ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

370.28 รวมบทความทางการศึกษา

การศึกษาพื้นฐานเพื่อปวงชน : รูปแบบสหวิทยาเขต
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์

ได้พยายามกล่าวมาตั้งแต่ต้นโดยตลอดว่า รัฐจำเป็นต้องปรับรูปแบบ การจัดการศึกษา เสียใหม่ เพื่อให้คนทุกคนได้รับการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี อย่างทั่วถึง อย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และจำต้อง ดำเนินการให้บรรลุผลในปี พ.ศ. 2545 ให้ได้เป็นอย่าง ช้า ซึ่งในตอนที่ผ่านมาได้กล่าวไว้ว่า การจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นต้องยึดหลัก "การศึกษาเพื่อคนทุกคน และคนทุกคนเพื่อการ ศึกษา" บริการทางการศึกษาที่จะทำให้ เกิดคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันได้ จะต้องจัด โดยยึดพื้นที่บริการเป็นหลัก ไม่ใช่เอาสถานศึกษาเป็นหลัก หลักความร่วมมือเป็นเครือข่าย ระหว่างสถานศึกษา และแหล่งบริการทางการศึกษาในพื้นที่เดียวกัน คือต้นความคิด ของการจัดการศึกษา แบบ "สหวิทยาเขต"

การกำหนดสหวิทยาเขต ก็คือ การกำหนดกรอบของขอบเขตบริการทางการศึกษานั่นเอง การมีกรอบพื้นที่บริการที่ชัดเจนจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการวางแผน จัดการศึกษา เพื่อให้ทุกคน ได้เรียนอย่างทั่วถึง กรอบพื้นที่บริการควรมีขนาดเหมาะสม ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป การกำหนด พื้นที่บริการที่เล็กจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบริการ จัดการมาก แต่ถ้าพื้นที่บริการกว้างเกินไป ก็จะทำให้ไม่สะดวกต่อการมาเรียนของ นักเรียนและมีความยุ่งยากซับซ้อนในการบริการมาก ที่จริงขนาดพื้นที่บริการคงต้อง คำนึงถึงลักษณะของชุมชนด้วย ถ้าชุมชนนั้นมีลักษณะเป็นชุมชน เอกพันธ์ ก็ควรจัดให้ อยู่ร่วมในเขตบริการเดียวกัน

ในหนึ่งเขตการบริการการศึกษา คือหนึ่งสหวิทยาเขต คือหนึ่งกลุ่มของสถานศึกษาที่จะต้อง วางแผนจัดบริการทางการศึกษาร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายว่าให้ ทุกคนในพื้นที่ได้มีที่เรียนได้อย่าง ทั่วถึงทุกคน ในเขตบริการหนึ่ง หรือในกลุ่ม สหวิทยาเขตหนึ่ง จะมีสถานศึกษาได้หลายประเภทใน เวลาเดียวกัน ตามความจำเป็น เช่นมีโรงเรียนอนุบาล มีโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา มีศูนย์ฝึกอาชีพ หรือฯลฯ จำนวนสถานศึกษาขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของชุมชนด้วย ถ้ามีประชากรมาก ก็คงต้องมีสถานศึกษามาก เพราะต้องการบริการทางการศึกษาในเขตบริการให้ทั่วถึง ทุกคน

เขตบริการที่เหมาะสมควรมีสถานศึกษาหลายๆประเภท เพื่อประโยชน์ในการรับและส่งทอด นักเรียนได้อย่างต่อเนื่องกันไป เพื่อความสะดวกและเหมาะสมในที่นี้จะเน้นเฉพาะสถานศึกษาที่จัด เพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจะพิจารณาแหล่งเรียนรู้อื่นหรือสถานศึกษาระดับอื่นที่จะสนับสนุนการ ศึกษาพื้นฐานได้เป็นส่วนประกอบ การจัด สหวิทยาเขตในพื้นที่บริการนี้จะไม่คำนึงถึงสังกัดของสถาน ศึกษานั้น แต่จะคำนึงถึงการ บริการจัดการศึกษาเป็นสำคัญรูปแบบความสัมพันธ์ของสถานศึกษาต่าง ๆ น่าจะเป็นดังนี้

สถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กต่าง ๆ จะร่วมกันดูแลเด็กเล็กวัย 3-5 ขวบ ให้ได้รับ การอบรมเลี้ยงดูอย่างทั่วถึง สถานอบรมเลี้ยงดูของรัฐในสหวิทยาเขตเดียว กัน จะบริหารงาน ร่วมกัน และประสานร่วมมือกับสถานศึกษาอื่น เพื่อให้บริการ คุณภาพและมาตราฐานเดียวกัน

ทำนองเดียวกัน โรงเรียนประถมศึกษาทั้งหลายก็ต้องมีระบบประสานร่วม มือกัน เพื่อร่วมกันรับเด็กในพื้นที่ให้ได้เรียนทุกคน และช่วยกันจัดการศึกษาเพื่อให้มี คุณภาพใกล้ เคียงกัน สถานศึกษาสังกัดเดียวกันในพื้นที่บริการเดียวกัน ต้องมีหน่วยบริหารเดียวกันเพื่อให้ การใช้ทรัพยากรคล่องตัวไม่ติดยึดเฉพาะโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งโรงเรียนประถมศึกษา ต้องมีสายสัมพันธ์กับโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตบริการ เพื่อส่งทอดให้นักเรียนได้เรียนต่อ ชั้นมัธยมศึกษาทุกคนโดยอัตโนมัติ

โรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่บริการเดียวกัน หรือ สหวิทยาเขตเดียวกัน ต้อง ร่วมกันรับนักเรียนที่จบประถมศึกษาในพื้นที่ เข้าเรียนชั้นมัธยม ให้ครบถ้วนทั่วถึงทุกคน เช่นเดียวกับระดับอื่น ๆ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเดียวกัน เช่น ของกรมสามัญศึกษา ต้องมีหน่วยบริหารเดียวกัน เพื่อให้การรับนักเรียน การจัดกิจกรรม การเรียนการสอน การจัดและใช้ทรัพยากรเกิดร่วมกันมากที่สุด

สหวิทยาเขตควรมีสำนักงานสหวิทยาเขต เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานบริการ และวางแผนการจัดการเรียนการสอนร่วมกันของโรงเรียนในสหวิทยาเขต มีคณะกรรมการ สหวิทยาเขตเป็นองค์กรเพื่อให้เกิดการประสานและดำเนินการ คณะกรรมการสหวิทยาเขต ควรมีผู้แทนของสถานศึกษาระดับต่าง ๆ ผู้แทนชุมชน ผู้แทนแหล่งเรียนรู้อื่น และผู้ทรง คุณวุฒิในพื้นที่บริการร่วมเป็นกรรมการ

จัดบทบาทของคณะกรรมการสหวิทยาเขต คือ การสร้างความร่วมมือระหว่าง สถานศึกษาต่างๆให้เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นกับเด็กเป็น สำคัญ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับเดียวกันต้องร่วมมือกันใกล้ชิดพิเศษ ปัญหาอย่างหนึ่ง ของระบบการศึกษาไทย คือการขาดเอกภาพในการจัดการศึกษา การศึกษาระดับเดียวกันมี หน่วยงานรับผิดชอบจัดการศึกษามากเกินไป ทำให้เกิดระบบย่อยใน ระบบใหญ่ อันก่อให้เกิด อุปสรรคต่อความร่วมมือในการจัดการศึกษา ทำให้ระบบการศึกษาขาดประสิทธิภาพ เช่น เรา มีหน่วยงานรับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นจำนวนมาก มีโรงเรียนประถมศึกษาที่ สังกัด องค์กรท้องถิ่นก็มี ของกระทรวงศึกษาธิการก็มี ทบวงมหาวิทยาลัยก็มี ซึ่งต่างหน่วยงานต่างจัด ในพื้นที่เดียวกัน โรงเรียนมัธยมศึกษาก็เช่นเดียวกัน การมีสหวิทยาเขต เชื่อว่าจะบรรเทา ปัญหาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ในตอนต่อไปจะกล่าวถึงการรับนักเรียนแบบสหวิทยาเขต

แหล่งที่มา

พนม พงษ์ไพบูลย์. (มิถุนายน 2541, 27).

การศึกษาพื้นฐานเพื่อปวงชน: รูปแบบสหวิทยาเขต .
มติชน, หน้า 14.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com