|
495.91ส173ล ลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทย
ภาษาคือ เสียงหรือกริยาอาการที่ใช้ทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน อาจหมายรวมถึงการใช้แสง สี เสียงรหัส
หรือสัญญาณต่างๆ ที่ใช้ทำการสื่อความหมายติดต่อกันได้ของมนุษย์ ความหมายโดยทั่วไปของภาษา หมายถึง เครื่องสื่อสารความคิดให้เข้าใจซึ่งกันและ
กันจะโดยวิธีใดก็ได้
สื่อ คือตัวนำเป็นสิ่งสัมผัสได้เป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมโยงจุดสองจุด หรือระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารให้ติดต่อกัน การใช้ภาษาจะต้องมี
สื่ออาจเป็นวัตถุ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือกริยาอาการต่างๆได้
สารหมายถึง หมายถึง ความหมายที่อยู่ในใจของผู้ส่งสาร อาจเป็นความรู้ ความรู้สึก หรือความคิด มีโครงสร้างที่มีส่วนประกอบกลมกลืน
เป็นระเบียบ เป็นรหัสมีเนื้อเรื่องที่แปลงเป็นสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ภาษาพูด ท่าทาง เสียงกริ่ง การลดธงครึ่งเสา สารนี้ถูกส่งไปยังผู้รับสาร
ซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจในสารตรงกันกับผู้ส่งสาร
ภาษาพูดและภาษาเขียน การใช้ภาษาในการสื่อสาร เพื่อแสดงความต้องการ ความรู้สึก และความคิดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารนั้น มี 2 วิธี
คือ
1.ใช้วัจนภาษา คือ ภาษาที่สื่อโดยใช้ถ้อยคำ เช่นการใช้เสียงที่มีระเบียบ ระบบ ประกอบด้วยหน่วยเสียง การใช้ลายเส้นขีดเขียน เป็นสัญลักษณ์
หรือรหัสแทนเสียงในภาษาพูด
2.ใช้อวัจนภาษา คือภาษาที่ไม่ต้องใช้ถ้อยคำ ได้แก่การรหัสต่างๆ เช่นการใช้สัญญาณธงของเรือทหาร การใช้สีหน้า
ดวงตา การโบกมือ สัญญาณระฆัง
ที่มา สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์. (2520). ลักษณะภาษาไทย. ภูเก็ต: วิทยาลัยภูเก็ต.
|
|