ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

370.28 รวมบทความทางการศึกษา

โรงเรียนดีโรงเรียนดัง
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์

ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบการวางแผนการรับนักเรียนเข้าเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษา ได้พบว่าสิ่งที่คิดว่าง่ายหลายอย่างนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องด้วย คนยังติดยึดที่ชื่อโรงเรียนมากกว่าสิ่งอื่นใด การกำหนดให้เรียนในพื้นที่บริการให้เรียนใกล้บ้าน นั้น ถ้าโรงเรียนใกล้บ้านเป็นโรงเรียนมีชื่อเสียงรู้จักกันดี จะไม่มี ปัญหาในข้อกำหนดนี้เลย แต่คนอื่นที่อยู่ห่างไกลจะเรียกร้องสิทธิที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าว ไม่ว่าเขาจะอยู่ห่าง ไกลโรงเรียนเพียงใดก็ตาม ในทางตรงข้าม ถ้าโรงเรียนใกล้ บ้านมีชื่อเสียงน้อยก็อ้างเหตุผล ต่าง ๆ นานา ที่จะขอไปเข้าโรงเรียนอื่นแทน ถามว่าทำไม ถึงเป็นเช่นนั้น คำตอบคือต้องการ ให้ลูกเรียนโรงเรียนดี ๆ มีชื่อเสียง เพราะเชื่อว่าถ้าลูก ได้เรียนโรงเรียนดังกล่าว ลูกก็จะได้เป็น คนเก่ง คนดีเหมือนคนอื่นที่เขาเก่งเขาดี และเคยจบมาจากโรงเรียนนี้

โรงเรียนมีชื่อเสียงคือโรงเรียนดี นี่คือ ทัศนคติของคนโดยทั่วไปคงไม่ปฏิเสธ ว่าไม่เป็นความจริง เพราะว่าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงอย่างเตรียมอุดมฯ สวนกุหลาบ วิทยาลัย สตรีวิทยา ฯลฯ ล้วนเป็นโรงเรียนดี มีลูกศิษย์ลูกหาได้ดิบได้ดีเต็มบ้านเต็มเมือง ศิษย์ที่ไม่ ประสบความสำเร็จก็พอมีบ้าง แต่คนไม่รู้จัก ไม่สนใจ อาจเป็นด้วยมีจำนวนน้อยกว่าผู้ประสบ ความสำเร็จแล้วโรงเรียนอื่นๆ มีศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จบ้างหรือไม่ ก็คงตอบได้เช่นกัน ว่า มีคนดี คนมีชื่อเสียง คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตจำนวนมากจบมาจาก โรงเรียนมัธยมที่ไม่มีใครรู้จัก โรงเรียนที่อยู่ห่างไกล โรงเรียนบ้านนอก โรงเรียน ในท้องถิ่นทุรกันดาร คนเด่นคนดีในประเทศไทยที่เข้าลักษณะอย่างนี้มีไม่น้อยเลย

สรุปได้ว่า ความเด่นความมีชื่อเสียงของโรงเรียนอาจเป็นตัวบ่งบอกความมีคุณภาพ ของโรงเรียน แต่โรงเรียนที่ไม่เด่นไม่ดังก็ไม่ใช่ว่าไม่มีคุณภาพ และอาจมีคุณภาพไม่แพ้ โรงเรียนเด่นโรงเรียนดังก็เป็นไปได้

ความดี ความมีคุณภาพของโรงเรียนนั้น ในสายตาของประชาชนทั่วไปก็แน่นอน ต้องดูที่ชื่อเสียงโรงเรียน แต่โรงเรียนดี ๆ มีคุณภาพจำนวนมากไม่มีชื่อเสียง สะดุดหูสะดุดตา เหมือนโรงเรียนดังอื่น ๆ คนเลยไม่รู้จัก ไม่เข้าใจว่าเป็นโรงเรียนที่เขาควรส่งลูกหลานเข้าเรียน แล้วก็เลยพยายามแย่งกันเข้าเรียนในโรงเรียนดัง ๆ ให้ได้ ถ้าไม่ได้มีบ้านอยู่ใกล้ก็ขวนขวาย ไปสอบ วิ่งเต้นทุกวิถีทางทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง บางคนก็ต้องเสียเงินจำนวนมหาศาลเพื่อ ให้ได้เข้าโรงเรียนดัง สำเร็จก็มี ล้มเหลวก็มี จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสาร น่าเห็นใจ คิดว่าถ้า ประชาชนเข้าใจว่าโรงเรียนมีคุณภาพเป็นอย่างไร ก็จะผ่อนคลายการแย่งกันเข้าโรงเรียน ดัง ๆ ได้

การหาที่เรียนให้ลูกหลานไม่จำเป็นต้องยึดติดไขว่คว้าหาโรงเรียนดังเหมือนคนอื่น เขาควรหาโรงเรียนดี จึงจะเข้าทีกว่าโรงเรียนดีเป็นอย่างไร ตรงนี้ขึ้นกับว่าท่านอยากให้ ลูกหลานเป็นอย่างไรแล้วหาโรงเรียนที่คิดว่าจะสร้างลูกหลานเช่นนั้นได้ ที่จริงกระทรวง ศึกษาธิการก็คิดเช่นเดียวกันนี้ คิดแล้วก็พยายามทำให้ทุกโรงเรียนเป็นโรงเรียนดี แต่คง ทำให้ทุกโรงเรียนเป็นโรงเรียนดังไม่ได้

คิดว่าผู้ปกครองก็คิดเหมือนกระทรวงศึกษาธิการ คืออยากเห็นลูกหลานเป็นคนดี ดีทั้งปัจจุบันและดีต่อไปในอนาคต โรงเรียนดี คือ โรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับการที่จะสั่งสอน อบรมให้เด็กเป็นคนดี จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเป็นคนดี การทำให้คนเป็นคนดี ไม่ใช่การบอกว่าทุกคนต้องเป็นคนดี ท่องจำได้ว่าความดีคืออะไร แต่อยู่ที่การให้ได้ปฏิบัติ เป็นกิจนิสัย เกิดความเชื่อ ความศรัทธายึดมั่นในการเป็นคนดี มีกิจกรรม หลายอย่างที่ ฝึกและสร้างความเป็นคนดีโดยเด็กไม่รู้ตัว เช่น การให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มจะช่วย ให้ได้รู้จักร่วมมือช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักรับฟังความเห็นผู้อื่น รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ รู้จัก เสียสละ อดทน เป็นต้น โรงเรียนดีจึงควรจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับการทำ กิจกรรมร่วมกันมาก ๆ

จุดประสงค์ของการศึกษาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การสอนให้นักเรียนรู้จัก คิดอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่ให้จำเนื้อหาสาระความรู้ การสอนแบบให้จำจะไม่เป็นประโยชน์กับ ผู้เรียนมากนัก เพราะความรู้ที่จำได้นั้น ไม่ช้าก็ล้าสมัยเอาไปใช้ไม่ได้ ความรู้ต่าง ๆ เปลี่ยน แปลงและเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรู้จึงมีความสำคัญ กว่าการจำความรู้ โรงเรียนที่ดีต้องส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมาก ๆ การทำเช่นนี้ได้โรงเรียนต้องมีแหล่งความรู้ที่ดี และอำนวยความสะดวกต่อเด็กในการแสวงหา โรงเรียนที่ดีจึงควรมีห้องสมุดที่ดี มีหนังสือมาก ๆ และมีหนังสือหลากหลายประเภท เป็นหนังสือ ที่ส่งเสริมให้เด็กได้คิดในเชิงสร้างสรร นอกจากมีหนังสือแล้วควรมี สื่อเพื่อค้นคว้าอื่น ๆ เช่น เทปเสียง วิดีทัศน์ ภาพ หุ่นจำลอง ของจริงต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้พัฒนาได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม ท้องถิ่น นิทรรศการ ท้องฟ้าจำลอง สวนพฤกษศาสตร์ เป็นต้น

นอกจากแหล่งแสวงหาความรู้ โรงเรียนที่ดีควรจัดการเรียนการสอนแบบที่ นักวิชาการเรียกว่า ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง คือ ให้ความสำคัญกับนักเรียน สอนโดยให้ นักเรียนแสวงหาและค้นพบคำตอบด้วยตนเอง โดยให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้เรื่องพืชจากการไปดูพืช สังเกตพืช การเจริญเติบโตของพืชจากของจริง มีการจด บันทึก มีการทดลองปลูกพืชในลักษณะต่าง ๆ หรือการเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาด้วยการให้นักเรียน ศึกษาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนของชุมชน ช่วยกันวางแผนพัฒนา สิ่งแวดล้อมว่าควรทำอย่างไร แล้วให้ลงมือปฏิบัติพัฒนาสิ่งแวดล้อมจริง ๆ การเรียนรู้ ด้วยการปฏิบัติจริง จะช่วยให้เด็ก เกิดความงอกงามทางปัญญา ความคิด คือ รู้จักคิด รู้จักหาเหตุผล และรู้จักวิธีหาคำตอบที่ เชื่อถือได้

โรงเรียนที่ดีควรใช้หลักประชาธิปไตยในการปกครองและในการจัดการเรียนการสอน นั่นคือโรงเรียนต้องรับฟังและร่วมมือกับชุมชนที่อยู่รอบ ๆ โรงเรียน ต้องถือว่า โรงเรียนเป็น ของชุมชน เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในชุมชน การปกครองดูแลเด็กก็ควรใช้หลัก ประชาธิปไตย คือ รับฟังความคิดเห็นนักเรียนให้นักเรียนร่วมดูแลโรงเรียน ร่วมคิดทำ หลักสูตรและวิธีการเรียน การสอน เพราะจะทำให้กระบวนการเรียนการสอนมีชีวิตชีวา และสอดคล้องกับความสนใจของ ผู้เรียนและชุมชนมากที่สุด การใช้หลักประชาธิปไตย ยังเป็นการช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วม กับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักอภัย รู้จัก เสียสละไม่ยึดประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง อันจะช่วยหล่อหลอม ให้เขาเป็นประชากรที่ดีของ สังคมในอนาคต

ที่จริงทุกโรงเรียนเป็นโรงเรียนดี หรือมีศักยภาพที่จะเป็นโรงเรียนดีได้ทั้งสิ้น โรงเรียน ของรัฐทุกแห่งมีมาตรฐานการบริหารจัดการ และปรัชญาการจัดการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน สิ่งที่ แตกต่างกันมักอยู่ที่ชื่อเสียงเดิม และแรงสนับสนุนจากประชาชน หน้าที่การให้การศึกษาเด็ก ไม่ใช่เป็นของโรงเรียนแต่ฝ่ายเดียว ผู้ปกครอง บิดา มารดา มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมากต่อ กระบวนการศึกษา การเรียนรู้ของเด็ก ผู้ปกครอง ชุมชน ต้องถือเป็นหน้าที่เข้าไปช่วยกำกับดูแล โรงเรียน ช่วยเหลือโรงเรียนอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านแรงกาย แรงใจ และแรงปัญญาตามความถนัด ของแต่ละ คน เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่ดี ทำหน้าที่ได้สมเจตนารมณ์ของการจัด การศึกษา เท่านี้ทุกโรงเรียนก็เป็นโรงเรียนที่ดีโดยทั่วกัน ผู้ปกครองก็จะได้ส่งบุตรหลานเข้า โรงเรียนใกล้บ้านโดยไม่ต้องใฝ่หาโรงเรียนดังให้เหน็ดเหนื่อยแต่ประการใด 12 กรกฎาคม 2541

แหล่งที่มา

พนม พงษ์ไพบูลย์. (2553).

โรงเรียนดีโรงเรียนดัง . ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 23, 2553, จาก
http://www.moe.go.th/web-panom/article-panom/article19.htm

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com