ช่วงนี้ใกล้งานศิลปหัตถกรรม มีการแข่งขันร้องเพลงกล่อมเด็ก
เพื่ออนุรักษ์
ดิฉันเพิ่งทำงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรเสร็จ จึงอยากเผยแพร่บทคัดย่อและเนื้อเพลง
บางส่วนเพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลทั่วไปมีไฟล์เสียงด้วย ตัวอย่างไฟล์เสียง
เพลงนกกาเหว่า http://gotoknow.org/file/nichara_pr/REC0012.WAV
เพลงนกขมิ้น http://gotoknow.org/file/nichara_pr/REC0017.WAV
บทคัดย่อ
การศึกษาเพลงกล่อมเด็กของชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์
อำเภอเมือง
จังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเพลงกล่อมเด็ก
ไว้เป็นข้อมูลทางคติชน ศึกษาวิเคราะห์เพลงกล่อมเด็กในฐานะที่เป็นวรรณกรรม
พื้นบ้าน ในด้านรูปแบบ เนื้อหา และคุณค่า
และศึกษาสภาพการใช้เพลงกล่อมเด็ก
ของชาวบ้านวังพระธาตุในปัจจุบัน
การดำเนินการวิจัยได้รวบรวมข้อมูล
เพลงกล่อมเด็กจากเอกสารที่มีผู้เก็บข้อมูลไว้แล้วเมื่อ พ.ศ.2524
และเก็บข้อมูลภาคสนามเพิ่มเติมในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553
รวบรวมเพลงกล่อมเด็กได้ 67 เพลง เป็นเพลงที่ได้จากเอกสาร
ที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว 37 เพลง
และเพลงที่เก็บข้อมูลภาคสนามเพิ่มเติม
30 เพลง
ผลการวิเคราะห์พบว่า เพลงกล่อมเด็กบ้านวังพระธาตุ
มีรูปแบบการแต่งโดยใช้การเรียบเรียงคำง่าย ๆ มีสัมผัสคล้ายกลอนหรือกาพย์
แต่ไม่กำหนดจำนวนคำหรือวรรคตายตัว บางเพลงคล้ายบทดอกสร้อย
ส่วนรูปแบบการร้องเพลง ใช้วิธีการร้องให้เยือกเย็นทำให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน
จนหลับ มีทั้งร้องแบบเอื้อนเสียง ไม่เอื้อนเสียง และใส่ทำนองเพลงไทยเดิม
ด้านเนื้อหาของเพลงมีทั้งเนื้อหาที่เป็นการกล่อมเด็ก ปลอบเด็ก
และขู่เด็กให้นอน
มีทั้งเพลงเกี่ยวกับนิทานหรือวรรณคดีไทย
เพลงที่ถ่ายทอดความรักของพ่อแม่
ที่มีต่อลูก
เพลงเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม เพลงเกี่ยวกับ
การสั่งสอน เพลงที่มีเนื้อหาล้อเลียนตลกขบขัน และเพลงเกี่ยวกับธรรมชาติ
รอบตัว คุณค่าของเพลงกล่อมเด็กมีคุณค่าในเชิงบทบาทหน้าที่ ได้แก่
การขับกล่อมให้เด็กเพลิดเพลินนอนหลับ พร้อมกับสอดแทรกการอบรม
สั่งสอนให้เป็นคนดี
ถ่ายทอดความรู้ แล้วยังถ่ายทอดความคิดความรู้สึก
ของผู้เป็นแม่อีกด้วย มีคุณค่าทางภาษา ได้แก่
การสอนให้รู้จักความหมาย
ของถ้อยคำ สำนวน และการใช้ภาษาในเชิงวรรณศิลป์
มีการเล่นเสียง เล่นคำ
การใช้ถ้อยคำให้เกิดจินตภาพ
และการใช้ภาพพจน์เชิงเปรียบเทียบ
นอกจากนี้ยังมีคุณค่าในเชิงสังคม ได้แก่
การสะท้อนภาพความเป็นอยู่
ความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม
การสอดแทรกความรู้ด้านประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์
วัฒนธรรมประเพณีอีกด้วย
การศึกษาสภาพการใช้เพลงกล่อมเด็กของชาวบ้าน
วังพระธาตุในปัจจุบัน พบว่า
ชาวบ้านวังพระธาตุส่วนใหญ่เลี้ยงดูบุตร
ด้วยตนเอง
และยังใช้เพลงกล่อมเด็กอยู่ แต่เพลงที่ใช้มีจำนวนน้อย
และมักเป็นเพลงสั้น
ๆ มีการใช้เพลงลูกทุ่งขับกล่อมบ้าง วิทยากรท้องถิ่น
ที่มีความทรงจำดี
ยังสามารถร้องเพลงกล่อมเด็กยาว ๆ ได้ แต่มีจำนวนน้อย
และมีอายุมาก
ดังนั้นเพลงกล่อมเด็กบ้านวังพระธาตุอาจจะสูญไปในไม่ช้า
หากไม่มีการอนุรักษ์ไว้
ตัวอย่างเพลงจากการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยคณะผู้วิจัย
เมื่อวันที่
22 - 24 เมษายน พ.ศ. 2553
เพลงคล้องช้าง
วันเอ๋ยหนอวันนี้ แม่ว่าจะไปเอ๋ยคล้องช้าง
ข้ามห้วยบึงบาง ข้ามเขาเอ๋ยมโนรมย์
ช้างเล็กจะพาว่าย ช้างใหญ่จะพาจม
คล้องช้างมาได้ เอามาใส่เอ๋ยในจำลอง
เกี่ยวหญ้ามากองเอย ช้างน้อยหรือก็ไม่กิน
ยกงวงขึ้นพาดงาเอย น้ำตาก็ไหลริน
ๆ
ช้างน้อยก็ไม่กินเอ๋ย เพราะคิดถึงถิ่นเอ๋ยมารดา
เพลงนางประทุม
แม่นี้จะขอกล่าวเอย... เรื่องราวเอ๋ยนางประทุม
รูปสวยรวยระรุ่มเอย
เจ้าเกิดมาในพุ่มเอ๋ยบุษบา
ฤๅษีเลี้ยงไว้เอย เติบใหญ่เอ๋ยขึ้นมา
ฤๅษีก็ไปป่าเอย นางก็ร้อยแต่พวงมาลัย
ร้อยเอ๋ยหนอร้อยแล้ว
นางแก้วหรือก็พิษฐานไป
เนื้อคู่อยู่ไหนเอย ให้พวงมาลัยเอ๋ยมาสวมกร
ให้มาร่วมฟูกร่วมหมอนเอย มาร่วมที่นอนนะเอ๋ยแม่นา
เพลงนกกาเหว่า
เจ้านกกาเหว่าเอย....
ไข่ให้เอ๋ยแม่กาฟัก
แม่เอ๋ยกาก็หลงรักเอย
คิดว่าลูกในอุทร
คาบเอาข้าวมาเผื่อเอย...
คาบเอาเหยื่อเอ๋ยมาป้อน
ซ้อนน้ำเอ๋ย
มาให้กิน
ปีกหางก็กล้าแก่เอ๋ย
ท้อแท้ฤๅจะสอนบิน
พาลูกไปหากินเอ๋ย
หาตามปากน้ำพระคงคา
ตีนก็เหยียบสาหร่ายเอย
ปากก็ไซ้เอ๋ยหาปลา
กินทั้งกั้งเอย...
หอยกระพังเอ๋ยแมลงดา
กินอิ่มกลับมาเอย...
มาจับต้นหว้าเอ๋ยโพธิ์ทอง
นายพรานเขาเห็นเอย
ด้อม ๆ เอ๋ยมอง
ๆ
ยกปืนขึ้นส่องเอ๋ย
จ้องด้วยเอ๋ยแม่กาดำ
ยิงถูกเข้าหัวปีกเอย
ปีกนั้นก็ฉีกเอ๋ยระยำ
ข้าวเช้าเอยเป็นข้าวค่ำเอย อย่ามาทำระกำเอ๋ยพ่อคุณ
(ข้อมูลจากนางเสนอ สิทธิ)
เพลงนกขมิ้น
นกขมิ้นเหลืองอ่อนเอย ค่ำแล้วเจ้าจะนอนที่ไหนเอย
นอนไหนก็นอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน
เพลงนกเขา
นกเขาเอย...
ขันแต่เช้าเอ๋ยจนเย็น
ขันให้ดัง ๆ แม่จะฟังเสียงเล่นเอย... เสียงเย็นหนอแม่คุณ
เพลงขนมหม้อแกง
โอ้ละเห่
โอละหึกเอย...
ลุกขึ้นแต่ดึก ทำขนมเอ๋ยหม้อแกง
ผัวก็แช่งเมียก็ด่า ขนมก็คาเอ๋ยหม้อแกง
(ข้อมูลจากนางบุญแทน แสงอุทัย)
เพลงพวงมะนาว (ทำนองสร้อยสนตัด)
พวงเจ้าเอ๋ยโอ้พวงมะนาว โน่นไงแมวหง่าว ไยลูกไม่หลับนอน
แดงอย่าออดอ้อน แม่นอนอยู่ใกล้ ไยน้องไม่กำชับ
ตุ๊กแกตัวลาย
ได้ยินลูกร้องกวนใจ เดี๋ยวมันจะหมายกินตับ
โอ้โอละเห่ ร้องเพลงลิเก
ให้ลูกหลับ
โอ้เจ้าช่อมะพลับ ลูกนี้จงหลับเสียเถิด
(ข้อมูลจากนางสำรวย
อุปัจจ๊ะ)
เพลงโยทิง
ทำนาหนองไหน
ทำนาหนองปล้อง ควายมีท้องออกลูกเป็นพัน
ขนมทอดมัน
ขายอันละสิบเบี้ย มาเลี้ยงไก่เตี้ยเอาไว้ต้นโพธิ์
ขโมยโอ้น ๆ ลักช้างกูไป ลักควายกูหนี หน้าแข้งเป็นไฝ
หัวไหล่เป็นฝี
พอจับตัวได้เอามาใส่โรงสี ไอ้นั่นตาหนี่
อีเอ้อีโอ่ง
ตีฆ้องมง ๆ
นกกระทงเป่าปี่ ไอ้ดี่นอนโม้ด
ไอ้โค้ดลอยเข่ง
ไอ้ค้าฟปากแหว่ง
อุ้มลูกมาดู สะดุดขี้หมู
สะดุดขี้หมา
หกล้มปากแตก
แตกแล้วทำเอา ไม่ใช่ผัวเรา ผัวอีเภานกกระจอก
ผักบุ้งหญ้างอก ตกหลังคายายมอญ ประตูใส่กลอน
นอนเสียกลางวัน
ลุกขึ้นไก่ขัน ตะวันแดงแจ๋
(ข้อมูลจากนางปุกทอง สุดา)
GotoKnow เป็นบริการสังคมของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการสนับสนุนโดย
GotoKnow ให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ภายใต้เงื่อนไขที่สมาชิกใช้บริการโดยไม่หวังผลทางการค้า
สวัสดีค่ะ
Krudala มีเพลงกล่อมเด็กที่แม่อุ้ย(ยาย)ใช้ร้องกล่อมลูกของKrudala
ตอนยังเล็กๆ ตอนั้นแม่อุ้ยอายุ80กว่าปีแล้ว ยังร้องเพลงกล่อมเหลนเป็นภาษา
ชาวยอง เพลงมีดังนี้ค่ะ
ไก่ขะแตกบ้านเหนือ เสือขบงัวบ้านใต้
บ่าใจ้งัวเฮา งัวป่อก้าขี้ปุ๋ม ตี๋ตุ้มปู๋น จะไปเมืองแพร่
เจ้าป่อแม่ อาบนำดำหัว เจ้าป่อผัว ขี่ม้ากาบอ้อย
เจ้าน้อยน้อย ขี่ม้าหุนดำหุนแดง จัดต๋าแสง จะเล่นหมากบ้า
จัดตู๋ข้า ขี้หย้าดังไฟ ไฟดับไป ป้อข้าเป่า
เปิ้นสู่เส่า ป้อข้าวี เปิ้นหวีหัว ป้อข้าเกล้า
เปิ้นกิ๋นเหล้า ป้อข้าเมา เปิ้นกิ๋นเตา ป้อข้าอิ่ม
อิมพีดี ปู๋สะลีตกฮ่อม ไก่แม่ก้อม ไปขายวันพูก
ไก่แม่ลูก ไปขายวันฮือ ปาดสายดือ อี่แก้วต่องแต่ง
แม่อุ้ยร้องเพลงกล่อม หลานหลับปุ๋ย โตขึ้นเป็นเด็กฉลาดค่ะ
ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ
อยากได้เนื้อเพลง"เรือกันยาอ่ะคับ"มีไครเคยได้ยินบ้างคับของคุณยายเคยร้องให้ฟังแม่บอกว่าจำได้แค่นี้อ่ะคับ.... เรือเอ้ยเรือกันยา หลังคาใบบัว ฝนตกฟ้ารั่ว คนเค้าเซก็เอนตามเอ่เอเอ้เอๆ