|
370.28 รวมบทความทางการศึกษา
การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐในอนาคต
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์
ผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวทางการศึกษา โดยเฉพาะตามแนวทางของร่างพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติต่างก็สนใจว่า รูปแบบ การบริหารและการจัดการศึกษาในที่สุดแล้วจะออกมา
เป็นอย่างไร แม้ว่าขณะนี้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของคณะกรรมาธิการวิสามัญยังไม่สิ้นสุด
แต่หลักการสำคัญที่รูปแบบในเรื่องนี้ก็ออกมาค่อนข้างจะชัดเจนพอสมควรแล้ว จึงอยากจะนำรูป
แบบหลักๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อว่าผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาและผู้สนใจจะได้ศึกษา และเตรียมพร้อมสู่
การเปลี่ยนแปลงซึ่งคาดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทางการบริหารและการจัดการศึกษา
ของรัฐในเร็ววันนี้
แนวความคิดหลักล่าสุดจากผลการประชุมเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2542 พอกล่าวได้ดังนี้
1. ให้มีกระทรวงหลักเพียงกระทรวงเดียว กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท
รวมทั้งการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติด้วย กระทรวงดังกล่าวจะได้ชื่อว่า กระทรวงการศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม
2. กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมจะมีหน้าที่หลักๆ เพียงสี่ประการ
ประกอบด้วย
1) กำหนดนโยบายและแผน
2) กำหนดมาตรฐานการศึกษา
3) สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
4) ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
3. กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมมีองค์กรหลักเพื่อทำหน้าที่พิจารณา ให้ความเห็น
หรือคำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หรือคณะรัฐมนตรีสี่องค์กร
ด้วยกัน ประกอบด้วย
1) สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่พิจารณา กำหนดนโยบาย
แผนการศึกษาศาสนา และศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติการสนับสนุนทรัพยากร
กระประเมินผลการจัดการศึกษาการดำเนินการด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม รวมทั้งการพิจารณา
กลั่นกรองกฎหมายและกฎกระทรวงต่างๆ
2) คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบาย แผนพัฒนา
มาตรฐาน การอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะ และ วัฒนธรรมแห่งชาติ
การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล การจัด การศึกษาระดับอุดมศึกษา
3) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบาย แผนพัฒนา
มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะ และ
วัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินผลการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
4) คณะกรรมการการศาสนา และวัฒนธรรม มีหน้าที่พิจารณา กำหนด นโยบาย
แผนพัฒนา กิจการด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
4. คณะกรรมการสภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ จะมีนายกรัฐมนตรี หรือรอง
นายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม เป็นรองประธานมีกรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทน องค์กรปกครอง
ท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรวิชาชีพและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนไม่น้อยกว่า
กรรมการประเภทอื่นๆ รวมกัน กำหนดให้มีสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม
แห่งชาติเป็นสำนักงานเลขาธิการของสภาฯ ในคณะกรรมการอีกสามคณะก็จะมีสำนักงานคณะ
กรรมการเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
5. สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีถูกกำหนดให้เป็นนิติบุคคล อาจเป็นส่วน
ราชการหรือเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ให้สถานศึกษาระดับปริญญาดำเนินกิจการ ได้โดยอิสระ
สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มี เสรีภาพทางวิชาการ
และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา
6. ในการบริหารและการจัดการขั้นพื้นฐานกำหนดให้มี พื้นที่การศึกษา การแบ่งพื้นที่การศึกษา
ให้คำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร และความเหมาะสมด้านอื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติมีอำนาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษากำหนดพื้นที่การศึกษา
7. ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา กำหนดให้มีคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่
การศึกษา ประสาน และส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษา สอดคล้องกับ
นโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของครอบครัว องค์กรชุมชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และสถานประกอบการที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่
หลากหลาย รวมทั้งการกำกับดูแลหน่วยงานด้านศาสนา และศิลปะวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ การศึกษา
8. คณะกรรมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยผู้แทน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนสมาคมผู้บริหารการศึกษาผู้แทน
สมาคมครูและผู้ปกครองผู้นำทางศาสนา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่ากรรมการประเภทอื่นรวมกัน มีผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษา ศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ
9. กฎหมายกำหนดให้กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กระจายอำนาจการบริหาร และ
การจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปไปยังคณะ
กรรมการ และสำนักงานการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม พื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่
การศึกษาโดยตรง
10. กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมอาจจัดให้มีสำนักงานในระดับเหนือเขตพื้นที่
การศึกษาเพื่อมอบอำนาจให้ประสานและส่งเสริมด้านนโยบาย แผนมาตรฐาน ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการสำนักงาน และสถานศึกษากลุ่มเขตพื้นที่การศึกษา
11. ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
ของแต่ละกิจการของสถานศึกษา กรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมี
จำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ท่านรู้สึกอย่างไรบ้าง สำหรับผู้เขียนเองแล้วต้องรับว่าตื่นเต้นพอสมควร ทีเดียว นี่คือการปฏิรูปการบริหารและการจัด
การศึกษาของรัฐครั้งสำคัญเชื่อมั่นว่าการศึกษาในอนาคตจะเป็นการศึกษาเพื่อคนทั้งมวลและคน
ทั้งมวลเพื่อการศึกษาได้อย่างแท้จริง
แหล่งที่มา
พนม พงษ์ไพบูลย์. (2553). การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐในอนาคต .
ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 23, 2553, จาก
http://www.moe.go.th/web-panom/article-panom/p-apply.htm
|
|