากออกมาลอยๆเพราะด้วยมีอารมณ์สะเทือนใจ ไม่ใช่เสียงพูดตามความหมายนี้
2. ความหมาย ซึ่งผู้พูดและผูฟังหรือผู้ได้ยินเข้าใจรับรู้ตรงกันคือฟังออก และผู้ฟังต้องพูดตอบได้ด้วย
เสียงพูดเรียกว่าอาการภายนอก เพราะปรากฏเป็นเสียงออกมาส่วนความหมายเรียกว่าอาการภายใน เพราะเป็นเรื่องในใจ ลักษณะ 2 ประการ ย่อมมีสัมพันธ์อยู่ด้วยกัน จะแยกออกจากกันไม่ได้ ถ้าขาดเสียแต่อย่างใดก็ไม่เป็นภาษา

ที่มา:

พระยาอนุมานราชธน. (2517). นิรุกติศาสตร์. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com