ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดการงานอาชีพและเทคโนโลยี
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

ใบความรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา - พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ความปลอดภัยในชีวิต

อุบัติเหตุ

อุบัติเหตุ หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจในเวลาและสถานที่แห่งหนึ่ง เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าแต่มีสาเหตุและส่งผลกระทบที่สามารถชี้วัดได้ อุบัติเหตุเป็นผลเชิงลบของความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไว้แต่แรก โดยพิจารณาจากปัจจัยสาเหตุต่างๆ อันที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ

การป้องกันอุบัติเหตุจากอัคคีภัย

ความเสียหายที่เกิดจากอัคคีภัย เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้อย่างเด็ดขาดและเสมอไปเพราะ อัคคีภัยนั้นเปรียบเสมือน "ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ" และความประมาทเลินเล่อของผู้ทำงานหรือผู้ประกอบกิจการเป็นจำนวนมาก ย่อมจะเกิดและมีขึ้นได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง จึงเห็นควรที่จะต้องช่วยกันป้องกันอัคคีภัยในการป้องกันอัคคีภัยจะมีสิ่งที่ควรปฏิบัติ เฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างอีกมากมาย แต่ก็ มีหลักการง่าย ๆ ในการป้องกันอัคคีภัยอยู่ 5 ประการ คือ

1. การจัดระเบียบเรียบร้อยภายในและภายนอกอาคารให้ดี เช่น การขจัดสิ่งรกรุงรังภายในอาคาร บ้านเรือนให้หมดไป โดยการเก็บรักษาสิ่งที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ให้เป็นสัดส่วน ซึ่งเป็นบันได ขั้นต้นในการป้องกันอัคคีภัย

2. การตรวจตราซ่อมบำรุงบรรดาสิ่งที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการ เช่น สายไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อน ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และความปลอดภัยก็จะป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัย ได้ดียิ่งขึ้น

3. อย่าฝ่าฝืนข้อห้ามที่จิตสำนึกควรพึงระวัง เช่น

- อย่าปล่อยให้เด็กเล่นไฟ

- อย่าจุดธูปเทียนบูชาพระทิ้งไว้

- อย่าวางก้นบุหรี่ที่ขอบจานที่เขี่ยบุหรี่ หรือขยี้ดับไม่หมด ทำให้พลัดตกจากจาน หรือ สูบบุหรี่บนที่นอน

- อย่าใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแล้เสียบปลั๊กจนน้ำแห้ง

- อย่าเปิดพัดลมแล้วไม่ปิดปล่อยให้หมุนค้างคืนค้างวัน

- อาจมีเครื่องอำนวยความสุขอย่างอื่น เช่น เปิดโทรทัศน์ แล้วลืมปิด

- วางเครื่องไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ติดฝาผนัง ความร้อนระบายออกไม่ได้ตามที่ควรเป็น เครื่องร้อนจนไหม้ตัวเองขึ้น

- อย่าหมกเศษผ้าขี้ริ้ว วางไม้กวาดดอกหญ้า หรือซุกเศษกระดาษไว้หลังตู้เย็น บางครั้ง สัตว์เลี้ยงในอาคารก็คาบเศษสิ่งไม้ใช้ไปสะสมไว้หลังตู้เย็นที่มีไออุ่นอาจเกิดการคุไหม้ขึ้น

- อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือปลอมแปลงคุณภาพ เช่น บาลาสต์ที่ใช้กับ หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนท์เมื่อเปิดไฟทิ้งไว้อาจร้อน และลุกไหม้ส่วนของอาคารที่ติดอยู่

- อย่าจุดหรือเผาขยะมูลฝอย หญ้าแห้ง โดยไม่มีคนดูแล เพราะไฟที่ยังไม่ดับเกิดลมพัด คุขึ้นมาอีก มีลูกไฟปลิวไปจุดติดบริเวณใกล้เคียงได้

- อย่าลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้าทิ้งไว้

- อย่าทิ้งอาคารบ้านเรือนหรือคนชราแลเด็กไว้โดยไม่มีผู้ดูแล

- อย่าสูบบุหรี่ขณะเติมน้ำมันรถ

- ดูแลการหุงต้มเมื่อเสร็จการหุงต้มแล้วให้ดับไฟถ้าใช้เตาแก๊สต้องปิดวาล์วเตาแก๊สและถังแก๊สให้เรียบร้อย

- เครื่องเขียนแบบพิมพ์บางชนิดไวไฟ เช่น กระดาษไข ยาลบกระดาษไข กระดาษแผ่นบาง ๆ อาจเป็นสื่อสะพานไฟทำให้ เกิดอัคคีภัยติดต่อคุกคามได้

- ดีดีที สเปรย์ฉีดผม ฉีดใกล้ไฟ จะติดไฟและระเบิด

- เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในคืนฝนตกหนัก เพราะสายไฟที่เก่าเปื่อย เมื่อวางทับอยู่กับฝ้าเพดาน ไม้ผุที่มีความชื้นย่อมเกิดอันตราย จากกระแสไฟฟ้าขึ้นได้

- เกิดฟ้าผ่าลงที่อาคารขณะมีพายุฝน ถ้าไม่มีสายล่อฟ้าที่ถูกต้องก็ต้อง เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ได้อย่างแน่นอน

- เตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนหรือสำนักงานเกิดรั่ว

- รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุหรือถ่ายเทน้ำมันเบนซิน เกิดการรั่ว ไหลก็น่าเกิด อัคคีภัยขึ้นได้

- ในสถานที่บางแห่งมีการเก็บรักษาเคมีที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย อาจ คุไหม้ขึ้นได้เอง สารเคมีบางชนิด เช่น สีน้ำมันและน้ำมันลินสีด เป็นต้น เมื่อคลุกเคล้ากับเศษผ้าวางทิ้งไว้อาจคุไหม้ขึ้นเอง ในห้องทดลองเคมีของ โรงเรียน เคยมีเหตุ เกิดจากขวดบรรจุฟอสฟอรัสเหลือง (ขวด) พลัด ตกลงมา เกิดแตกลุกไหม้ขึ้น

- ซ่อมแซมสถานที่ เช่น การลอกสีด้วยเครื่องพ่นไฟ การตัดเชื่อมโลหะด้วย แก๊สหรือไฟฟ้า การทาสีหรือพ่นสีต้องทำด้วย ความระมัดระวัง อาจเกิดไฟ คุไหม้ขึ้นได้

4. ความร่วมมือที่ดี จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงนายตรวจป้องกันอัคคีภัยได้ให้ไว้ และปฏิบัติตามข้อห้ามที่วาง ไว้เพื่อความปลอดภัยจากสถาบันต่างๆ

5. ประการสุดท้าย จะต้องมีน้ำในตุ่มเตรียมไว้สำหรับสาดรดเพื่อให้อาคารเปียกชุ่มก่อนไฟจะมาถึง เตรียมทรายและเครื่องมือดับเพลิงเคมี ไว้ให้ถูกที่ถูกทางสำหรับดับเพลิงชั้นต้นและต้องรู้จักการใช้ เครื่องดับเพลิงเคมีด้วย และระลึกอยู่เสมอว่าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วจะ ต้องปฏิบัติดังนี้

- แจ้งข่าวเพลิงไหม้ทันที โทร. 199 หรือสถานีดับเพลิงสถานีตำรวจใกล้เคียงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ

- ดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงที่มีอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ

- หากดับเพลิงชั้นต้นไม่ได้ให้เปิดประตูหน้าต่างบ้านและอาคารทุกบานและอุดท่อ ทางต่างๆ ที่อาจเป็นทางผ่านความร้อน ก๊าซ และควันเพลิงเสียด้วย

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้

- ช่วยคนชรา เด็ก และคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ไปอยู่ที่ปลอดภัย

- อย่าใช้ลิฟต์ในขณะเกิดเหตุ

- ขนย้ายเอกสารและทรัพย์สินที่มีค่าเท่าที่จำเป็นตามสถานการณ์และนำไปเก็บกองรวมอย่าให้ ฉีกขาดลุ่ย โดยป้องกันมิให้น้ำกระเซ็นเปียก

ข้อควรระวังและวิธีปฏิบัติเมื่อแก๊สรั่ว

- เมื่อได้กลิ่นแก๊สปิดวาล์วหัวถังทันที

- เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทเพื่อให้แก๊สเจือจาง

- ห้ามจุดไม้ขีด ไฟแช็ก เปิด-ปิดสวิตซ์ไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่มีแก๊สรั่ว

- ใช้ไม้กวาดกวาดแก๊สออกทางประตู

- ตรวจหาที่รั่วและแก้ไขทันที

- หากถังแก๊สมีรอยรั่วให้นำถังแก๊สนั้นไว้ในที่โล่งที่ปลอดภัย

- ท่อยางต้องไม่อยู่ใกล้เปลวไฟ

- ห้องน้ำที่ใช้เครื่องทำน้ำร้อนแก๊ส ควรมีช่องระบายอากาศเพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอทำอย่างไรให้เกิดเพลิงไหม้มีน้อยที่สุด

จากเบื้องต้นที่กล่าวมาได้เน้นถึงลักษณะและหลักการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้น แต่ทั้งนี้จะเป็นการดีมากหากเราสามารถป้องกัน มิให้เกิดเพลิงไหม้ ขึ้นเลย เพราะไม่ว่าเพลิงไหม้จะเกิดขึ้นเล็กน้อยก็จะนำมาซึ่งความเสีย หายทางทรัพย์สินเงินทอง เวลา หรือแม้กระทั่งสุขภาพจิต

การป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

อุบัติเหตุจากการจรราจรนั้นอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ถ้าหากว่าขาดความระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจราจรในเมืองที่มียวดยานพาหนะและผู้คนหนาแน่นอุบัติเหตุก็ยิ่งเกิดได้ง่ายขึ้นดังนั้นในการสัญจรไม่ว่าจะไปที่ใดหรือโดยวิธีใดก็ตามควรจะมีความระมัดระวังอยู่เสมอ จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้มาก การป้องกันอุบัติเหตุ ทำได้ดังนี้

การเดินถนน

- ควรเดินบนทางเท้าเสมอ ถ้าถนนไม่มีทางเท้าก็ให้เดินชิดขอบถนนด้านขวามือ เพื่อจะได้มองเห็นยวดยานที่ผ่านมาทางด้านหน้าเรา

- ควรเดินข้ามทางม้าลายและถ้าเป็นทางข้ามที่มีสัญญาณไฟควบคุมก็ควรข้ามเมื่อมีสัญญาณไฟให้ข้ามได้หรือเมื่อมีสัญญาณไฟให้รถหยุด

- ถ้าข้ามถนนบริเวณที่ไม่มีทางข้าม จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษโดยยืนอยู่ขอบถนนก่อน หลังจากมองขวามองซ้ายและมองขวาอีกครั้ง ดูจนกระทั่งแน่ใจว่า ไม่มีรถแล่นมาในระยะใกล้แล้วจึงเดินข้ามถนน

- การข้ามถนนขณะที่ฝนตก หรือในเวลากลางคืน จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะผู้ขับขี่จะมองไม่ชัดเจน และหยุดรถก็ลำบาก

- ไม่ข้ามถนนบริเวณที่มีป้ายรถประจำทาง และไม่ข้ามถนนทางด้านหน้าของรถ ที่กำลังจอดอยู่ เพราะจะทำให้ไม่เห็นรถที่กำลังวิ่งมา และคนขับรถที่กำลังวิ่งมาก็จะมองไม่เห็นคนที่กำลังเดินข้ามถนนด้วย

- ศึกษาและปฏิบัติตามกฎจราจรให้ถูกต้องอยู่เสมอ p>

การใช้รถโดยสาร

- การขึ้นรถหรือลงรถโดยสารต้องรอให้รถจอดสนิทก่อน

- อย่าแย่งกันขึ้นรถ ควรรอให้ผู้โดยสารลงจากรถเรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงขึ้นไปทีละคน แล้วลงจากรถตามกันมาทีละคน

- ควรหาที่นั่งหรือที่ยืนภายในรถ อย่าชะโงกหน้าหรือยื่นแขน ขา ออกนอกรถ

- อย่าเกาะหรือห้อยโหนตามบันไดรถ เพราะอาจจะพลัดตกเป็นอันตรายได้ p>

การโดยสารเรือ

- การขึ้นหรือลงจากเรือ ต้องให้เรือจอดให้เทียบท่าให้เรียบร้อยก่อน

- อย่าแย่งกันขึ้นหรือลงเรือ เพราะอาจทำให้เรือเอียงและล่มได้

- อย่านั่ง หรือเกาะที่แคมเรือ

- อย่าโดยสารเรือที่บรรทุกสินค้าหรือคนจนเต็มเรือแล้ว

- ไม่ควรโดยสารเรือในขณะที่อากาศแปรปรวน มีฝนและพายุ

- ควรฝึกว่ายน้ำให้เป็น เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางโดยทางเรือ เพราะจะได้ช่วยตัวเองได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ

แหล่งที่มา

อุเทน ผาภุมมา. (2555). ความปลอดภัยในชีวิต.

กาญจนบุรี: โรงเรียนบ้านดงโคร่ง.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com