ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ

สรายุทธ กันหลง
เจ้าของบล็อกนี้
 
 

เข้าสู่ระบบ


  

สมัครสมาชิก

เกมส์ รวมเกมส์มากมาย




New Games Here!
เกมส์ฝึกพิมพ์ดีดnew
เกมส์ฝึกพิมพ์ดีด ฝึกพิมพ์สัมผัส เล่นเกมส์ฝึกพิมพ์ดีดออนไลน์กัน เป็นเกมฝึกพิมพ์ดีดสนุกๆ ช่วยฝึกทักษะในการพิมพ์ดีดได้
เกมส์แฮรี่พอตเตอร์ในเขาวงกตnew
เกมส์แฮรี่พอตเตอร์ในเขาวงกต เกมส์ฝึกสมองมันส์ๆ น้องมาฝึกใช้ความคิดช่วยแฮร์รี่ พอตเตอร์ให้ออกจากเขาวงกตให้ได้ทันเวลาด้วยนะ
เกมส์ดนตรีnew
เกมส์ดนตรี เกมส์นี้เราจะต้องควบคุมให้เจ้าหนุ่มนักดนตรีคนนี้ สามารถเล่นเพลงร็อคได้สมใจ และเข้ากับจังหวะที่แสดงผลขึ้นมา
เกมส์ก่อกวนมนุษย์ต่างดาวnew
เกมส์ก่อกวนมนุษย์ต่างดาว เราถูกจับ ต้องหาวิธีออกไปให้ได้
เกมส์รถโฟร์วิลล์new
เกมส์รถโฟร์วิลล์ เกมส์สนุกสุดมันส์ ขับรถโฟร์วิลล์ไต่เขากันที่นี่เลย
More Games Click!!

 

เจ้าของ Blog : สรายุทธ กันหลง
ข้อมูลส่วนตัว   ไปที่บล็อกของสรายุทธ กันหลง
 

ทฤษฏีระบบเปิดของรัฐประศาสนศาสตร์ (Open Systems Theory of Public Administration)

โพสต์เมื่อวันที่ : IP : เปิดอ่าน : 5820 / 0 ความเห็น
คะแนนของ BLOG นี้
(95.00%-4 ผู้โหวต)

Share | บริการนำเนื้อหานี้ไปแปะไว้ที่

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
.....

   


ทฤษฏีระบบเปิดของรัฐประศาสนศาสตร์ (Open Systems Theory of Public Administration)

ระบบเปิด (open system) เป็นระบบที่มีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  ที่เป็นในรูปของสารสนเทศ พลังงาน หรือการแลกเปลี่ยนวัสดุ เข้าไปและออกมาจากขอบเขตของระบบ ขึ้นอยู่กับศาสตร์ที่ศึกษา  ระบบเปิดนี้ตรงข้ามกับระบบปิด (isolated system) ที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนพลังาน วัสดุ หรือสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม

แนวคิดระบบเปิด เริ่มมาจากการใช้อธิบายทฤษฎีสิ่งมีชีวิต (theory of organism) ทฤษฎีความร้อน (thermodynamics) และ ทฤษฎีวิวัฒนาการ (evolutionary theory) ที่เป็นระบบที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและมีการพัฒนาที่จะปรับตน เองเพื่อความอยู่รอดหรือความสมดุล   ซึ่งต่อมาได้ใช้เป็นพื้นฐานของการสร้างทฤษฎีสารสนเทศ (information theory) และทฤษฎีระบบ (systems theory)  ในปัจจุบันแนวคิดระบบเปิดได้นำมาใช้ประยุกต์ในศาสตร์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural sciences) และ สังคมศาสตร์ (social sciences)

ในทางรัฐประ ศาสนศาสตร์  สามารถอธิบายการบริหารรัฐกิจหรือกิจกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้ด้วยทฤษฎี ระบบเปิด (ตามรูป) ว่า ทั้งปัจจัยนำเข้า (input) และผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (ultimate outcome) คือ ประโยชน์สาธารณะ (public interests)  ในปัจจัยนำเข้าเป็น ความต้องการและการเรียกร้องของพลเมือง (citizens' needs and demands) ส่งมายังกระบวนการ (process) ที่เป็นการบริหารรัฐกิจ ซึ่งก็คือวงรอบของนโยบายสาธารณะ (public policy cycle) คือการก่อกำเนิดของนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย (policy formulation, policy implementation and policy evaluation)  ในที่นี้จะเน้นเรื่องการนำนโยบายไปปฏิบัติที่เป็นกระบวนการ (process)

การบริหารรัฐกิจเช่นเดียวกับการบริหารด้านอื่นๆ ในกระบวนการนั้น ผู้บริหารต้องสร้างความกลมกลืนสอดคล้อง (congruence) ระหว่าง มิติที่ดูเสมือนแตกต่างกันให้ดำเนินการไปด้วยกันได้ คือมิติระหว่าง กฎระเบียบและคน (rules and regulations vs. man) และมิติระหว่างความต้องการและทรัพยากร (needs vs. resources)  ซึ่งผู้บริหารที่มีความสามารถและประสบการณ์จะเข้าใจลึกซึ้งและปฏิบัติได้ดี  

ผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติคือ ผลผลิต (output) ที่เป็นรูปธรรม เช่น สร้างถนนได้ถนนที่เป็นสิ่งของ แต่จะมี ผลลัพธ์ (outcome) ที่เป็นนามธรรมหรือไม่ เช่น ความสะดวกสบายในการคมนาคม ความมั่นคงปลอดภัย ก็ต้องพิจารณาดูกันอีกที  จากนั้นก็เป็น ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (ultimate outcome) ที่เป็นประโยชน์สาธารณะ (public interests) ว่า สังคมประเทศชาติโดยรวมได้รับผลลัพธ์ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ เช่นเป็นเชิงบวก ถนนที่สร้างนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมเครือข่ายคมนาคมของทั้งประเทศ  หรือถนนที่สร้างอาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศ เช่นกรณีถนนขึ้นเขาใหญ่ทางปราจีนบุรี ที่ทำให้เกิดการทำลายป่าและสัตว์มากขึ้น  

ในกระบวนการ input-process-output-outcome-ultimate outcome นี้ เป็นพลวัตร (dynamic) ปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการพัฒนาหรืออยู่รอดด้วยการมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) และ ยังมีระบบย่อยอยู่ซ้อนกันมากมาย  ในการเป็นระบบเปิด ระบบฯ นี้มีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก ซึ่งก็คือสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และธรรมชาติ  หรือเพิ่มด้วยโลกาภิวัตน์ (globalization)

การดำเนินกิจกรรมทางรัฐประศาสนศาตร์ หรืออีกชื่อคือ การบริหารรัฐกิจ  มีการดำเนินการภายใต้แนวคิดพาราไดม์ที่นิยมในเวลานั้น  ซึ่งในปัจจุบันพาราไดม์ของรัฐประศาสนศาตร์คือ ความเป็นมืออาชีพ ที รปศ. เป็นวิชาชีพหนึ่ง เช่นเดียวกับแพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ (รปศ. คือ รปศ. public administration as public administration paradigm) และในขณะเดียวกันก็มีพาราไดม์ซ้อนกันคือ พาราไดม์ ธรรมาภิบาล (governance paradigm) (Henry, 2010) หรือที่เรียกว่าเป็น พาราไดม์บริการสาธารณะแนวใหม่ (new public service paradigm) (Denhardt, 2011) ที่ผู้ปฏิบัติต้องคำนึงถึง ธรรมาภิบาล ประโยชน์สาธารณะ ความเป็นพลเมือง และค่านิยมประชาธิปไตย (governance, public interests, citizenship, democratic values) ควบคู่ไปกับการทำงานอย่างมืออาชีพด้วย

การบริหารรัฐกิจในปัจจุบัน จึงต้องมีความสอดคล้องกลมกลืน ระหว่าง รัฐ (government) ที่สื่อถึงการควบคุม กับ ธรรมาภิบาล (governance) ที่สื่อถึงการตอบสนองและการมีส่วนร่วมของพลเมือง  อีกทั้งการพัฒนาการบริหารจำเป็นต้องสร้างความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างทฤษฎี และการปฏิบัติ ซึ่งก็คือ การวิจัย นั่นเอง


อ้างอิง

Denhardt, Janet Vinzant, Denhardt, Robert B. (2011). The new public service : serving, not
    steering. 3rd ed.
Armonk, NY : M.E. Sharpe.

Henry, Nicholas. (2010). Public administration and public affairs, ed 11th. New York : Pearson/Longman.

Wikipedia (n.d.). Open system (systems theory). Online retrieved  July 12, 2011. http://en.wikipedia.org/wiki/Open_system_%28systems_theory%29


สรายุทธ กันหลง
12 ก.ค. 54
11.45 น. กรุงเทพ

Mobile:  085 3260440
yuthxx@gmail.com
http://www.facebook.com/sarayuth.kunlong

อ้างอิงบทความนี้
สรา ยุทธ กันหลง. (2554, 12 กรกฎาคม). ทฤษฏีระบบเปิดของรัฐประศาสนศาสตร์ (Open Systems Theory of Public Administration). สืบค้นออนไลน์เมื่อ [วันเดือนปี].
http://www.kroobannok.com/blog/44420.

เวปลิงค์ใน Multiply.com
http://yuthxx.multiply.com/journal/item/448/448
เวปลิงค์ใน kroobannok.com
http://www.kroobannok.com/blog/44420

เกี่ยวกับผู้เขียน
http://www.kroobannok.com/blog/44134

 
 

ไม่มีความเห็น
 
 

เรื่องราวล่าสุด ที่ ..สรายุทธ กันหลง.. เป็นคนเขียน
พฤติกรรมองค์การ (organizational behavior) และ ภาวะผู้นำ (leadership)
ข้อแตกต่างระหว่าง "thesis" และ "dissertation"
app ของ Apple ที่มีผู้ใช้มากที่สุดสิบรายการตั้งแต่เปิดตัว iPad เมื่อปี 2010
วิกฤต"ดอกเตอร์"ขาดตลาด มหาวิทยาลัยเกิดใหม่อื้อ ตั้งเป้า10ปีผลิตปริญญาเอก 15,000 คน
Discourse theory ในทางรัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์ Henry, Nicholas. (2010). Public administration and public affairs, ed 11th.
การใช้ Virtual IP เพื่อสืบค้นฐานข้อมูลห้องสมุด SWU
PAR (Public Administration Review) : การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ใช้สถิติชั้นสูงมากขึ้นและมีลักษณะเฉพ

ดู Blog ของ สรายุทธ กันหลง ที่นี่



 

 

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์เศรษฐี เกมส์มันส์ๆ เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์วางระเบิด เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์มาริโอ เกมส์ปลูกผัก เกมส์กีฬา เกมส์จีบสาว เกมส์ขายของ เกมส์รถ เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ทําอาหาร เกมส์หมากฮอส เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์ยาน เกมส์แต่งตัว เกมส์ตัดผม เกมส์ระบายสี เกมส์แข่งรถ เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ต่อสู้ เกมส์การ์ด เกมส์ยิง เกมส์ความรู้ เกมส์ตลก เกมส์ภาษา เกมส์จับผิดภาพ เกมส์วางแผน เกมส์ฝึกสมอง เกมส์ดนตรี เกมส์แต่งบ้าน เกมส์เต้น เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์สร้างเมือง เกมส์ผจญภัย เกมส์เด็กๆ เกมส์ก้านกล้วย
เว็บไซต์เพื่อคุณครูและนักเรียนไทย