|
ภาษาศาสตร์เบื้องต้น
410
ภาษากรีก
ผู้แต่ง: จินดา เฮงสมบูรณ์
ชื่อเรื่อง: ภาษาศาสตร์เบื้องต้น
สรุปเนื้อหา
กรีกเป็นผู้นำด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ และมีอิทธิพลต่อยุโรปสมัยหลัง ๆ เป็นอย่างมาก ในด้านการศึกษาภาษาก็เช่นกัน
การศึกษาภาษาของกรีกอยู่ในสมัย 400 - 500 ปี ก่อนคริสต์ศตวรรษ (สมัยที่กรีกยังเจริญรุ่งเรือง) การศึกษาภาษาของกรีกอยู่ใน
กลุ่มนักปรัชญา นักปรัชญาเป็นนักคิดซึ่งอาศัยเหตุผลเป็นหลักเมื่อมีเหตุผลต่างกันความคิดทางภาษาเรื่องเดียวกันก็อาจแตกต่างกันไปได้หลายแนว
นักปรัชญากรีกสมัยนั้นสนใจธรรมชาติของมนุษย์และจักรวาล พวกเขาศึกษาภาษาโดยหวังว่าความรู้เกี่ยวกับภาษาจะช่วยให้เข้าใจเรื่องมนุษย์และจักรวาลได้
เรื่องของภาษาที่นักปรัชญากรีกสนใจศึกษาได้แก่ ภาษาคืออะไร ภาษามีที่มาอย่างไร ภาษาจะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือไม่ คำ และ
ความหมายเกี่ยวข้องกันเพียงใด
ปัญหาเหล่านี้ทำให้นักปรัชญากรีกศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ กัน 3 ประการ คือศึกษาที่มา ของคำ ศึกษาเสียงและไวยากรณ์ มีการศึกษา
ว่าภาษาเกิดขึ้นได้อย่างไร คำต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร เสียงและความหมายมีความสัมพันธ์กันอย่างไร นอกจากนี้มีการศึกษาโครงสร้างของคำ
การจำแนกคำออกเป็นชนิดต่าง ๆ ศึกษาเรื่องวลีและประโยค
ที่มา:
จินดา เฮงสมบูรณ์. (2542). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
|
|