ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

370.28 รวมบทความทางการศึกษา

การศึกษาพื้นฐานเพื่อปวงชน: สหวิทยาเขต
เพื่อคุณภาพการเรียนรู้
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์

ดังได้กล่าวถึงในตอนที่ 1 ว่า เป็นความจำเป็นที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จักต้อง แสวงหาวิธี เพื่อจัดบริการให้ " ทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัด ให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย " ซึ่งถ้าพิจารณาถึงความกระจัดกระจาย และ ความแตกต่างของทรัพยากรที่มีอยู่ และที่ คาดว่าจะหามาเพิ่มเติมเพื่อการศึกษา ได้นั้น หลายคน เห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้และ บางคนก็ถึงกับคิดหลีกเลี่ยงการจัดการศึกษา 12 ปี ที่ควรจะถึง มัธยมศึกษาบริบูรณ์ ให้มาเหลือเพียงมัธยมศึกษาตอนต้น โดยผนวกอนุบาล 3 ปี เข้าไปในระบบ การศึกษา พื้นฐาน ให้รวมเป็น 12 ปี เรื่องนี้คงจะต้องกล่าวถึงกันอีกต่อไปในโอกาสหน้า ผู้เขียน มีความเชื่อว่าการจัดการศึกษาพื้นฐานให้ทุกคนได้เรียนสิบสองปี โดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่ายและให้มี คุณภาพด้วย เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ด้วยวิธีร่วมแรงร่วมใจกันจัด การศึกษา

ความเชื่อของนักการศึกษา คือ "การศึกษาเพื่อคนทุกคนและคนทุกคนมีหน้าที่เพื่อการ ศึกษา (Education for All and All for Education) การจัดการศึกษา พื้นฐานจึงจำเป็นต้องให้ ทุกฝ่ายมามีส่วนร่วมด้วย คำว่าทุกฝ่ายในที่นี้หมายถึง คนทุกคน องค์กรทุกองค์กรทั้งของรัฐและ ของเอกชน หน่วยงานต่าง ๆ มูลนิธิต่าง ๆ หน่วย ราชการต่าง ๆ ฯลฯ ต่างร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน สนับสนุนซึ่งกันและกัน แลก เปลี่ยน และใช้ทรัพยากรร่วมกัน การศึกษาก็จะเข้าถึงคน ทุกคนอย่างแท้จริง

"สหวิทยาเขต" ก็คือความคิดที่จะประสานทุกฝ่ายให้มาร่วมแรง ร่วมใจกันจัดการศึกษา มิใช่แยกกันจัด แยกกันรับผิดชอบอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาใน รูปแบบที่มีอยู่ปัจจุบันคือโรงเรียน หรือสถานศึกษา ต่าง ๆ ถ้าคิดว่าทุกจุดทุกแหล่งเพื่อการเรียนรู้ คือ "วิทยาเขต" หรือเขตของการเรียนรู้ การประสาน รวมวิทยาเขตเข้าด้วยกันก็คือการสร้าง "สหวิทยาเขต" หรือเขตการเรียนรู้ หลาย ๆ แหล่งที่ร่วมมือกันอย่างเป็นเครือข่ายนั่นเอง

การจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขตมิใช่เป็นของใหม่แต่ประการใด มีการใช้กันมานาน ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย ที่ใช้มากมีรูปแบบชัดเจนเห็นจะเป็น ในระดับอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตหลาย ๆ แห่งร่วมกันจัด ในกระทรวง ศึกษาธิการมีรูปแบบของสถาบัน เทคโนโลยีราชมงคลที่มี "วิทยาเขต" หรือหน่วยจัดการศึกษากระจัดกระจายอยู่มากมายถึง 35 แห่ง ทั่วประเทศไทย สถาบันราชภัฏก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีสถาบันถึง 36 แห่ง รวมอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน

ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีรูปแบบของ "กลุ่มโรงเรียน" คือ การรวมตัวของสถานศึกษา ประเภทเดียวกัน เป็น "กลุ่ม" เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมบางประการ ส่วนใหญ่เป็น กิจกรรมทางวิชาการ และการกีฬา ซึ่งก็เป็นแนวทางที่ดีและถือปฏิบัติกัน มาเป็นเวลาช้านาน แต่การรวมแบบกลุ่มโรงเรียน มีปัญหาข้อจำกัดอยู่หลายประการ ที่ สำคัญคือมิใช่การรวมตัวกันเพื่อ "จัดการศึกษา" ให้บรรลุผลตาม เจตนารมณ์ คือ ให้ทุกคนได้เรียน ได้เรียนอย่างสะดวก เป็นธรรม และมีคุณภาพ

การรวมตัวกันแบบสหวิทยาเขต จึงต้องเป็นการรวมตัวที่กระชับแน่นกว่าการรวมตัวแบบ กลุ่มโรงเรียน จะต้องเป็นการรวมตัวเพื่อจัดการศึกษาร่วมกัน ไม่ใช่ เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันเท่านั้น ความเป็นสหวิทยาเขตไม่ใช่ระบบเครือข่ายที่มีศูนย์กลาง หลักแล้วมีวิทยาเขต หรือ แหล่งศึกษาอื่นเป็นบริวารเหมือนระบบสุริยจักรวาลกับดาว พระเคราะห์ แต่เป็นระบบ ที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เครือข่ายสหวิทยาเขตอาจเกิดขึ้น ได้ใน 3 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 เป็นระบบพึ่งพาที่เกิดขึ้นในระนาบเดียวกันในสถานศึกษา สังกัดเดียวกัน เช่น ระหว่างโรงเรียนประถมกับประถม โรงเรียนมัธยมกับมัธยม เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายระบบกลุ่ม โรงเรียนในปัจจุบัน

รูปแบบที่ 2 เป็นระบบพึ่งพาระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ต่างระนาบกัน เช่น ระหว่างโรงเรียน ประถมกับมัธยม ระหว่างมัธยมกับอุดม หรืออาจเกิดขึ้นทั้งประถม มัธยม อุดม และอื่น ๆ

รูปแบบที่ 3 เป็นระบบพึ่งพาระหว่างสถานศึกษาที่ผสมผสานระหว่างระนาบ หรือระดับเดียว กันกับที่มิได้อยู่ในระนาบเดียวกัน ทั้งสถานศึกษาในระบบ กึ่งระบบ และ นอกระบบและรวมถึงการร่วมกัน จัดการศึกษาระหว่างแหล่ง หรือสถานศึกษาที่แตกต่าง กันอย่างหลากหลายด้วย

รูปแบบการจัดการศึกษาที่พึงประสงค์ ภายใต้ความเชื่อที่ว่าทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันจัดการ ศึกษา เพื่อให้คนทั้งมวลได้รับการศึกษาที่ดีนั้น อาจต้องอาศัยความร่วมมือ พึ่งพาในหลาย ๆ รูปแบบ โดยหวังให้ผล คือการศึกษาที่ดีมีคุณภาพบังเกิดขึ้นกับทุกคน เป็นสำคัญ

การร่วมมือพึ่งพาระหว่างกันของทุก ๆ ฝ่าย ดูจะเป็นรูปแบบที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้เด่นชัด ที่สุด แต่หลายท่านอาจจะติงว่าจะเป็นความคิดที่เป็นนามธรรมเสีย มากกว่า ยากจะแปลมาสู่การปฏิบัติได้ เพราะรูปแบบถ้ามีและสร้างได้ คงเป็นรูปแบบ ที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก แต่จริง ๆ แล้วรูปแบบที่ดูยากนี้อาจจะ เป็นรูปแบบความร่วมมือ ที่ง่ายที่สุด ถ้ามีความเข้าใจ ถูกต้องตรงกัน

หัวใจความร่วมมืออีกประการหนึ่ง ก็คือ ความทั่วถึงและความสะดวกในการได้รับการศึกษา ของผู้เรียน ดังนั้น การร่วมมือที่เหมาะสมจึงควรเป็นการร่วมมือระหว่าง สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ที่ อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ถ้าการจัดการศึกษายึด "พื้นที่" เป็น ศูนย์บริการให้การศึกษาเป็นหลักทุกสถานศึกษา ในพื้นที่เดียวกันก็จักต้องร่วมมือกัน อย่างใกล้ชิด เพื่อสนองตอบความต้องการทางการศึกษาแก่ประชาชน ในพื้นที่ของตน และในเวลาเดียวกันประชาชนในพื้นที่ ก็จะต้องห่วงใย เอาใจใส่ดูแล ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือการศึกษาในพื้นที่ของตน การร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษาและประชาชนใน พื้นที่เดียวกัน ก็จะสนองตอบต่อความเชื่อเรื่อง "การศึกษาเพื่อคนทุกคน และคนทุกคน เพื่อการศึกษา" นั่นเอง

จึงสรุปได้ว่าการจัดการศึกษาแบบ สหวิทยาเขต ก็คือ การจัดการศึกษาที่ ร่วมมือกันของทุกคน ทุกฝ่าย ทุกสถานศึกษา ทุกสังกัด ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้ ทุกคนได้เรียน เรียนด้วยความสะดวกและ เรียนอย่างมีคุณภาพ นั่นเอง จะขอกล่าวถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษาภายในสหวิทยาเขต ในตอนต่อไป

แหล่งที่มา

พนม พงษ์ไพบูลย์. (มิถุนายน 2541, 20).

การศึกษาพื้นฐานเพื่อปวงชน: สหวิทยาเขต เพื่อคุณภาพการเรียนรู้ .
มติชน, หน้า 14.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com