รูปแบบการสอน วิธีการสอน และเทคนิคการสอน

รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของ

ทอร์แรนซ์ (Torrance’s Future Problem Solving Instructional Model)

 ก.  ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ

รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนามาจากรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตาม

แนวคิดของทอแรนซ์ (Torrance, 1962) ซึ่งได้นำองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 3 องค์ประกอบ คือ การคิดคล่องแคล่ว การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม มาใช้ประกอบกับกระบวนการคิด

แก้ปัญหา และการใช้ประโยชน์จากกลุ่มซึ่งมีความคิดหลากหลาย โดยเน้นการใช้เทคนิคระดมสมองเกือบทุกขั้นตอน

  ข.  วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

รูปแบบนี้มุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้ตระหนักรู้ในปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

และเรียนรู้ที่จะคิดแก้ปัญหาร่วมกัน ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดจำนวนมาก

  ค.  กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ

ขั้นที่ 1  การนำสภาพการณ์อนาคตเข้าสู่ระบบการคิด

                                             นำเสนอสภาพการณ์อนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้การคิดคล่องแคล่ว การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และจินตนาการ ในการทำนายสภาพการณ์อนาคตจากข้อมูล ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ของตน

                                ขั้นที่ 2  การระดมสมองเพื่อค้นหาปัญหา

                                             จากสภาพการณ์อนาคตในขั้นที่ 1 ผู้เรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่าอาจจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้างในอนาคต

                                ขั้นที่ 3  การสรุปปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

                                             ผู้เรียนนำปัญหาที่วิเคราะห์ได้มาจัดกลุ่ม หรือจัดความสัมพันธ์เพื่อกำหนดว่าอะไรเป็นปัญหาหลัก อะไรเป็นปัญหารอง และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

                                ขั้นที่ 4  การระดมสมองหาวิธีแก้ปัญหา

                                             ผู้เรียนร่วมกันคิดวิธีแก้ปัญหา โดยพยายามคิดให้ได้ทางเลือกที่แปลกใหม่ จำนวนมาก

                                ขั้นที่ 5  การเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

                                             เสนอเกณฑ์หลาย ๆ เกณฑ์ที่จะใช้ในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา แล้วตัดสินใจเลือกเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในแต่ละสภาพการณ์ ต่อไปจึงนำเกณฑ์ที่คัดเลือกไว้ มาใช้ในการเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด โดยพิจารณาถึงน้ำหนักความสำคัญของเกณฑ์แต่ละข้อด้วย

                                ขั้นที่ 6  การนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาอนาคต

                                             ผู้เรียนนำวิธีการแก้ปัญหาอนาคตที่ได้มาเรียบเรียง อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็น คิดวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม และนำเสนออย่างเป็นระบบน่าเชื่อถือ

ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ

                                ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา และตระหนักรู้ในปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถใช้ทักษะการคิดแก้ปัญหามาใช้ในการแก้ปัญหาปัจจุบัน และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

แหล่งอ้างอิง www.ipst.ac.th/article/science-m/sci-m08.html

 

ความคิดเห็นกลุ่ม

        วิธีการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ สามารถทำให้ผู้เรียนช่วยกันระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยกันคิดหาทางแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้น และฝึกให้เด็กหาวิธีแก้ไขและป้องกันได้

 

วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)

วิธีสอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า “หน่วย” นักเรียนอาจเรียนหลายๆวิชาพร้อมๆกันไปตามความต้องการและความสามารถของนักเรียน

ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบหน่วย

1. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเอง

2. เพื่อส่งเสริมการทำงานที่เป็นประชาธิปไตย ได้แก่ นักเรียนร่วมกันปรึกษาหารือ

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาร่วมกัน

 

ขั้นตอนของวิธีการสอนแบบหน่วย

1.ขั้นนำเข้าสู่หน่วย ขั้นตอนนี้ครูเป็นผู้เร้าความสนใจของนักเรียนด้วยการนำหนังสือที่น่าสนใจ

หรือสนทนาพูดคุยหรือเล่าเรื่องหรืออภิปรายหรือพาไปทัศนศึกษา หรือชมนิทรรศการ หรือชมภาพยนตร์ หรือชมวีดีทัศน์ ฯลฯ

2.ขั้นนักเรียนและครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม เริ่มด้วยการกำหนดความมุ่งหมายทั่วไป ความมุ่งหมายเฉพาะ ช่วยกันตั้งปัญหาและแบ่งหัวข้อปัญหา กำหนดกิจกรรมของแต่ละปัญหากำหนดสื่อการสอนที่จะนำไปใช้แก้ปัญหา แล้วจัดแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเพื่อทำกิจกรรม และรายงานผลการปฏิบัติงาน

3.ขั้นลงมือทำงาน เริ่มต้นด้วยการสำรวจและรวบรวมความรู้ต่างๆจากห้องสมุดพิพิธภัณฑ์

ได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร เอกสาร แบบเรียน ตำรา ร้านค้า ภาพยนตร์ ความสัมพันธ์กับวิชาต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลป ฯลฯ

1. ขั้นเสนอกิจกรรม ได้แก่ การเสนอกิจกรรมด้วยการรายงานผลการปฏิบัติงานโดยวาจาหรือ

รายงานผลเป็นข้อเขียน การอภิปราย การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการเสนอกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์แบบอื่นๆ

2. ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอน และจุดประสงค์ของหน่วย

โดยพิจารณาความรู้เชิงวิชาการ เจตคติ และความสนใจต่างๆ รวมทั้งคุณสมบัติส่วนตัว เช่น คุณสมบัติด้านการเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย การแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม และยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม

 

ข้อดีของวิธีสอนแบบหน่วย

1. เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมความถนัดตามธรรมชาติของนักเรียน เพราะการสอนแบบนี้มี

กิจกรรมหลายประเภทให้นักเรียนได้เลือกปฏิบัติทำตามที่ถนัดและสนใจ

2. นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนร่วมกับครู

3. นักเรียนได้รับการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย และได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม

4. เป็นการสอนที่สร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างวิชาต่างๆในหลักสูตร

ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบหน่วย

1. วิธีสอนแบบนี้ต้องใช้เวลามาก

2. ครูผู้สอน ต้องมีแหล่งความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ และหลากหลาย

แหล่งอ้างอิง  http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=76

ความคิดเห็นกลุ่ม

วิธีการสอนแบบหน่วย นอกจากจะทำให้เด็กนักเรียนได้ฝึกร่วมการวางแผนร่วมกับครู และเพื่อนๆแล้วยังเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยให้กับเด็กเพื่อฝึกการระดมความคิดร่วมกันและการทำงานเป็นกลุ่มกับนักเรียนคนอื่นๆในกลุ่มได้

 

เทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรม

        เทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรม (Teaching Behavior Techniques) จึงเป็นองค์ความรู้หนึ่งที่จำเป็นสำหรับการจัดกิจกรรมการฝึกทักษะและการเรียนการสอนสำหรับเด็ก       

 

 เทคนิคการสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์

1. เทคนิคการให้รางวัลและการลงโทษ (Reinforcements And Punishments)

เทคนิคการให้รางวัลถือเป็นหัวใจของการสร้างเสริมพฤติกรรมเชิงบวก

     ผู้สอนจึงต้องใช้การให้รางวัลมากกว่าการลงโทษโดยที่ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของการให้รางวัล, เอกลักษณ์หรือการจำแนกแยกแยะและการพัฒนาสิ่งที่นำมาเป็น “รางวัล”, การเลือกรางวัล, กฎของรางวัลและความแตกต่างตลอดจนข่าวสารที่ผู้สอนจะสื่อกับผู้เรียนด้วยรูปแบบต่างๆ ของรางวัลวัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของรางวัล ก็คือ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจให้ผู้เรียนทำพฤติกรรมหรือเรียนรู้ทักษะที่ต้องการโดยเริ่มแรกอาจเป็นแรงจูงใจจากภายนอก แล้วจากแรงจูงใจจากภายนอกจะพัฒนาอย่างไรให้เป็นแรงจูงใจจากภายในตัวของผู้เรียนเอง

        ตัวอย่างผู้สอนให้ขนมผู้เรียนซึ่งเป็น รางวัลขั้นพื้นฐานจับต้องและกินได้เพื่อให้ผู้เรียนวาดรูปได้ตามแบบ ไปเรื่อยๆ จากรางวัลที่เป็นขนมเป็นของกินได้ เป็นของเล่นที่ชอบ แล้วก็ขยับขึ้นมาเป็นคำชมซึ่งเป็นรางวัลทางสังคม จนกระทั่งผู้เรียนสามารถวาดได้เองโดยไม่ต้องดูแบบ เข้าใจมโนคติของการวาดรูป จนผู้เรียนสนุกกับการวาดรูปด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยไม่ต้องมีรางวัลจากภายนอกมากระตุ้น อันเป็นรางวัลจากภายในของตัวผู้เรียนเองเรียกว่าผู้สอนจะต้องพัฒนารางวัล จากขั้นที่สนองความจำเป็นพื้นฐาน (Needs) ไปสู่ขั้นที่จะตอบสนองความต้องการที่จะประสบผลสำเร็จสูงสุด (Self-esteems) ของผู้เรียนให้ได้ ทั้งนี้ผู้สอนจะต้องรู้เอกลักษณ์ของรางวัลแต่ละอย่าง และต้องสามารถจำแนกแยกแยะรางวัลสำหรับผู้เรียนแต่ละคน เพราะรางวัลสำหรับผู้เรียนคนหนึ่งอาจเป็นเหมือนการลงโทษสำหรับผู้เรียนอีกคนหนึ่งก็ได้ เช่น ปรกติคุกกี้ไส้ถั่วอาจเป็นของโปรดของชอบของเด็กทั่วไป แต่กับเด็กหรือผู้เรียนบางคน เขาไม่ชอบไส้ถั่วเลย การเอาคุกกี้ไส้ถั่วมาเป็นรางวัลให้เขาจึงอาจเป็นการลงโทษเขาไป เป็นต้น ฉะนั้นผู้สอนจึงจะต้องสังเกตและเรียนรู้ ที่จะวิเคราะห์ให้ได้ว่าอะไรที่เป็นรางวัลหรือแรงจูงใจสำหรับผู้เรียนคนหนึ่งๆ อย่างแท้จริง รางวัลจะต้องเป็นรางวัลจริงๆ

รางวัลจะต้องมีหลากหลาย ทั้งชนิดและรูปแบบและประเภทที่ผู้สอนต้องสันทัดที่จะเลือกรางวัลเอามาใช้กับผู้เรียนในการสอนต่างๆ รางวัลที่ใช้บ่อยซ้ำซากก็จะหมดคุณค่าของการเป็นรางวัลและหมดอำนาจ ที่จะใช้จูงใจผู้เรียนในที่สุด  ผู้สอนจึงจะต้องรู้จักพัฒนารางวัลที่จะนำมาใช้กับผู้เรียนแต่ละคนตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรางวัลที่เป็นขนมให้มากจนเกินไปจนผู้เรียนอิ่มแล้วยังให้อีกก็เป็นการลงโทษไปได้อีกเช่นกัน นอกจากนี้ด้วยรูปแบบต่างๆ ของรางวัลผู้สอนยังสามารถสื่อข่าวสารให้ผู้เรียนได้รู้สึกถึง ปริมาณหรือคุณภาพของรางวัลที่ผู้เรียนจะได้รับตอบกลับ (Feedback)     จากการตอบสนอง  หรือพฤติกรรมของผู้เรียนซึ่งจะทำให้ผู้เรียนต้องปรับปรุงการตอบสนองหรือพฤติกรรมให้ดีขึ้นไปด้วย

เช่น หากผู้เรียนตั้งใจดีและตอบสนองได้ถูก-ผู้สอนก็ “ว้าว, ดีมาก” (ทั้งน้ำเสียงและสีหน้า), ผู้เรียนไม่ค่อยตั้งใจแต่ตอบสนองได้ถูก-ผู้สอนก็ “ดี”, ผู้เรียนตั้งใจดีแต่ตอบสนองได้ไม่ถูกหรือผิด-ผู้สอน “พยายามดีมากแต่…” ผู้เรียนทั้งไม่ตั้งใจและไม่ตอบสนอง-ผู้สอนก็”ผิด-ตั้งใจหน่อย” (เสียงดังด้วยน้ำเสียงและสีหน้าตำหนิ) เป็นต้น

ดังนี้ถ้าผู้สอนมีความช่ำชองในการใช้เทคนิคการให้รางวัล จนสามารถหารางวัลใหม่ๆ สำหรับผู้เรียนแต่ละคนได้เรื่อยๆ และสามารถพัฒนารางวัลจากรางวัลภายนอก (ขนม, ของเล่น, ของกิน) ไปสู่รางวัลทางสังคม (คำชมต่างๆ) จนในท้ายที่สุดก็ไปสู่ความพึงพอใจ      ที่จะทำมาจากตัวผู้เรียนเองซึ่งเป็นรางวัลจากภายใน (Self-esteem) ในที่สุดได้เมื่อไร นั่นก็คือ ความสำเร็จขั้นสุดยอดของการเรียนการสอนหรือการฝึกทักษะ

แหล่งอ้างอิง www.autisticthailand.com/.../audoconline6ABAteachingtec.htm

ความคิดเห็นกลุ่ม

                การใช้เทคนิคเชิงพฤติกรรมแบบการให้รางวัลและลงโทษนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เรียนและผู้สอนคือ ถ้าผู้สอนให้รางวัลที่ถูกก็จะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจ และเกิดสิ่งเร้าใจ ตั้งใจเรียน ในขณะที่ถ้าผู้สอนไม่เคยให้สิ่งจูงใจเช่นรางวัลต่างๆก็อาจทำให้ผู้เรียนขาดสิ่งจูงใจต่อการเรียน การลงโทษ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน ถ้าผู้สอนใช้บทบาทลงโทษมากเกินไปก็อาจทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกขัดแย้งและอาจต่อต้านด้วยการไม่ใส่ใจ ดังนั้นทั้งบทบาทในเรื่องการให้รางวัล และบทลงโทษ ควรมีความพอดีและความเหมาะสมต่อผู้เรียน

 

 

 

 

สร้าง: 26 พฤษภาคม 2553 09:38 · แก้ไข: 26 พฤษภาคม 2553 09:38
ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 0 · อ่าน: 5229 · สร้าง: ประมาณ 2 ปี ที่แล้ว
ดอกไม้
Facebook
Twitter
Google

ความเห็น

ไม่มีความเห็น
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้
ชื่อ:
อีเมล:
IP แอดเดรส: 171.4.240.148
ข้อความ:  
เรียกเครื่องมือจัดการข้อความ
แนบไฟล์:
ชื่อไฟล์ต้องใช้ตัวอักษร a-z, A-Z, 0-9 สัญลักษณ์ขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) และห้ามเว้นวรรค