ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

370.28 รวมบทความทางการศึกษา

บันทึกปลัดกระทรวงศึกษาธิการ: ฉบับที่แปด การศึกษาภาคบังคับเก้าปี.
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์

ถ้าถามว่างานในหน้าที่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีเรื่องหนักใจบ้างหรือไม่ ก็คงต้องตอบว่ามี ถ้าตอบว่าไม่มีก็เหมือนโกหก หรือมิฉะนั้นก็แสดงว่าไม่ค่อยได้ทำงานอะไรมากมายนัก ถามว่า หนักใจเรื่องอะไร คงต้องตอบว่าเรื่องงาน งานที่หนักใจคือเรื่องการศึกษาพื้นฐานที่ “ต้องจัดให้ บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้ อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และเรื่องการศึกษาภาคบังคับที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติว่า “ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมี อายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ…” ทั้งสองเรื่องนี้ต้องดำเนินการให้ได้ภายในห้าปี นับจาก วันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยใช้บังคับรัฐธรรมนูญฯ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ดังนั้น วันที่ครบห้าปี ขึ้นปีที่หก เป็นวันแรก คือ 12 ตุลาคม 2545 แปลว่าจะต้องจัด การศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปีให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายให้ได้ในเดือนตุลาคม 2545 และต้องจัดการศึกษาภาคบังคับเก้าปีให้ได้ในปี 2545 เช่นเดียวกัน ตุลาคม 2545 ถ้านับจากวันนี้ไป (มิถุนายน 2543) เป็นเวลาเพียงสองปีกับอีกสาม-สี่ เดือนเท่านั้นเองจะทำได้ ทันหรือไม่ เอาเพียงเรื่องปริมาณอย่างเดียวก็เป็นที่หนักใจของทุกฝ่าย และถ้าให้ “มีคุณภาพ” ด้วย ก็ยิ่งหนักเพิ่มอีกเป็นเท่าตัว และถ้ารวมเอาเรื่องการปฏิรูปการศึกษาด้านอื่นด้วย เช่น ปฏิรูปการเรียนรู้ ความยากลำบากคงเพิ่มเป็นอีกหลายเท่าทีเดียว

ในตอนแรกนี้จะขอกล่าวเรื่องการศึกษาภาคบังคับเก้าปี ในปี 2545 ก่อน จะทำได้หรือไม่ อย่างไร คำว่าการศึกษาภาคบังคับเก้าปี หมายถึงการจัดการศึกษาให้ทุกคนได้เรียนตั้งแต่ระดับ ประถมศึกษาหกปี รวมกับมัธยมศึกษาตอนต้นสามปี รวมกันเป็นเก้าปี ในสภาพปัจจุบันได้มีการ ส่งเสริมให้คนได้เรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นกันอยู่แล้วอย่างกว้างขวาง ผู้จบประถมศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เรียนต่อมัธยมศึกษา แปลว่ามีไม่เกินร้อยละ 10 ไม่ได้เรียนต่อ แต่ตาม สถิติพบว่าผู้ที่เรียนต่อนั้นมีจำนวนหนึ่งไม่น้อยเลยออกกลางคัน โดยเฉพาะโรงเรียนขยายโอกาส ประมาณว่าที่เรียนต่อร้อยคน เรียนได้จบมัธยมศึกษาปีที่สาม ประมาณ 90 คน ผู้ที่ไม่ได้เรียนต่อ และผู้ที่ออกกลางคันคือกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องให้คงอยู่ให้ได้ ถ้าจะจัดการการศึกษาภาคบังคับ ให้ได้เก้าปี

ปัญหาไม่ได้มีเพียงเท่านั้น ในระดับประถมศึกษาเองพบว่าประชากรวัยเรียนร้อยคน เรียนจน ถึงชั้นประถมปีที่หก และจบออกมาเพียงร้อยละ 90 ที่ตกหล่นหายไประหว่างทางถึงร้อยละ 10 เอาเป็นว่าปัจจุบันประชากรวัยที่ควรจะเรียนเก้าปี ขณะนี้ได้เรียนประมาณร้อยละ 80 ไม่มากกว่านี้ ปัญหาที่จะต้องพยายามให้ทุกคนได้เรียนได้ครบถ้วน คือปัญหาของประชากรร้อยละ 20 ที่กล่าวถึง นี่เอง

ที่จริงก็มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนได้เรียนถึงชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นกันอย่างทั่วถึง และ ไม่เก็บค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว แต่เด็กอีกราวร้อยละ 20 ก็ยังไม่ได้เรียนหากจะจัดการศึกษาภาคบังคับ เก้าปีให้ได้ ก็จะต้องหาทางช่วยเหลือกลุ่มนี้ให้กลับมาเรียนให้ได้ เขามีปัญหาอะไรกันจึงไม่ได้ เรียน ปัญหาทั้งหมดเกี่ยวกันกับเรื่องใหม่ ๆ เพียง 2-3 เรื่องเท่านั้น ที่คิดว่าเป็นต้นตอสาเหตุ ของปัญหา นอกนั้นเป็นส่วนประกอบ ปัญหาสำคัญ ๆ คือ

1. ปัญหาความยากจน เป็นปัญหาใหญ่ที่สุด ความยากจนไปเกี่ยวพันกับความด้อยการศึกษา ของพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย พื้นฐานสำคัญของกลุ่มนี้คือผู้ปกครอง ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของ การศึกษา จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการศึกษา มีผู้ปกครองจำนวนมากก็ให้บุตรหลานได้เรียน แต่ถ้ามีความจำเป็นอื่นก็อาจให้หยุดเรียน เด็กได้เรียนไม่เต็มที่ ในที่สุดก็หลุดหายไปจากระบบ เลยที่เรียกว่าออกกลางคัน บางคนอพยพโยกย้ายไปตามผู้ปกครองที่ย้ายที่ทำกิน แล้วก็ไม่เข้า เรียนอีก บางคนก็ยากจนจริง ๆ จนไม่สามารถให้เรียนต่อได้ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการไป โรงเรียนอีกมาก เช่น ปากกา ค่าสมุด ดินสอ เครื่องแต่งกาย อาหารกลางวัน บางคนโตหน่อย พอรับจ้างทำงานได้ พ่อแม่ก็ถือโอกาสให้ออกไปทำงานเสียเลย การแก้ปัญหากลุ่มนี้จึงต้อง ช่วยเหลือให้เด็กได้มีสิ่ง ต่าง ๆ ให้ครบถ้วน รวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า บางคนอาจรวมถึงการจัดที่พัก อาศัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยถ้าต้องช่วยเป็นจำนวนมาก

2. ปัญหาคนพิการ มีอยู่ไม่น้อย ราว ๆ ร้อยละ 1-2 ที่มีความบกพร่องทางร่างกายอย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไปเรียน เป็นอุปสรรคต่อการเรียน บางทีผู้ปกครอง ไม่เข้าใจ คิดว่าการศึกษาเขามีไว้สำหรับคนปกติ คนพิการไม่ต้องเรียน ก็เลยไม่ให้เรียน เสียเลย ถึงจะเรียนก็เรียนไม่ได้ เพราะโรงเรียนไม่รับหรือครูสอนไม่เป็น จะไปเข้าเรียน การศึกษาพิเศษก็ไม่รู้อยู่ที่ไหนอย่างไร เด็กก็เลยไม่ได้เรียน การจะจัดการศึกษาภาคบังคับ ให้ครบถ้วน ต้องเพิ่มบริการการศึกษาพิเศษเพื่อคนพิการให้ทั่วถึงครบถ้วนด้วย

3. เด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ขาดสถานศึกษา เด็กเหล่านี้เป็นเด็กที่ขาดโอกาส ทางการศึกษาโดยสิ้นเชิง บางครั้งอาจนึกว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเรามีโรงเรียนประถม ศึกษาถึงสามหมื่นกว่าโรง กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศแต่ก็ยังมีบางพื้นที่ขาดโรงเรียน เป็นพื้นที่ที่มีประชากรน้อย ตั้งโรงเรียนยาก ตั้งแล้วก็หาครู ไปอยู่ยาก กลุ่มนี้เมื่อรวมกัน มาก ๆ ก็มีจำนวนไม่น้อย มีความพยายามแก้ปัญหาโดยให้ไปเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ก็จัดได้ไม่เพียงพอหลายคนก็ไม่อยากไป คือไม่อยากจากบ้านไปอยู่กับคนอื่น

4. เด็กที่เร่ร่อน ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอนขาดหลักฐาน บางคนก็ไร้สัญชาติ ไม่มี สัญชาติไทย กลุ่มนี้มีทั้งในเมืองและในชนบท เพราะเร่ร่อนไม่มี หลักฐานหลักแหล่ง จึงเป็น การยากที่จะรู้ได้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหน และยากที่จะนำเข้ามาสู่ระบบการศึกษา แต่ก็ได้มีความ พยายามกันมาโดยตลอด จนแม้แต่เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยก็ให้เข้าเรียนที่จริงรัฐธรรมนูญ กำหนดว่าให้ทุกคนได้เรียนนั้นหมายถึงคนไทยไม่ใช่คนสัญชาติอื่น ปัญหาเรื่องนี้จึงไม่ใหญ่ โตนัก แต่ถ้าพิจารณาความสำคัญด้านอื่นการให้เรียนก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยส่วนรวม

ที่กล่าวมาทั้งสี่ข้อเป็นปัญหาดั้งเดิม มีอยู่แล้วตั้งแต่จัดการศึกษาภาคบังคับหกปี ยังทำได้ ไม่ทั่วถึง เป็นปัญหาพื้นฐานที่จะต้องแก้กันไปอีกนาน พอขยายการศึกษาภาคบังคับเป็นเก้าปี ก็จะมีปัญหาใหม่ให้แก้เพิ่มขึ้นอีก และส่วนนี้แหละที่เป็นเรื่องน่าหนักใจ ในส่วนของเก้าปี ปัญหาที่สำคัญคือ

ในเมื่อเด็กจำนวนหนึ่งเรียนไม่จบประถมศึกษา ซึ่งมีถึงร้อยละ 10 ถึงแม้จะให้ผู้จบ ประถมศึกษาทุกคนได้เรียนต่อหมด ก็คงยังไม่สามารถทำให้ทุกคนได้รับการศึกษาภาคบังคับ เก้าปี จนกว่าจะแก้ปัญหาระดับประถมศึกษาให้ได้เสียก่อน

มีความสับสนระหว่างระดับการศึกษา กับการศึกษาภาคบังคับการศึกษาเก้าปี ประกอบด้วย ประถมศึกษากับมัธยมศึกษาตอนต้น บางคนคิดว่าถ้าเป็นการศึกษาเก้าปีก็เป็นประถมปีที่หนึ่ง ถึงประถมปีที่เก้า และต้องจัดอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน ซึ่งไม่จำเป็นเลย ที่จริงหากจัดอยู่ใน โรงเรียนเดียวกันก็ดี เด็กไม่ต้องออกจากโรงเรียนมาวิ่งหาที่เรียนใหม่อีก เมื่อจบประถม ศึกษา แต่ระบบโรงเรียนที่มีอยู่เป็นระบบโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา แม้จะมี การเปิดโรงเรียนขยายโอกาส คือเปิด ชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา แต่ก็ไม่ทั่วถึง ไม่เพียงพอ ไม่เป็นที่นิยม จึงมีการหาที่เรียนหลังจากจบประถมศึกษา หากจะจัดการศึกษา ภาคบังคับเก้าปีให้ได้ทั่วถึง ต้องมีระบบประกันโอกาสผู้จบประถมศึกษาให้ได้เรียนมัธยมศึกษา ซึ่งก็เป็นเรื่อง ทำได้ยาก เพราะปัญหาที่จะกล่าวถึงในข้อต่อไป

ยังมีค่านิยมเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง โรงเรียนเหล่านี้ผู้บริหารก็ยังมีพฤติกรรม ปกป้อง ไม่เปิดโอกาสให้เด็กทั่วไปได้เข้าเรียน ต้องการเลือกคนเก่ง ๆ โดยมีระบบสอบแข่งขัน คัดเลือก เคยถามเสมอว่าถ้าเด็กสอบไม่ได้จะให้เรียนที่ไหน ก็ไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจน การจัดการศึกษาภาคบังคับเก้าปีจะเกิดไม่ได้ถ้ายังมีค่านิยมและการปฏิบัติเช่นนี้อยู่ ถ้าจะเป็น ไปได้จะต้องกำหนดได้ว่าเด็กที่เรียน ชั้นประถมศึกษาอยู่ เมื่อจบแล้วจะให้ไปเรียนต่อที่ใด จึงจะสะดวกที่สุด และมีการส่งต่อนักเรียนระหว่างโรงเรียนประถมศึกษากับมัธยมศึกษา มิใช่ ให้มีการสอบคัดเลือกใหม่

โรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสยังมีไม่ทั่วถึง ทำให้เด็กที่อยู่ห่างไกล และ พื้นที่ที่ทุรกันดาร ขาดโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาแต่การเปิดโรงเรียนรูปแบบ ขยายโอกาสที่ทำกันอยู่ก็มีความซ้ำซ้อนกับโรงเรียนมัธยมศึกษา คือบริการในพื้นที่ใกล้กัน ขาดการประสานงาน และความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนประถมศึกษากับโรงเรียนมัธยม ศึกษาที่ต่างสังกัดกัน จึงทำให้ขาดความทั่วถึง จำเป็นต้องเปิดโรงเรียนขยายโอกาสเพิ่มขึ้น แปลว่าให้โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลเปิดสอนได้ทั้งชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียน เดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังรอบคอบ มิฉะนั้นจะกลายเป็นปัญหาว่าเปิด เท่าไร ผู้ที่ควรได้รับโอกาสก็ยังไม่ได้รับโอกาสสักที

กลุ่มเด็กที่จะต้องช่วยเหลือให้ได้รับการศึกษาเก้าปีอย่างทั่วถึงอย่างจริงจังที่สำคัญยิ่งอีก กลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มผู้ยากไร้ อยู่ห่างไกลที่จะต้องเอาใจใส่เพื่อสร้างความเป็นธรรม สร้างโอกาส ให้เป็นพิเศษ การช่วยอย่างเสมอภาคกัน คือ ช่วยทุกคน ทุกกลุ่ม เท่า ๆ กันจะทำให้กลุ่มเด็ก ผู้ยากไร้และเด็กผู้เสียเปรียบขาดโอกาสมากขึ้น ต้องช่วยเป็นพิเศษจริง ๆ ต้องลงทุนเพื่อการ ศึกษาของคนกลุ่มนี้ การทำเช่นนี้ต้องใช้ทรัพยากรและลงทุนไม่น้อย แต่คงไม่มากเกินไป ทั้งหมดต้องอาศัยความจริงใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงจึงจะสำเร็จ

กล่าวมาถึงตรงนี้อาจรู้สึกว่าไม่เห็นเป็นเรื่องน่าหนักใจแต่ประการใด แต่ที่ผ่านมาหลายเรื่อง ได้พยายามทำกันมามากแล้วแต่ไม่สำเร็จ หลายคนเป็นห่วงว่าเป็นเรื่องหนักใจไม่น้อยที่ต้อง ช่วยให้ทุกคนได้รับการศึกษาเก้าปีอย่างทั่วถึง เพราะงบประมาณจะไม่เพียงพอ ดูแล้วไม่ใช่ เรื่องที่น่าเป็นห่วงเลย ปัญหาหลักจะอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรให้กลุ่มผู้เสียเปรียบและด้อยโอกาส ได้เรียนมากกว่า บางคนเป็นห่วงเรื่อง รัฐธรรมนูญกำหนดว่ารัฐจะต้องจัดการศึกษา โดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่ายเกรงว่าโรงเรียนจะไม่มีเงินเพียงพอ มาใช้จ่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาก็เป็น เรื่องจริง แต่ปัญหานี้จะเกิดขึ้นในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น คือไม่ใช่การศึกษา ภาคบังคับแต่ยังเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนกัน

สิ่งที่เป็นห่วงสุดท้ายคือ เมื่อทำให้เขามาเรียนอยู่ถึงเก้าปีแล้ว ทำอย่างไรเขาจึงจะได้อะไร ที่เป็นประโยชน์ติดตัวไปสมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษา คือที่เรียกว่าการศึกษา เป็นของปวงชนและทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องมีส่วนเพื่อการศึกษาที่ได้คุณภาพ เรื่องนี้จะเป็น ปัญหาใหญ่มากที่ทุกคนต้องช่วยกันร่วมมือกันแก้ไข รวมทั้งเสนอแนะหาทางออกที่เหมาะสม ต่อไป

แหล่งที่มา

พนม พงษ์ไพบูลย์. (2553). บันทึกปลัดกระทรวงศึกษาธิการ: ฉบับที่แปด

การศึกษาภาคบังคับเก้าปี
ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 23, 2553, จาก
http://www.moe.go.th/web-panom/article-panom/book-panom08.htm

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com