|
ภาษาบาลี - สันสกฤต ในภาษาไทย
491
ภาษาบาลี - สันสกฤต ในภาษาไทย
ผู้แต่ง: สุภาพร มากแจ้ง
ชื่อเรื่อง: ภาษาบาลี - สันสกฤต ในภาษาไทย
สรุปเนื้อหา
ความแตกต่างของเสียงสระ
ภาษาบาลีมีเสียงสระ 8 เสียง สันสกฤตมี 14 เสียง ส่วนเสียงสระในภาษาไทยมี 24 เสียง (ไม่นับสระเกินอีก 8 เสียง) ซึ่งซ้ำเสียงกับ
สระบาลี - สันสกฤต ทั้งหมด และยังมีเกินกว่านั้นอีก 16 เสียง คือ มีเสียงสระเดี่ยวมากกว่า 10 เสียง ได้แก่ อึ อื เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ เอาะ
ออ เสียงสระประสม 6 เสียง ด้แก่ เอียะ เอีย เอือะ เอือ อัวะ อัว ทั้งนี้มีข้อสังเกต คือ สระ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ สันสกฤตเป็นสระเดี่ยว เอ โอ ไอ เอา
บาลี - สันสกฤต เป็นสระประสม ส่วนภาษาไทย เอ โอ เป็นสระเดี่ยว ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ไอ เอา เป็นสระเกิน
ความแตกต่างของการใช้สระ
- ภาษาบาลีต้องลงท้ายด้วยเสียงสระเสมอ
- ภาษาสันสฤตทั้งสระเดี่ยว และสระประสมมีพยัญชนะตามได้ทุกเสียง
- ภาษาไทยทั้งสระเดี่ยว และสระประสมมีพยัญชนะตามได้ทุกเสียงเว้นเสียงสระเกิน อำ ไอ ใอ เอา ไม่สามารถตามด้วยเสียงพยัญชะได้
ความแตกต่างของพยัญชนะ
ควมแตกต่างของพยัญชนะภาษาไทยกับภาษาบาลี - สันสกฤตนั้น แยกได้ 2 ด้าน คือ
1. ความแตกต่างทางเสียงพยัญชนะ
2. ความแตกต่างทางการใช้พยัญชนะ
ที่มา: สุภาพร มากแจ้ง.(2535)ภาษาบาลี - สันสกฤต ในภาษาไทย.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
|
|