|
ภาษาศาสตร์เบื้องต้น
410
ภาษาศาสตร์เบื้องต้น
ผู้แต่ง: จินดา เฮงสมบูรณ์
ชื่อเรื่อง: ภาษาศาสตร์เบื้องต้น
สรุปเนื้อหา
ความหมายของภาษาสาสตร์ คือ การศึกษาภาษาตามแนววิทยาศาสตร์กล่าวคือ นักภาษาสาสตร์จะทำการศึกษภาษาตามข้อมูลที่ปรากฏจริง
การศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างมีขั้นตอน
ขั้นตอนในการศึกษาภาษาศาสตร์ ซึ่งมี 5 ขั้นตอน
1. ขั้นตั้งปัญหา
2. ขั้นวางสมมุติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
5. ขั้นสรุปผล
ภาษาศาสตร์ เป็นการศึกษาภาษาเชิงวิเคราะห์ค้นคว้า พยายามที่จะตอบคำถามต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษา เช่น ภาษามีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ส่วนประกอบของภาษามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มนุษย์เรียนภาษาอย่างไร ภาษามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ฯลฯ คำถามเกี่ยวกับภาษานี้มีมากมาย
ด้วยเหตุนี้การศึกษาภาษาศาสตร์จึงแบ่งออกได้หลายแนวความคิด หลายแขนง
ขอบข่ายของการศึกษาภาษาศาสตร์
การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบันมีทั้งการศึกษาภาษาล้วน ๆ และการศึกษาภาษาในด้านที่สัมพันธ์กับศาสตร์อื่น ๆ เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา
คณิตศาสตร์ ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า วิชาภาษาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 สาขา ดังต่อไปนี้
1. ภาษาศาสตร์ทั่วไป (General Linguistics)
2. ภาษาศาสตร์เชิงประวัติและเปรีบเทียบ (Historical and Comparative Linguistics)
3. ภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Linguistics)
ที่มา:
จินดา เฮงสมบูรณ์. (2542). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
|
|