ยินดีต้อนรับเข้าสู้เว็บไซต์ประวัติศาสตร์ ม.5
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

ลักษณะทางด้านการเมืองการปกครอง
ลักษณะทางด้านการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน จัดได้ว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหาษัตริย์เป็นประมุข มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ในปัจจุบันก็อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitutional monarchy) ไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนสมัยก่อน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญรัฐบาลมาจากพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง โดยพรรคการเมืองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับการเลือกตั้งมากทึ่สุดเป็นผู้รับผิดชอบจัดตั้งรัฐบาลซึ่งอาจเป็นรัฐบาลพรรคเดียวหรือหลายพรรคผสมกันก็ได้ แต่ก็น่าสังเกตว่า ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ยังไม่มีรัฐบาลชุดใดที่มาจากพรรคการเมืองที่ได้เสียงส่วนมากพรรคเดียวเลยถ้าไม่เป็นรัฐบาลผสม ก็เป็นรัฐบาลเผด็จการทหาร (military dictatrship) ที่เข้ามายึดอำนาจการปกครองเป็นครั้งคราว รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งในสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มักจะอยู่ได้ไม่นาน โดยจะถูกฝ่ายทหารซึ่งมีอำนาจทางการเมืองมากเข้ามายึดอำนาจจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการอยู่บ่อย ๆ รัฐบาลพลเรือนเพิ่งจะมีโอกาสได้บริหารประเทศค่อนข้างมาก เมื่อไม่นานมานี่เอง (ประมาณ 10 กว่าปี ถ้านับจากสมัยรัฐบาลเปรย 1) แม้กระนั้นการเสี่ยงภัยจากรัฐประหารก็ยังไม่หมดไปเสียทีเดียวในปัจจุบันนี้ ที่เป็นเช่นนี้น่าจะสืบเนื่องมาจากเหตุที่ว่า วัฒนธรรมการเมืองไทยเป็นไปในรูปแบบของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จหรือเผด็จการมายาวนานกว่า 600 ปี โดยไม่มีการขาดตอน

ภาพอนุสาวรีประชาธิปไตย ที่กรุงเทพฯ


นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระเจ้าแผ่นดินเป็นศูนย์รวมของอำนาจทั้งหลายทั้งปวงในราชอาณาจักร พระองค์ทรงเปก็นทั้งเจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดินทรงมีอำนาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่างใราชอาณาจักร ประกาศิตของพระองค์คือ กฎหมายขุนนางหรือข้าราชการ คือ ผู้รับใช้ของพระองค์ (King's servants) แม้ว่าในทางพฤติกรรมการใช้อำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะแตกต่างกันออกไปบ้างตามพระราชอัธยาศัยของแต่ละพระองค์ แต่ก็ไม่มีข้อสงสัยใด ๆ เลยว่า พระเจ้าแผ่นดิน คือ อำนาจสูงสุดของแผ่นดินเรื่อยมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475

คณะราษฎร์ที่เข้ายึดอำนาจการปกครองจากในหลวงรัชกาลที่ 7 ประกอบด้วย ข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน และราษฎร ซึ่งส่วนมากก็เป็นนักเรียนนอกที่ถูกทางราชการส่งไปเรียนต่อในต่างประเทศโดยทุนหลวง พวกนักเรียนนอกเหล่านี้ได้มีโอกาสไปสัมผัสบรรยากาศประชาธิปไตยในประเทศที่ตนไปเรียนอยู่ในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งส่วนมากก็เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยไปหมดแล้ว เชื้อแห่งการปฏิวัติเพื่อล้มล้างระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชเพื่อเปลี่ยนเป็นการปกครองบบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของ "นานาอารยะประเทศ" ได้เริ่มก่อตัวขึ้นจากการประชุมพลปะกันระหว่างนักเรียนทุนผู้มีหัวก้าวหน้าทั้งหลายที่กรุงปารี ประเทศฝรั่งเศส และในที่สุดก็ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จภายใต้นามของ "คณะราษฎร์หลังจากการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ได้มีความพยายามต่อต้านจากกลุ่มทหารที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ระบบเดิมอยู่บ้างเล็กน้อย (กบฎบวรเดชฯ) แต่ก็ถูกปราบปรามลงได้ไม่นาน

การเริ่มต้นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ ไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นเท่าใดนัก ทั้งนี้เป็นเพราะผู้คนส่วนใหญ่ไม่ว่าข้าราชการ หรือราษฎรก็ตาม ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการปกครองแบบประชาะปไตยจึงพากันตีความหมายของคำว่าประชาธิปไตยไปต่าง ๆ นานา คำว่า เสรีภาพและเสมอภาคก็ก่อให้เกิดความสับสน คนทุกคนมีเสรีภาพในการดำเนินชีวิต ก็นำไปสู่ความไม่ยอมปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เพราะมีเสรีภาพแล้วจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ลูกศิษย์วัดไม่ยอมปรนนิบัติพระเพราะมีเสรีภาพ นักเรียนไม่ไปโรงเรียนเพราะมีเสรีภาพ ลูกไม่เชื่อฟังพ่อแม่เพราะมีเสรีภาพ ความเสมอภาคคือทุกคนเท่าเทียมกัน ฉะนั้นใครจะมาบังคับให้ใครทำอะไรไม่ได้ ทุกคนเท่ากันหมด ฯลฯ ความยุ่งยากสับสนเกิดขึ้นทั่วไป เพราะการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นไปอย่างกระทันหันไม่ได้มีการปูพื้นฐานมาก่อนราษฎรส่วนใหญ่นอกจากจะไม่คุ้นเคยกับการมีเสรีภาพในทางการเมืองแล้ว ยังมีการศึกษาต่ำอีกด้วยเมื่อเผชิญกับสภาพการณ์ยุ่งยากที่คาดไม่ถึงเช่นนี้ ไม่ช้าไม่นานคณะราษฎร์ก็เกิดแตกแยกกันเองและนำไปสู่การปกครองแบบเผด็จการทหารในตอนต่อมา

ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายพลเรือนในกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง และความสับสนในหมู่ราษฎร ได้ทำผู้นำฝ่ายทหารสามารถขึ้นมาครองอำนาจทางการเมืองได้ เนื่องจากมีกำลังกองทัพหนุนหลัง เริ่มจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นต้นมา จนถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์และจอมพลถนอม กิติขจร ซึ่งถือได้ว่าเป็นทายาททางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ รวมเวลาที่รัฐบาลเผด็จการทหารปกครองประเทศนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นานถึง 50 ปี โดยมีรัฐบาลพลเรือนเข้ามาสลับฉากบ้างเป็นครั้งคราว แต่ก็มักจะอยู่ได้ไม่นาน (ระหว่าง 6 เดือนถึง 1 ปี เป็นส่วนมาก) กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศก็มีการยกเลิก แก้ไขเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาตามสถานการณ์ทางการเมืองมากกว่า 10 ครั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยังไม่เสร็จสิ้นคือ ยังมีการแก้ไขอยู่ในรัฐสภา เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงพอสรุปได้ว่า ศูนย์อำนาจทางการเมืองหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไม่ได้ตกอยู่แก่ราษฎรตามคติของการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ตกอยู่กับบุคคลที่ถืออาวุธ คือ คณะทหารของชาติ ซึ่งทำโดยทหารบกเป็นสำคัญ การปกครองในระยะนี้จึงไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยแต่มีลักษณะเป็นเผด็จการหรือกึ่งเผด็จการมากกว่า โดยราษฎรทั่วไปยังถูกจำกัดสิทธิพื้นฐานเบื้องต้นหลายประการ โดยเฉพาะสิทธิในทางการเมือง

ภาพเเผนที่ประเทศไทย